คริสทอฟ เจอบอลด์และแจน เวิร์ซบาเคอร์ สองวิศวกรด้านภูมิอากาศได้นำงานโปรเจ็คจากการศึกษาในมหาวิทยาลัยมาสร้างเครื่องจักรที่ช่วยเปลี่ยนแปลงโลก
เป็นเวลานานกว่า 10 ปีที่ทั้งคริสทอฟ เจอบอลด์และแจน เวิร์ซบาเคอร์ เป็นเพื่อนกัน ทั้งสองพบกันเมื่อปี 2546 ระหว่างสัปดาห์แรกของการศึกษาชั้นปริญญาตรีที่ ETH Zurich มหาวิทยาลัยของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทั้งสองคนได้ศึกษาวิชาวิศวกรรมและได้ทำกิจกรรมที่พวกเขาชื่นชอบอย่างการไต่เขาและดื่มเบียร์ด้วยกัน นอกจากนี้ ทั้งสองคนยังมีความรู้สึกของความต้องการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่เริ่มต้นด้วย
ทั้งสองคนเริ่มสนิทสนมกันมากขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้ก่อตั้งบริษัทไคลม์เวิร์คส์เมื่อปี 2552 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเจอบาลด์ ซึ่งนำความรู้ด้านวิศวกรรมมาใช้ในการดึงเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศออกมาใช้งาน และได้นำเครื่องจักรที่รวบรวมคาร์บอนออกมาขายออนไลน์ เครื่องจักรของเขาสามารถรวบรวมคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศโดยตรงและนำมาขายเพื่อใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
ตัวจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเรียกว่า capture plant มีลักษณะคล้ายพัดลมทรงเหลี่ยมสูง 7 ฟุตและมีเครื่องยนต์เจ็ทเล็กๆ อยู่ด้านใน ขณะที่กังหันของเครื่องจักรดูดอากาศเข้าไปข้างใน ตัวกรองสารเคมีก็จะทำการแยกแล้วปั๊มออกไปใช้งาน
ผู้ก่อตั้งบริษัททั้งสองต้องการยืนยันถึงสิ่งที่ค้นพบของคณะทำงานระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งกล่าวว่าการจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์จะเป็นส่วนสำคัญของการบรรลุเป้าหมายของโลกในการจำกัดสภาพภูมิอากาศ
“ไคลม์เวิร์คส์เป็นบริษัทชั้นนำในเรื่องนี้” สตีฟ บอห์น ผู้จัดการโปรแกรมเทคโนโลยีพลังงานของห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอร์เรนซ์ ลิเวอร์มอร์ ซึ่งเป็นสถานที่อำนวยความสะดวกด้านงานวิจัยของรัฐที่อยู่ใกล้กับซานฟรานซิสโกได้กล่าวไว้ บอห์น ระบุว่าไคล์มเวิร์คส์เป็นบริษัทที่เฝ้ามองการทดสอบเทคโนโลยีการจับคาร์บอนก่อนคณะอนุกรรมการรัฐสภาแห่งสหรัฐด้านสิ่งแวดล้อมเสียอีก และในเวลาต่อมา บริษัทก็ได้ทำสัญญากับเกษตรกรท้องถิ่นซึ่งเป็นไร่ฟาร์มมะเขือเทศและแตงกวา ซึ่งต้องการคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 900 ตันต่อปีเพื่อใช้ในเรือนกระจก ซึ่งเป็นแหล่งที่มีปุ๋ยที่เกิดแก๊สซึ่งช่วยเร่งให้เกิดการสังเคราะห์แสงเร็วขึ้น
ผู้ก่อตั้งทั้งสองกล่าวว่าเป้าหมายระยะสั้น คือการดึงเอาการปล่อยก๊าซคาร์บอนของโลก 1% ออกมาภายในปี 2568 แต่แผนการที่มากกว่านั้น คือการช่วยให้มนุษยชาตินำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกจากชั้นบรรยากาศมากกว่าที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น
เวิร์ซบาเคอร์ กล่าวว่าโลกจำเป็นต้องมีเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และดึงเข้ามาใช้งานได้และไม่เป็นอันตรายจากการจัดเก็บ สำหรับโรงงานมีการทำงานตลอดทั้งวันทั้งคืน แต่ละโรงงานที่จัดเก็บแต่ละโรงงานสามารถจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 50% จากชั้นบรรยากาศ แต่ทั้งสองคนปฏิเสธที่จะพูดถึงรายละเอียดของราคาแต่กล่าวว่าราคาจะตกลงอย่างรวดเร็ว เมื่อการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายนั้นยากที่จะทำนาย การวางแผนล่วงหน้าที่น่าปวดหัวที่สุด คือการคาดเดาเรื่องเกี่ยวกับการเมืองซึ่งส่งผลต่อเรื่องนี้
การสนับสนุนทางการเมืองสำหรับการปกป้องสภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มที่จะไม่มั่นคง แต่ทั่วโลกก็กำลังขับเคลื่อนการควบคุมคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะที่ภาคเอกชนยังคงมีอิสระและยืดหยุ่นเพียงพอต่อเรื่องของการเมือง และไคลม์เวิร์คส์ก็มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ด้วย
ปัจจุบัน ได้มีการติดตั้งใช้งานอยู่ที่โรงงานกำจัดของเสียของเทศบาลท้องถิ่นแห่งหนึ่งในเมืองฮินวิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงวันละ 2,460 กิโลกรัม
นวัตกรรมเครื่องจักรดึง CO2 จากชั้นบรรยากาศของไคลม์สเวิร์คส์จึงนับว่าเป็นโมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนได้ครบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเลยทีเดียว
ที่มา:
1. https://www.bloomberg.com/news/articles/2017-09-05/the-climate-engineers-sucking-co2-from-the-atmosphere-and-making-money-doing-it
2. http://www.climeworks.com/about/
3. https://www.facebook.com/WorldTrend.VoiceTV/posts/275363472872260:0
Related posts
Tags: carbon collecting, carbon management, CO2, Innovation
Recent Comments