• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,513 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,360 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,209 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Sustainability Management | Environmental Management | — สิงหาคม 11, 2017 8:00 am
นักวิทยาศาสตร์พบขยะพลาสติกใกล้ล้นโลก
Posted by Phunphen Waicharern with 2823 reads
0
  

shutterstock_217161166จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances ระบุว่ามนุษย์เราได้สร้างพลาสติกราว 9.1.3   พันล้านเมตริกตันตั้งแต่มีการผลิตวัสดุสังเคราะห์ขนาดใหญ่เมื่อช่วงต้นๆ ของปี 2493 (ค.ศ.1950-2502)  และส่วนใหญ่ได้มีการนำไปฝังกลบหรือกลับคืนสู่ธรรมชาติ

การศึกษาดังกล่าวนำทีมโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอร์เจีย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา และสมาคมการศึกษาทางทะเล ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ระดับโลกในเรื่องการผลิต การใช้งานและเรื่องราวของพลาสติก

นักวิจัยค้นพบว่านับถึง 2558 (ค.ศ.2015) มนุษย์เราได้สร้างพลาสติกขึ้นมาราว 8.3 พันล้านเมตริกตัน โดย 6.3 พันล้านตันได้กลายเป็นของเสีย และในจำนวนของเสียทั้งหมดนั้น มี 9% ได้นำไปรีไซเคิล และ 12% ได้นำไปเผา และ 79% ได้มีการนำไปฝังกลบหรือกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ

ถ้าแนวโน้มนี้ยังคงอยู่ ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) คาดการณ์ได้ว่าพลาสติกกว่า 13 พันล้านเมตริกตันจะนำไปฝังกลบหรืออยู่ตามธรรมชาติ

พลาสติกส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ ดังนั้น ของเสียจากพลาสติกที่มนุษย์เราได้สร้างขึ้นสามารถอยู่บนโลกเราไปอีกเป็นร้อยปีหรือพันปี การประมาณการนี้ทำให้มนุษย์เราต้องคำนึงถึงวัสดุที่เราใช้งานและวิธีการจัดการของเสียของเราด้วย

นักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมสถิติการผลิตเรซิน ไฟเบอร์ และสารเติมเต็มจากแหล่งอุตสาหกรรมต่างๆ และสังเคราะห์เพื่อแยกประเภทและใช้ในการบริโภคในภาคส่วนต่างๆ

การผลิตพลาสติกทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากสองล้านเมตริกตันในปี 2493 (ค.ศ.1950) ไปเป็น 400 ล้านเมตริกตันหรือมากกว่านั้นในปี 2558 (ค.ศ.2015) ซึ่งพบว่าวัสดุที่มนุษย์ทำขึ้นมา มีมากกว่าอย่างอื่น ที่และเห็นได้ชัด จะอยู่ในภาคการก่อสร้าง  เช่น เหล็ก และซิเมนต์ เป็นต้น แต่ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของพลาสติกก็คือบรรจุภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ก็ใช้ไปเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งไป

นับดูอย่างคร่าวๆ แล้ว ครึ่งหนึ่งของเหล็กที่เราสร้างขึ้นมาได้เข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งจะมีการใช้งานอีกต่อไปนับสิบปี ตรงกันข้ามกับพลาสติก ซึ่งครึ่งหนึ่งของพลาสติกกลายเป็นของเสียหลังจากใช้งานไปเพียงไม่กี่ปี

การผลิตพลาสติกยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเติบโต

สิ่งที่มีผู้พยายามทำก็คือการสร้างมูลนิธิเพื่อจัดการกับวัสดุอย่างยั่งยืน โดยอยู่บนหลักการที่ว่าถ้าสิ่งใดที่วัดไม่ได้ เราก็จัดการกับมันไม่ได้ ดังนั้น เราจึงคิดถึงข้อถกเถียงเชิงนโยบายที่จะได้รับการบอกกล่าวมากขึ้นและมีข้อเท็จจริงที่อยู่บนพื้นฐานในปัจจุบันที่ได้มีการสำรวจข้อมูลมาแล้ว

ทีมนักวิจัยเดียวกันนี้ได้นำผลการศึกษา 2015 ไปตีพิมพ์ในวารสาร Science ที่คำนวณปริมาณของเสียที่เป็นพลาสติกที่ไหลไปสู่มหาสมุทร ซึ่งปริมาณถึง 8 ล้านเมตริกตันในปี 2010

ผู้คนที่มีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ต่างจำได้ถึงโลกที่ไม่มีพลาสติก แต่ว่าพลาสติกก็ได้แพร่หลายไปยังทุกหนทุกแห่งแล้ว จนกระทั่งไม่มีที่ไหนในโลกนี้ที่ปราศจากขยะพลาสติก ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทุกแห่ง แม้กระทั่งในมหาสมุทร

ยังคงมีบางแห่งที่พลาสติกมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อความทนทาน แต่เราจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังการใช้งานพลาสติกที่มีมากขึ้นและถามตนเองเสมอว่าควรหรือไม่ควรใช้พลาสติกเมื่อไรเพื่อที่ว่าจะได้มีส่วนในการป้องกันไม่ให้มีการใช้พลาสติกเกินความจำเป็น

สำหรับวิธีการกำจัดพลาสติก 3 วิธีที่ทำกันอยู่ก็คือ การรีไซเคิลซึ่งเป็นแก้ไขมากกว่าป้องกัน การทำลายด้วยความร้อนซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์ และการนำไปฝังกลบ นอกจากนี้ ได้มีความพยายามในการคิดตั้งแต่ต้นทาง คือการผลิตพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แทนพลาสติก ซึ่งมีทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สำหรับประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น ผลงานการวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก ซึ่งได้รับรางวัลทั้งในประเทศและต่างประเทศ (ผลงานของนักวิจัยไทยซึ่งได้ทำข้อตกลงร่วมกับโรงงาน) พลาสติกย่อยสลายได้ที่ทำจากแป้งกล้วยน้ำว้าดิบ (ผลงานนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ที่ทำจากมันสำปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย (ผลงานของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เป็นต้น

แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะค้นพบว่าโลกของเรามีปริมาณพลาสติกที่หลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมหาศาล แต่หากทั่วโลกช่วยกันแก้ไขและป้องกันให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำพลาสติกไปรีไซเคิล (Eco/recycled plastics) หรือการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ (Biodegradable plastics) หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ (Bioplastics) (ประกอบกับการจัดการของเสียที่เหมาะสม) ก็จะช่วยลดปัญหาขยะล้นโลกและปัญหาภาวะโลกร้อนลงได้ในที่สุด

ที่มา:

1.  https://www.sciencedaily.com/releases/2017/07/170719140939.htm
2. 
https://www.facebook.com/ScienceAdvances/



Related posts

  • กูเกิ้ลอยากให้คุณอายุยืนถึง 170 ปี ตอนที่ 1กูเกิ้ลอยากให้คุณอายุยืนถึง 170 ปี ตอนที่ 1
  • ทำไมทั่วโลกจึงลงทุนในพลังงานหมุนเวียนลดลงทำไมทั่วโลกจึงลงทุนในพลังงานหมุนเวียนลดลง
  • แนวโน้มการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแนวโน้มการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
  • ทั่วโลกพร้อมใจลดปล่อยคาร์บอนทั่วโลกพร้อมใจลดปล่อยคาร์บอน
  • ความหลากหลายทางชีวภาพกับวันสิ่งแวดล้อมโลก 2563ความหลากหลายทางชีวภาพกับวันสิ่งแวดล้อมโลก 2563

Tags: Sustainability Management, waste, waste mwnwgement

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑