• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in or Register
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    13,681 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    10,985 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    8,949 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    8,615 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    7,683 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO ISO45001 IT Management Strategy Media Mobile Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — กันยายน 22, 2017 8:00 am
ไอเอสโอก้าวไกลไปกับมาตรฐานเรือและเทคโนโลยีทางน้ำ ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 1815 reads
0
  

ISO-19030-–-SHIPS-AND-MARINE-TECHNOLOGYในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมทางทะเลได้เปลี่ยนแปลงไป มีการผลักดันให้การขนส่งทางทะเลต้องมีประสิทธิภาพด้านพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น รวมทั้งปลอดภัยมากขึ้น  สิ่งที่ไม่มีใครคาดหวังก็คือการปฏิบัติเหล่านี้ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งการนำเสนอสินค้าและบริการที่สามารถสร้างคุณค่ารวมให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือได้อีกด้วย

การขนส่งทางเรือที่มีทางเลือกสีเขียวมากขึ้นและมีค่าใช้จ่ายน้อยลงนับเป็นวิธีการขนส่งสินค้าที่เป็นที่นิยมมาก ซึ่งการขนส่งทางเรือทั่วโลกมีถึง 90% และเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับเศรษฐกิจโลก  แต่แม้ว่าจะมีประโยชน์เช่นนี้ ความต้องการที่เติบโตขึ้นก็กำลังผลักดันให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสูงขึ้นในระดับที่ไม่อาจยอมรับได้

การเตือนภัยจากผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ซึ่งมีการตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อต้นปีนี้ กล่าวอ้างว่าโลกของเรามีเวลาแค่3 ปีที่จะหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แล้วอุตสาหกรรมนี้จะก้าวข้ามความท้าทายได้หรือไม่ เรายังมีความหวังรออยู่เบื้องหน้า นั่นคือ มาตรฐานใหม่ที่ทำให้เกิดคำมั่นสัญญาที่ไม่เพียงแต่สร้างการขนส่งที่เป็นสีเขียวมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังจัดสรรวิธีที่อุตสาหกรรมต้องทำงานใหม่ให้อีกด้วย

แน่นอน ถ้าสิ่งที่จำเป็นคือมาตรฐาน สถานที่ที่เหมาะสมก็คือ ไอเอสโอ นั่นเอง

ผู้อำนวยการพัฒนาธุรกิจของกลุ่มโจตัน ผู้ผลิตสีสัญชาตินอรเวย์ กล่าวว่าใครจะไปคาดคิดว่ามาตรฐานจะสามารถเปลี่ยนแปลงกฎกติกาเพื่ออุตสาหกรรมทั้งมวล นี่เป็นสิ่งที่พิเศษสุดจริงๆ เขากล่าวถึงมาตรฐาน ISO 19030 ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานการขนส่งทางเรือเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอในด้านเทคโนโลยีทางน้ำและการเดินเรือ (ISO/TC8)

โคอิชิ โยชิดะ ประธานคณะอนุกรรมการวิชาการไอเอสโอด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (ISO/TC8/SC2) กล่าวว่าอุตสาหกรรมเดินเรือก็เหมือนกับอุตสาหกรรมอื่นๆ กล่าวคือ   หนึ่งในศัตรูตัวฉกาจของการเดินเรือเมื่อเราพูดถึงฟุตพริ้นท์ก็คือ ก๊าซเรือนกระจก (GHG) นั่นเอง สิ่งนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสิทธิภาพด้านพลังงาน ดังนั้น ภาคส่วนการขนส่งจึงมีแรงกดดันมหาศาลในการเพิ่มสมรรถนะของเชื้อเพลิง  เมื่อปี 2555 (ค.ศ.2012) การเดินเรือมีส่วนในการทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกถึง 2.1%

องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (The International Maritime Organization: IMO) กำลังเพิ่มความกดดันให้กับเรือที่สร้างใหม่ด้วยการเรียกร้องให้มีการใช้เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งก็สมเหตุสมผลอยู่ แต่แนวทางการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติจะเป็นอย่างไร เราอาจจะแปลกใจที่ได้ยินว่าการเน้นเรื่องของสมรรถนะของใบพัดและสิ่งห่อหุ้มเรือเป็นหนึ่งในหนทางที่จะทำให้สำเร็จได้

ทั้งนี้ เนื่องจากบางส่วนของตัวเรือต้องสัมผัสกับน้ำโดยตรง เมื่อเคลื่อนผ่านน้ำ เรือต้องใช้พลังงานในการต้านแรงเสียดทานที่บางส่วนของตัวเรือ ดังนั้น พลังที่ใช้ไปจึงขึ้นอยู่กับสภาพของผิวตัวเรือที่มีความเปียก ถ้าผิวมีความลื่น ก็จะมีประสิทธิภาพมากกว่าและใช้พลังงานน้อยกว่าผิวที่ขรุขระ ตรรกะที่คล้ายกันนี้ใช้กับใบพัดด้วยเช่นกัน การเสียดทานสามารถมีผลมากถึง 80% ของแรงต้านที่เรือจำเป็นต้องวิ่งเพื่อเคลื่อนไปยังความเร็วที่ต้องการซึ่งก็มีประมาณ 80% ของการใช้พลังงานทั้งหมด

แต่สภาพแวดล้อมใต้น้ำนั้นมีความรุนแรงและตัวเรือและใบพัดก็มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับพวกเลน โคลน วัชพืช หรือเพรียงที่มีโอกาสสัมผัสกับผิวของเรือ  แต่การสัมผัสกับวัตถุเหล่านั้นอาจจะเพิ่มความต้านทานและทำให้เพิ่มการใช้พลังงานมากขึ้นกว่า 60%

ข้อมูลจากองค์กร Clean Shipping Coalition ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพียงองค์กรเดียวที่ให้ความสนใจในประเด็นของการขนส่งทางเรือโดยเฉพาะ ระบุว่าการทำให้สมรรถนะของตัวเรือและใบพัดเสื่อมลงนั้นมีประมาณหนึ่งในสิบของโลกของค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมด  ซึ่งแปลงเป็นเงินถึงพันล้านดอลล่าร์ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียในแต่ละปีและเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากมนุษย์ถึง 0.3%

แม้แต่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ จากการต้านทานของการเสียดทานสามารถมีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อพลังงานที่จำเป็นต้องขับเคลื่อนเรือไปในระดับความเร็วเดียวกัน เจ้าของเรือและผู้ปฏิบัติงานทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดี ดังนั้น ทุกๆ 3 – 5 ปี จะต้องมีการบำรุงรักษาเรือเพื่อให้ตัวเรือและใบพัดได้รับการทำความสะอาดและทาสีใหม่ด้วย  ทางเลือกของสีก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะมันจะช่วยปกป้องตัวเรือจากความเสียหายและช่วยดูแลรักษาอินทรีย์วัตถุทางน้ำด้วย แต่เท่าที่ผ่านมา มีความยากลำบากในการระบุว่าระบบสีแบบไหนดีหรือไม่ดี เจ้าของเรือมักจะไม่เข้าใจเทคโนโลยีและเรื่องของสารเคมีในสี จึงไม่ได้ให้ความสนใจกับผลกระทบที่มันมีต่อเรือเท่าใดนัก  พวกเขาแค่ต้องการใช้สีราคาถูกที่สุดเท่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมเรือที่แล่นอยู่ทั่วโลกไม่ได้สนใจเรื่องชีวภาพและมักจะใช้พลังงานมากเกินกว่าที่จำเป็น

ด้วยเหตุนี้ มาตรฐาน ISO 19030 – Ships and Marine Technology จึงเป็นทางออกที่สำคัญในการป้องกันปัญหาดังกล่าว รายละเอียดจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ

ที่มา: https://www.iso.org/obp/ui/#iso:std:iso:19030:-1:ed-1:v1:en



Related posts

  • เมืองอัจฉริยะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเมืองอัจฉริยะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • มาตรฐานไอเอสโอช่วยส่งเสริม COP22 ให้บรรลุเป้าหมายมาตรฐานไอเอสโอช่วยส่งเสริม COP22 ให้บรรลุเป้าหมาย
  • เตรียมรับมือความไม่แน่นอนของโลกด้วย ISO 22301เตรียมรับมือความไม่แน่นอนของโลกด้วย ISO 22301
  • มาตรฐานสากลฉบับแรกใช้ทดสอบเตาปรุงอาหารมาตรฐานสากลฉบับแรกใช้ทดสอบเตาปรุงอาหาร
  • ก้าวสู่โลกอนาคตที่อุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำ ตอนที่ 1ก้าวสู่โลกอนาคตที่อุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำ ตอนที่ 1

Tags: ISO, ISO19030, Ships and marine technology, standard

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2021 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑