จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances ระบุว่ามนุษย์เราได้สร้างพลาสติกราว 9.1.3 พันล้านเมตริกตันตั้งแต่มีการผลิตวัสดุสังเคราะห์ขนาดใหญ่เมื่อช่วงต้นๆ ของปี 2493 (ค.ศ.1950-2502) และส่วนใหญ่ได้มีการนำไปฝังกลบหรือกลับคืนสู่ธรรมชาติ
การศึกษาดังกล่าวนำทีมโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอร์เจีย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา และสมาคมการศึกษาทางทะเล ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ระดับโลกในเรื่องการผลิต การใช้งานและเรื่องราวของพลาสติก
นักวิจัยค้นพบว่านับถึง 2558 (ค.ศ.2015) มนุษย์เราได้สร้างพลาสติกขึ้นมาราว 8.3 พันล้านเมตริกตัน โดย 6.3 พันล้านตันได้กลายเป็นของเสีย และในจำนวนของเสียทั้งหมดนั้น มี 9% ได้นำไปรีไซเคิล และ 12% ได้นำไปเผา และ 79% ได้มีการนำไปฝังกลบหรือกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
ถ้าแนวโน้มนี้ยังคงอยู่ ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) คาดการณ์ได้ว่าพลาสติกกว่า 13 พันล้านเมตริกตันจะนำไปฝังกลบหรืออยู่ตามธรรมชาติ
พลาสติกส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ ดังนั้น ของเสียจากพลาสติกที่มนุษย์เราได้สร้างขึ้นสามารถอยู่บนโลกเราไปอีกเป็นร้อยปีหรือพันปี การประมาณการนี้ทำให้มนุษย์เราต้องคำนึงถึงวัสดุที่เราใช้งานและวิธีการจัดการของเสียของเราด้วย
นักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมสถิติการผลิตเรซิน ไฟเบอร์ และสารเติมเต็มจากแหล่งอุตสาหกรรมต่างๆ และสังเคราะห์เพื่อแยกประเภทและใช้ในการบริโภคในภาคส่วนต่างๆ
การผลิตพลาสติกทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากสองล้านเมตริกตันในปี 2493 (ค.ศ.1950) ไปเป็น 400 ล้านเมตริกตันหรือมากกว่านั้นในปี 2558 (ค.ศ.2015) ซึ่งพบว่าวัสดุที่มนุษย์ทำขึ้นมา มีมากกว่าอย่างอื่น ที่และเห็นได้ชัด จะอยู่ในภาคการก่อสร้าง เช่น เหล็ก และซิเมนต์ เป็นต้น แต่ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของพลาสติกก็คือบรรจุภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ก็ใช้ไปเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งไป
นับดูอย่างคร่าวๆ แล้ว ครึ่งหนึ่งของเหล็กที่เราสร้างขึ้นมาได้เข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งจะมีการใช้งานอีกต่อไปนับสิบปี ตรงกันข้ามกับพลาสติก ซึ่งครึ่งหนึ่งของพลาสติกกลายเป็นของเสียหลังจากใช้งานไปเพียงไม่กี่ปี
การผลิตพลาสติกยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเติบโต
สิ่งที่มีผู้พยายามทำก็คือการสร้างมูลนิธิเพื่อจัดการกับวัสดุอย่างยั่งยืน โดยอยู่บนหลักการที่ว่าถ้าสิ่งใดที่วัดไม่ได้ เราก็จัดการกับมันไม่ได้ ดังนั้น เราจึงคิดถึงข้อถกเถียงเชิงนโยบายที่จะได้รับการบอกกล่าวมากขึ้นและมีข้อเท็จจริงที่อยู่บนพื้นฐานในปัจจุบันที่ได้มีการสำรวจข้อมูลมาแล้ว
ทีมนักวิจัยเดียวกันนี้ได้นำผลการศึกษา 2015 ไปตีพิมพ์ในวารสาร Science ที่คำนวณปริมาณของเสียที่เป็นพลาสติกที่ไหลไปสู่มหาสมุทร ซึ่งปริมาณถึง 8 ล้านเมตริกตันในปี 2010
ผู้คนที่มีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ต่างจำได้ถึงโลกที่ไม่มีพลาสติก แต่ว่าพลาสติกก็ได้แพร่หลายไปยังทุกหนทุกแห่งแล้ว จนกระทั่งไม่มีที่ไหนในโลกนี้ที่ปราศจากขยะพลาสติก ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทุกแห่ง แม้กระทั่งในมหาสมุทร
ยังคงมีบางแห่งที่พลาสติกมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อความทนทาน แต่เราจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังการใช้งานพลาสติกที่มีมากขึ้นและถามตนเองเสมอว่าควรหรือไม่ควรใช้พลาสติกเมื่อไรเพื่อที่ว่าจะได้มีส่วนในการป้องกันไม่ให้มีการใช้พลาสติกเกินความจำเป็น
สำหรับวิธีการกำจัดพลาสติก 3 วิธีที่ทำกันอยู่ก็คือ การรีไซเคิลซึ่งเป็นแก้ไขมากกว่าป้องกัน การทำลายด้วยความร้อนซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์ และการนำไปฝังกลบ นอกจากนี้ ได้มีความพยายามในการคิดตั้งแต่ต้นทาง คือการผลิตพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แทนพลาสติก ซึ่งมีทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น ผลงานการวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก ซึ่งได้รับรางวัลทั้งในประเทศและต่างประเทศ (ผลงานของนักวิจัยไทยซึ่งได้ทำข้อตกลงร่วมกับโรงงาน) พลาสติกย่อยสลายได้ที่ทำจากแป้งกล้วยน้ำว้าดิบ (ผลงานนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ที่ทำจากมันสำปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย (ผลงานของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เป็นต้น
แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะค้นพบว่าโลกของเรามีปริมาณพลาสติกที่หลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมหาศาล แต่หากทั่วโลกช่วยกันแก้ไขและป้องกันให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำพลาสติกไปรีไซเคิล (Eco/recycled plastics) หรือการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ (Biodegradable plastics) หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ (Bioplastics) (ประกอบกับการจัดการของเสียที่เหมาะสม) ก็จะช่วยลดปัญหาขยะล้นโลกและปัญหาภาวะโลกร้อนลงได้ในที่สุด
ที่มา:
1. https://www.sciencedaily.com/releases/2017/07/170719140939.htm
2. https://www.facebook.com/ScienceAdvances/
Recent Comments