<a href=”https://innoversity.masci.or.th/wp-content/uploads/GLOBAL-FREIGHT-TRANSPORT-WITH-INTELLIGENT-SYSTEMS.jpg”><img src=”https://innoversity.masci.or.th/wp-content/uploads/GLOBAL-FREIGHT-TRANSPORT-WITH-INTELLIGENT-SYSTEMS-300×168.jpg” alt=”GLOBAL-FREIGHT-TRANSPORT–WITH-INTELLIGENT-SYSTEMS” width=”300″ height=”168″ class=”alignleft size-medium wp-image-22833″ /></a>การขนส่งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ทางรถ ทางรถไฟ หรือทางทะเล นับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของการค้าขายสินค้า แต่ความต้องการใหม่ๆ ของเครือข่ายการขนส่งกำลังก่อให้เกิดความท้าทายในเรื่องข้อมูล บริษัทขนส่งกำลังพยายายามตอบสนองความต้องการเหล่านั้น แต่การที่พวกเขาจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับซัพพลายเชนที่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัว และมีข้อมูลสารสนเทศที่เพียงพอซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น
การมีเครือข่ายการขนส่งทุกประเภทที่สามารถเชื่อมต่อกัน ทำให้สินค้าได้รับการจัดส่งอย่างปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพคุ้มกับค่าใช้จ่าย ซึ่งเครือข่ายนั้นจะต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศที่เชื่อถือได้ คาดการณ์ได้ และเข้าถึงได้ง่ายกว่าที่เคยเป็นมาเพื่อที่จะสามารถขนย้ายสินค้าจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งจนถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย
ในโลกที่เต็มไปด้วยความคับคั่งจอแจเช่นนี้ อีโลจิสติกส์ที่สามารถเชื่อมโยงการขนย้ายสินค้าทั่วโลกกำลังเติบโตขึ้น บริษัทต่างๆ กำลังค้นหาวิธีที่ดีกว่า เร็วกว่าในการทำให้สินค้าเข้าถึงตลาดและชั้นวางสินค้าเพื่อผู้บริโภค แต่ในขณะเดียวกัน ความต้องการของผู้บริโภคในบางครั้งก็มีมากเกินกว่าสมรรถนะของโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่มีอยู่
สินค้าที่บ้านและที่สำนักงานของเราทุกอย่างที่มาจากร้านค้าต่างๆ เป็นผลมาจากการขนส่งที่รวดเร็ว ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ บางครั้ง ในเมืองเดียวกัน แต่ในเวลาต่างกันในประเทศอื่น ก็มีการขนส่งที่หลากหลาย เช่น ฮับเรล การขนส่งทางอากาศ และบริการบนภาคพื้นดิน เป็นต้น หากย้อนกลับไปเมื่อไม่กี่ชั่วอายุคนที่ผ่านมา เป็นการยากที่จะจินตนาการถึงความเปลี่ยนแปลงในเรื่องการขนส่งซึ่งแต่เดิมไม่ได้มีความรวดเร็วและสะดวกสบายเท่ากับสมัยนี้
สำหรับผลกระทบของความเคลื่อนไหวด้านการขนส่งทั่วโลกนั้น อุตสาหกรรมการขนส่งสินค้ามีมูลค่านับหลายล้านล้านเหรียญสหรัฐในทุกๆ ปี และในทั่วทุกมุมโลกทั้งขาไปและขากลับ ผ่านซัพพลายเชนที่ขนส่งทั่วโลกโดยมีการพึ่งพิงระหว่างกัน จากข้อมูลรายงานแนวโน้มและสถิติการค้าระหว่างประเทศ ปี 2559 ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) พบว่าเมื่อสองปีที่แล้ว สินค้าที่ทำการการค้าขายในโลกมีมูลค่าประมาณ 16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การวิเคราะห์ล่าสุดในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าโดย UNCTAD พบว่าแต่ละสนามบินและท่าเรือมีการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายรางและถนนหนทางซึ่งสะท้อนถึงธรรมชาติของการขนส่งประเภทต่างๆ นับว่าการขนส่งในประเทศและระหว่างประเทศได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและในปีนี้ก็มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
เป็นเวลานานนับทศวรรษที่เศรษฐกิจเน้นไปกับการส่งออกและการพัฒนาประเทศต่างๆ ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น และมีความต้องการในการขนส่งเพิ่มขึ้น (จำนวนตันของสินค้าที่มีการขนย้าย) และในทางปฏิบัติ ระยะทางของการขนส่ง ยังเป็นปัญหาในการเพิ่มความคับคั่งของการจราจร ความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม และความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน
ไม่มีคำถามที่ว่าอุตสาหกรรมทุกวันนี้แตกต่างจากอดีตได้อย่างไรเพราะการขนส่งที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับความเร็วและความปลอดภัยในการส่งมอบ ไม่เพียงแต่ในตลาดท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังข้ามเขตแดนไปสู่ประเทศอื่นอีกด้วย แต่ว่าในตอนนี้มีการขนส่งที่ไหนบ้าง เมื่อไรจะมาถึง สภาพเป็นอย่างไร ทำไมรถบรรทุกจึงไม่จอดตามกำหนด ความต้องการสำหรับข้อมูลแบบเรียลไทม์เช่นนี้ยังหาได้ยากแต่ก็มีความจำเป็นอย่างมาก
ขณะที่อุตสาหกรรมเคลื่อนไปสู่ยุคแห่งความเชื่อมโยงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การนำเสนอข้อมูลจะต้องรวมถึงสมรรถนะของการขนส่งเข้าไปด้วย ในสภาพปัจจุบัน ระบบไม่สามารถจัดการกับปริมาณรูปแบบข้อมูลที่แตกต่างกันได้ ยกตัวอย่างเช่น ซัพพลายเชนเฉลี่ย มีอุปกรณ์จีพีเอสหลายร้อยอย่างที่ผู้รับเหมาช่วงและบริษัทขนส่งรถบรรทุกใช้ในครั้งหนึ่ง ซึ่งอันที่จริง สามารถรวมกันเป็นหนึ่งเดียวและกระจายไปสู่ผู้ใช้งานหรือลูกค้าที่เกี่ยวข้องได้
ปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการจัดการกับข้อมูลที่มีอยู่อย่างล้นเหลือทั้งขาเข้าและขาออก และยังมีปัญหาในการเชื่อมต่อกับข้อมูลด้วย ซึ่งซัพพลายเชนมีการใช้ข้อมูลหลายประเภทในหลายมาตรฐาน เช่น การแลกเปลี่ยนเอกสารผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (UN/EDIFACT), การแลกเปลี่ยนข้อมูล (SMDG), แพล็ทฟอร์มข้อมูลด้านโลจิสติกส์ (LOGINK), การลงทะเบียนระดับโลกเพื่อการมีข้อมูลซัพพลายเชนที่สามารถใช้งานแหล่งข้อมูลร่วมกันและเป็นเครือข่ายการเชื่อมต่อระหว่างกันอย่างเป็นมาตรฐาน (GS1) และข้อกำหนดการรวมกลุ่มแอพพลิเคชั่นแบบเปิด (OAGi) เป็นต้น ถึงอย่างนั้นก็ตาม การเชื่อมต่อยังคงมีช่องว่างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและความซับซ้อนของการขนส่งที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งการส่งมอบสินค้า ซึ่งกำลังเพิ่มความกดดันให้กับผู้ผลิตทั่วโลก
ในการขนส่งและโลจิสติกส์ มีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องหลายมาตรฐานด้วยกัน ดังนั้น เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อการเชื่อมต่อและการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งจะมีมาตรฐานอะไรบ้าง โปรดติดตามตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2216.html
Related posts
Tags: standard, Supply Chain
ความเห็นล่าสุด