ปัจจุบัน ธุรกิจต่างเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนและความไม่มั่นคงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวหรือการเมืองที่แปรเปลี่ยนอยู่เสมอ นับตั้งแต่ปี 2543 (ค.ศ.2000) เป็นต้นมา แต่ความไม่แน่นอนนี้เองที่จะนำไปสู่การตัดสินใจขององค์กร ซึ่งมาจากการเปิดรับขององค์กรในเรื่องข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้น ในขณะที่สมรรถนะขององค์กรก็มีความผันผวนเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากผลกระทบที่ไม่ได้เกิดจากการแข่งขันเช่นกัน นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนยังส่งผลต่อผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมทั้งหมด ซึ่งถึงที่สุดแล้ว อาจคุกคามและส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กรได้
ยกตัวอย่างในอุตสาหกรรมค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา บริษัทอย่างวอลมาร์ท Gap หรือหลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จในระดับโลกได้ทำกำไรจากการทำอาร์บิทราจ (การซื้อและขายในต่างตลาด เวลาเดียวกัน หรือการทำกำไรจากสองตลาด เป็นการทำกำไรจากสินค้าชนิดเดียวกัน แต่ราคาต่างกันในสองตลาด) ซึ่งมีความได้เปรียบจากความแตกต่างด้านค่าใช้จ่ายแรงงาน อุปสรรคทางการค้าที่มีไม่มากนัก และความได้เปรียบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือแม้แต่ในยุโรป ก็ประสบปัญหาการสูญเสียตลาดด้านพลังงานไปกับพลังงานทดแทน
ผู้นำทางธุรกิจจำเป็นต้องมีรูปแบบความคิดหรือมุมมองใหม่ๆ เพื่อที่จะเข้าใจบทบาทที่ซับซ้อนระหว่างของบริษัท เศรษฐกิจ และสังคม ในการที่จะทำได้เช่นนี้ ผู้นำจะต้องเปลี่ยนแปลงการโฟกัสไปที่ระบบนิเวศทางสังคมและธุรกิจซึ่งเป็นบริบทของบริษัทที่กว้างขึ้น ซึ่งผู้นำสามารถนำทั้ง 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ไปสร้างระบบให้ขยายออกไปอย่างมีประสิทธิผล
1. สังเกตและทำความเข้าใจกับระบบที่กว้างขึ้น ประการแรก ผู้นำจำเป็นต้องรู้จักธุรกิจของตนเองในบริบทของระบบที่กว้างกว่าเดิมรวมทั้งผู้บริโภค คู่ค้าที่อยู่ในระบบนิเวศ หน่วยงานด้านสื่อ และผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งหมายความว่าต้องเข้าใจในผู้เล่นหลักและผลประโยชน์ของกลุ่มเหล่านี้และสร้างความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างกันด้วย บ่อยครั้ง มักพบว่าโอกาสสำหรับธุรกิจและภัยคุกคามนั้น เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ก็ต่อเมื่อมีการพิจารณาในระบบที่กว้างไปไกลกว่าขอบเขตของอุตสาหกรรมแบบเดิม
อุตสาหกรรมดนตรีในช่วงปี 2543 – 2552 (ค.ศ.2000 – 2009) เป็นตัวอย่างคลาสสิคสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผู้นำธุรกิจล้มเหลวในการมองเห็นภาพระบบนิเวศที่กว้างกว่า อุตสาหกรรมในช่วงนั้นต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลอย่างแอปเปิ้ล ซึ่งสตีฟ จอบส์ ได้นำเอาเพลงไปไว้ในแพลทฟอร์มเดียวกันและเปิดกว้างสำหรับทุกคนในการเข้าถึงได้ (iPod และ iTune ซึ่งเก็บรวบรวมไฟล์เพลงไว้ด้วยกัน พกพาได้สะดวก)
2. ใช้ศิลปะของการแทรกแซงระบบ ขั้นต่อไป ผู้นำจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการแทรกแซงระบบที่มีการปรับตัวที่ซับซ้อนอย่างมีประสิทธิผล ความผิดพลาดด้านการจัดการที่พบเจอได้บ่อยก็คือการจำกัดตัวเองให้ชี้ทางไปยังจุดที่สามารถทำได้ง่ายโดยตรง แต่จุดที่อยู่ทางอ้อมสามารถทำให้เกิดขึ้นในระบบที่ซับซ้อนได้ง่ายกว่า ตัวอย่างเช่น โครงการอินเทล อินไซด์ ที่เราเคยได้ยินโฆษณากันนั้น ก่อนที่อินเทล ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิพจะบุกตลาดเข้าไปหาผู้ใช้งานโดยตรง (วิศวกรออกแบบของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์) ตลาดก็มีความอิ่มตัว ชิพได้กลายเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคไปเสียแล้ว ซึ่งในการค้นหาจุดที่อยู่ทางอ้อม แต่ทรงพลังมากกว่า ก็คือ ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ดังนั้น อินเทลจึงสามารถเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ผลิตชิพที่มีบทบาทเป็นห่วงโซ่คุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้อินเทลมีการเติบโตขึ้นถึง 40 เท่า
3. ประสานความร่วมมือกันในระบบ การเป็นผู้นำในระบบจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างความต้องการของบริษัทที่มักจะมีความขัดแย้ง กับระบบที่กว้างกว่าซึ่งประกอบกันอยู่ และเพื่อที่จะทำสิ่งนี้ ผู้นำจะต้องสนับสนุนความร่วมมือและความเชื่อถือระหว่างกัน ในทางปฏิบัติ จำเป็นต้องกำหนดรูปแบบพฤติกรรมที่ถูกต้องด้วยการสร้างคุณค่าสำหรับระบบทั้งหมด เผชิญหน้าและแก้ไขปัญหาระบบในเชิงรุก
ความขัดแย้งในเชิงรุก เช่น ระหว่างองค์กรไม่แสวงหากำไรและบริษัทขนาดใหญ่ที่ตอบสนองผู้ที่เกี่ยวข้อง นั้น สามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีผลิตผลและกิจกรรมซึ่งปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ ในขณะที่เกิดความตึงเครียด ก็ยังช่วยให้เกิดการปรับปรุงและเพิ่มแง่มุมของคุณค่าที่นำเสนอด้วย ในขณะเดียวกัน ความตึงเครียดที่ไม่ได้เผชิญหน้าก็ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดดิสรัพที่มากขึ้นตลอดเวลา ระบบที่เข้มแข็งจึงจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือและมักจะมีความขัดแย้งอยู่บ้างในด้านการจัดการด้วย
4. ทำนายและจัดการกับความเสี่ยงในระบบที่กว้าง ผู้นำต้องมองเห็นถึงความเสี่ยงทั่วทั้งระบบของโครงสร้างองค์กรรวมทั้งสามารถจัดการกับความเสี่ยงนั้นได้ เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมโยงและการพึ่งพิงระหว่างกันของบริษัท ดังนั้น ความเสี่ยงขององค์กรหลายๆ แห่งจึงแสดงให้เห็นด้วยตัวเองถึงระบบทั้งหมดมากกว่าบริษัทที่เป็นบริษัทเดี่ยว ในการจัดการกับระบบของโครงสร้างองค์กรทั้งระบบ ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการปกป้องภัยคุกคามต่อบริบทของระบบและมีความกล้าหาญที่จะเปลี่ยนเปลงวิธีปฏิบัติต่างๆ ในเชิงรุกเพื่อหลีกเลี่ยงภัยคุกคามนั้นๆ ซึ่งหมายความว่าผู้นำจำเป็นต้องมีบทบาทเสมือนเสาอากาศที่คอยจับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง สังคม เทคโนโลยี รวมถึงชี้บ่งความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังต้องทำตัวเป็นคนที่คอยดิสรัพเพื่อช่วยสะกิดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในระบบให้ปรับพฤติกรรมเสียใหม่ แม้ว่าจะอยู่ในช่วงที่ผลประโยชน์ของบริษัทยังไม่อาจมองเห็นได้อย่างเด่นชัดในทันที
ในภาคอุตสาหกรรม มีหลายบริษัททั่วโลกที่ได้รับความเสียหายจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทน แต่ความท้าทายเบื้องต้นที่มีมากกว่า คือ ภาคส่วนทั้งหมดไม่สามารถรับรู้ถึงสัญญาณเตือนที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอเกี่ยวกับการขาดการเปิดกว้างและการปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนในเรื่องเวลา ดังนั้น อุตสาหกรรมในปัจจุบันจึงเผชิญหน้ากับการแข่งขันและการทดแทน นับตั้งแต่วารสารหรือสิ่งพิมพ์ที่เปิดให้เข้าถึงได้ง่ายไปจนถึงคอร์สฝึกอบรมออนไลน์ที่เปิดกว้าง เป็นต้น
5. เป็นผู้นำด้วยแนวคิดแบบใหม่ ผู้นำไม่อาจพึ่งพิงอยู่กับสายการบังคับบัญชาที่เป็นทางการ แต่ในทางกลับกัน จำเป็นจะต้องอำนวยความสะดวกในการสร้างและบริหารความเป็นผู้นำที่สามารถส่งผ่านไปยังทั้งองค์กร ซึ่งเราสามารถเห็นผู้นำบางคนพึ่งพิงอยู่กับความสามารถในเชิงวิสัยทัศน์ที่เหนือกว่าในการฝึกฝนความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม ในขณะที่คนอื่นๆ อำนวยความสะดวกในการความสามารถในการประสานและสร้างความสัมพันธ์ที่เชื่อถือได้ ในขั้นสูงสุด การกระทำเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงความเป็นผู้นำจากตำแหน่งของการบังคับบัญชาตามลำดับชั้นไปเป็นผู้นำกิจกรรมที่สามารถสร้างอิทธิพลและความเชื่อมั่นที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
ผู้นำที่สามารถจัดการการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้จะสามารถสร้างความได้เปรียบให้กับองค์รวมทั้งระบบนิเวศด้วย และสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือ 5 ขั้นตอนสำหรับผู้นำในยุคแห่งความไม่แน่นอนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
Related posts
Tags: Leaders, Management Strategy, Strategic Management, uncertainty
Recent Comments