การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และผลเสียที่ตามมาอาจทำให้เรากลัวโลกแห่งอนาคต แต่หากมองในด้านดี เรายังมีความหวังสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในแง่ที่ว่าโลกกำลังเชื่อมโยงเข้าด้วยกันและมีการเรียกร้องให้มีความสนใจในมาตรฐานสากลมากขึ้น ตลอดจนทำให้มาตรฐานสากลมีความสำคัญมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่สิ่งใหม่ บ๊อบ ดีแลน นักร้องรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเคยร้องเพลงไว้เมื่อปี 2507 (ค.ศ.1964) ที่มีชื่อว่า “the times they are a-changin’” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนต้องเผชิญหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความแตกต่างของวันนี้คือก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในหนังสือของโทมัส ฟรีดแมน นักหนังสือพิมพ์และเจ้าของรางวัลพูลิตเซอร์ 3 ปี ที่มีชื่อว่า Thank You for Being Late: An Optimist’s Guide to Thriving in the Age of Accelerations นั้น นักเขียนผู้นี้มองเห็นโลกที่มีจุดเปลี่ยนโดยเขาเชื่อว่าเทคโนโลยี โลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังทำให้องค์กรและสถาบันต่างๆ ต้องปรับตัวใหม่อย่างรวดเร็ว ซึ่งเราทุกคนจำเป็นต้องตามให้ทัน เพราะมิฉะนั้นแล้วเราจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
ในความคิดของฟรีดแมนเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีที่ถูกเร่งให้เกิดขึ้นและมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ได้ทำให้เกิดการหยุดชะงักของบางอย่างและเกิดผลกระทบต่อสถาบันด้านการมาตรฐาน อย่างแรกเลยก็คือมีคำถามว่าที่ใดคือสถานที่ที่เหมาะสมของมาตรฐานสากลในเรื่องของเศรษฐกิจโลกในทุกวันนี้ อย่างที่สอง ความร่วมมือข้ามองค์กรได้ให้อะไรกับเราในเรื่องธรรมชาติและผลกระทบของการค้าโลก
ในการตอบคำถามดังกล่าว ลองพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่าโลกาภิวัตน์กำลังเชื่อมต่อเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างทั่วถึงกันทั้งโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โลกาภิวัตน์เป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่อยู่ในยุคของการเร่งให้เกิดเทคโนโลยี แต่โลกาภิวัตน์จะไม่มีความหมายใดๆ เลยถ้าเราไม่รู้จัก “มาตรฐานสากล” เราจะเชื่อมโลกเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างไรถ้าเราไม่พูดถึงเรื่องมาตรฐานในตอนที่มีการค้าเกิดขึ้นไปทั่วโลก
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เอริค ไวอิกสตรุม ผู้ให้คำปรึกษาในงานด้านสิ่งแวดล้อมและการค้าขององค์การการค้าโลก (WTO) และพารามิตา ผู้จัดการด้านการปฏิบัติด้านการแข่งขันและการค้าในภูมิภาคเอเชียของกลุ่มธนาคาโลก ได้พูดถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในการที่โลกของเรามีมาตรฐานสากลและบทบาทของมาตรฐานสากลในด้านเศรษฐกิจของโลกอนาคตดังต่อไปนี้
หลักฐานของการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงที่ฟรีดแมนได้อธิบายไว้ในหนังสือของเขาเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเราในทุกๆ ส่วนของชีวิต ทุกวันนี้ บริษัทมีการการทำงานในด้านต่างๆ ซึ่งอยู่กระจายตามที่ต่างๆ ทั่วโลก และมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิตองค์ประกอบหรือชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการผลิตเป็นชิ้นงาน แล้วทำการตลาดและสร้างสายการผลิตแบบสากล ซึ่งนับวันก็จะยิ่งมีสินค้าที่โลกของเราผลิตมากขึ้น ในความหมายนี้ คือไม่ใช่ว่าสินค้าชนิดหนึ่งจะทำการผลิตในประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น และความเป็นโลกาภิวัตน์ ทำให้สินค้านั้นเป็นสินค้าของคนทั่วโลกจริงๆ โลกาภิวัตน์ได้เชื่อมโยงเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไปทั้งโลก ยกตัวอย่างเช่น รถที่ขายในประเทศแคนาดาอาจมีการออกแบบในประเทศฝรั่งเศสและใช้ชิ้นส่วนการผลิตจากประเทศออสเตรเลีย หรือกางเกงตัวหนึ่งที่ขายในประเทศสหราชอาณาจักรอาจทำจากผ้าคอตตอนที่มาจากอัฟริกาใต้โดยมีโรงงานผลิตอยู่ในประเทศไทย เป็นต้น
ธรรมชาติของการค้าโลกนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ในโลกที่ไม่ค่อยมีการกีดกันทางการค้าและค่าขนส่งก็ต่ำ รูปแบบการค้าจึงเปลี่ยนแปลงไป การผลิตได้กลายเป็นการกระจายการผลิตออกเป็นส่วนย่อยๆ ที่มาจากหลายประเทศ หลายบริษัท ก่อนที่จะมารวมกันเป็นผลิตภัณฑ์ในขั้นสุดท้ายสำหรับผู้บริโภค ซึ่งเป็นรูปแบบการค้าที่หมายถึงห่วงโซ่มูลค่าโลก
เอริคกล่าวว่าแนวโน้มนี้ทำให้การใช้มาตรฐานสากลมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ความสอดคล้องกับมาตรฐานจะทำให้ผู้ซื้อมีความมั่นใจและผู้ขายตลอดห่วงโซ่สามารถใช้สินค้าที่มีมาตรฐานซึ่งจะสามารถสลับสับเปลี่ยนกันได้และมีความปลอดภัย
การประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวในแห่งหนึ่งมีผลต่อคนทั้งโลก การพึ่งพิงกันในลักษณะนี้มีผลอย่างลึกซึ้งในงานมาตรฐานสากล แต่การเกิดสิ่งใหม่ๆ ในการใช้งานก็ทำให้เกิดแรงฉุดด้านการค้าโลกเช่นกัน กล่าวคือ มาตรฐานที่มีความแพร่หลาย อาจอธิบายถึงประโยชน์ของมันได้ดีที่สุดด้วยการชี้ไปที่ปัญหาที่เกิดขึ้นจาก “ความไม่มี” ตัวอย่างเช่น ปลั๊กไฟที่ไม่สามารถเข้ากันได้ทั้งเต้ารับและเต้าเสียบ กระดาษที่ใช้สำหรับพริ้นเตอร์ที่ไม่สามารถสอดใส่ในพริ้นเตอร์ได้ พอร์ตสำหรับใส่แฟลชไดรฟ์ในคอมพิวเตอร์แลปท็อปที่มีขนาดไม่ได้มาตรฐานทำให้ใช้งานแฟลชไดรฟ์ไม่ได้ หรือบัตรเครดิตที่มีขนาดแตกต่างกันทำให้ไม่สามารถใช้ตู้เอทีเอ็มที่มีอยู่ทั่วโลกได้ เป็นต้น
ดังนั้น รูปแบบการเปลี่ยนแปลงในการค้าโลกจึงทำให้ประเด็นเรี่องมาตรฐานมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น กำแพงภาษีที่เป็นศูนย์ก็ไม่อาจช่วยอะไรได้ถ้าการค้าขายสินค้านั้นไม่อาจเข้ากันได้กับชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อื่นๆ หรือยังขาดความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า
อย่างไรก็ตาม ภาพของมาตรฐานไม่ได้สวยหรูอย่างที่เรามองเห็น ในขณะที่การค้าเสรีได้ช่วยให้การกีดกันทางการค้าลดลงในการค้าโลก ความสำคัญของมาตรการการกีดกันทางการค้าในด้านที่ไม่ใช่ภาษีในประเทศต่างๆ ทั่วโลกกลับมีเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการภาษีที่ใช้กีดกันทางการค้าแล้ว มาตรการต่างๆ บางครั้งกลับมีความโปร่งใสน้อยลงและมีผลที่คลุมเครือด้วย อย่างไรก็ตาม รัฐบาล กฎหมาย กฎระเบียบและนโยบายหรือการปฏิบัติ จะต้องได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง เช่น การจำกัดยาฆ่าแมลงที่เป็นสารตกค้างในอาหาร (ความปลอดภัยด้านอาหาร) หรือสารพิษในของเล่น (สุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก) เป็นต้น ซึ่งกฎขององค์การการค้าโลกได้พยายามลดมาตรการที่ไม่จำเป็นที่เป็นการกีดกันการเข้าถึงตลาดในขณะเดียวกันก็ไม่ได้มีผลต่อวัตถุประสงค์ด้านนโยบายสาธารณะ
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการขององค์การการค้าโลกในด้านอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade: TBT) ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องวิธีการแสดงความสอดคล้องกับมาตรฐาน โดยในทางปฏิบัติของการค้าโลก ได้พยายามขจัดมาตรการที่มีมากเกินไปและเป็นอุปสรรคในเรื่องเวลาที่ทำให้ผู้ค้าต้องรอคอย (เรื่องของความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการค้าหรือ Trade Facilitation Agreement) หรือการทำให้มั่นใจว่าการจำกัดปริมาณสารตกค้างนั้นไม่ขัดแย้งกับกฎระเบียบใดๆ แต่อยู่บนพื้นฐานของหลักการทางวิทยาศาสตร์ (ความตกลงว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หรือ Sanitary and Phytosanitary Agreement)
แต่หากผู้ค้าไม่สามารถแสดงความสอดคล้องกับข้อกำหนดในมาตรฐานและกฎระเบียบแล้ว ก็จะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าร่วมในการค้าโลกและทำให้ขาดการเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิผลกับห่วงโซ่คุณค่าโลก เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อไม่นานมานี้ องค์การการค้าโลกในส่วนของงานด้านเศรษฐกิจและสังคมขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Department of Economic and Social Affairs: UN DESA) ได้เข้าร่วมกับการอำนวยความสะดวกด้วยการเตือนให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบผ่าน ePing ซึ่งช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (รัฐบาล อุตสาหกรรม เอสเอ็มอี และภาคสังคมพลเมือง) สามารถติดตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ในตลาดต่างประเทศได้
ด้วยเหตุนี้ องค์การการค้าโลกจึงสนับสนุนการใช้มาตรฐานสากลเป็นอย่างมาก และเรื่องนี้ยังเกี่ยวข้องกับเป้าหมาย SDGs ขององค์การสหประชาชาติอีกด้วย รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น โปรดติดตามตอนจบในครั้งต่อไปค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2201.html
Related posts
Tags: standard
Recent Comments