MASCI Innoversity เคยนำเสนอบทความเรื่อง มาตรฐานไอเอสโอ เครื่องมือช่วยลดโลกร้อน ซึ่งกล่าวถึงมาตรฐานหลายฉบับที่สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้ง ISO 21930 ซึ่งครั้งนี้จะได้กล่าวถึงในรายละเอียดดังต่อไปนี้
ปัจจุบันประชากรโลกกำลังเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ อาคารต่างๆ ที่เราอยู่อาศัยและใช้เป็นสถานที่ทำงานจึงจำเป็นต้องมีการคำนวณสมรรถนะด้านความยั่งยืน ซึ่งวิธีการที่มีอยู่นั้นมีความซับซ้อนและหลากหลาย ด้วยเหตุนี้ ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐาน ISO 21930 ขึ้นมาเมื่อปี 2550 (ค.ศ.2007)
ปัจจุบัน ไอเอสโอได้ทำการปรับปรุงมาตรฐาน ISO 21930 ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานในปัจจุบัน จึงได้มีการปรับปรุงเป็นมาตรฐาน ISO 21930: 2017 (ฉบับปี 2560)
ISO 21930: 2017 – Sustainability in buildings and civil engineering works – Core rules for environmental product declarations of construction products and services เป็นมาตรฐานที่จะช่วยให้องค์กรทำการประเมินความเป็นมิตรด้านสิ่งแวดล้อมของอาคารหรือโครงการที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานโดยใช้วิธีการร่วมกันเพื่อแสดงข้อมูลผลกระทบของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Product Declarations: EPD)
การแสดงข้อมูลผลกระทบของผลิตภัณฑ์การก่อสร้างต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการแสดงความโปร่งใสของผลกระทบในวงจรชีวิตของการก่อสร้าง (ซึ่งรวมเอาสิ่งต่างๆ เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน คือ การผลิตด้วยวัสดุ การก่อสร้าง การปฏิบัติงาน การบำรุงรักษาและการรื้อถอนหรือการปรับสภาพพื้นที่ให้ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมเดิม)
ดังนั้น จึงมีการจัดเตรียมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของอาคารหรืองานวิศวกรรมโยธาทั้งหมด ซึ่งสิ่งที่เป็นกุญแจสำคัญของของ EDPs คือ การจัดเตรียมการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์การก่อสร้างและให้ข้อมูลที่มีรายละเอียดพร้อมตัวเลขหรือหลักฐานที่ชัดเจน โดยการวิเคราะห์นั้นสามารถทำซ้ำได้ มีความโปร่งใสและเที่ยงตรง
EDPs เปรียบเสมือนใบผ่านทางที่แสดงถึงความยั่งยืนซึ่งทำให้มีพื้นฐานเพื่อการออกแบบอาคารสีเขียวและงานวิศวกรรมโยธาอื่นๆ โดยได้มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 21930 ซึ่งเป็นการตอบสนองเครื่องมือการสร้าง “อาคารสีเขียว” ที่ใช้เพื่อกระบวนการประเมินทางวิทยาศาสตร์ที่เปิดเผยและเที่ยงตรง นอกจากนี้ ยังช่วยให้การแสดงผลิตภัณฑ์และบริการที่อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม มีความเป็นรูปแบบเดียวกันและมีความคงที่สม่ำเสมอ (เช่น วัสดุอาคาร พื้น หน้าต่าง เป็นต้น)
ผู้นำทีมผู้เชี่ยวชาญที่พัฒนามาตรฐานดังกล่าว ระบุว่าในโลกของการก่อสร้างนั้น ISO 21930 มีสมรรถนะในการมีส่วนทำให้เกิดอนาคตที่ยั่งยืนของโลกเรา หมายความว่ามาตรฐานนี้จะมีส่วนสำคัญในการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาคส่วนการก่อสร้าง
อาคารที่มีการนำมาตรฐาน ISO 21930 ไปใช้จะมีข้อได้เปรียบ 3 ด้าน ดังต่อไปนี้
- มีความสามารถในการเปรียบเทียบ ซึ้งทำให้มั่นใจในข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเชิงเปรียบเทียบโดยไม่มีอุปสรรคทางการค้า
- มีประสิทธิภาพ หรือการลดฟุตพริ้นท์ด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการสร้างความเข้าใจถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิ่งที่มีส่วนในการทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ตลอดทั้งห่วงโซ่ของกระบวนการ
- มีความเชื่อถือ ซึ่งสามารถเพิ่มระดับความเชื่อมั่นในการส่งเสริมการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเมื่อต้องการใช้งานการก่อสร้าง
ผู้ใช้งาน ISO 21930 ได้แก่ผู้ให้บริการและผู้ใช้ข้อมูลสมรรถนะของการก่อสร้างด้านสิ่งแวดล้อม นักออกแบบ ผู้ผลิต ผู้ใช้งาน และเจ้าของอาคาร ภาคส่วนการก่อสร้าง รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ EDP
มาตรฐาน ISO 21930: 2017 ได้นำมาใช้แทน ISO 21930: 2007 ซึ่งได้ปรัรบปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการและประสบการณ์ของผู้ใช้งานจริงในตลาดทั่วโลก
ISO 21930: 2017 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 59 – Buildings and civil engineering works คณะอนุกรรมการ subcommittee SC 17 - Sustainability in buildings and civil engineering works ซึ่งมีสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศฝรั่งเศส (AFNOR) เป็นเลขานุการ
ผู้สนใจมาตรฐาน ISO 21930: 2017 สามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม (สมอ.) หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2211.html
Related posts
Tags: Building, ISO, ISO21930, Sustainability
Recent Comments