บทความ เรื่อง ตอบโจทย์การขนส่งทั่วโลกด้วยสารสนเทศซัพพลายเชน ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงความสำคัญของการมีข้อมูลสารสนเทศของซัพพลายเชนที่สามารถใช้ร่วมกันได้เพื่อให้การขนส่งที่มีอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ทางรถ ทางรถไฟ หรือทางทะเล สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและทันเวลา แต่ข้อมูลสารสนเทศทีมีอยู่นั้น มีอยู่หลายประเภทในหลายมาตรฐาน ดังนั้น เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อการเชื่อมต่อและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
สำหรับบทความในตอนนี้ จะกล่าวถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
การขนส่งที่มีการเชื่อมต่อกันทั่วโลกมีความจำเป็นอย่างยิ่งทั้งในปัจจุบันและในอนาคต นวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และไอเอสโอก็เห็นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนข้อมูลซัพพลายเชนระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลที่จำเป็นเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างการขนส่งประเภทต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้การขนส่งและระบบควบคุมการขนส่ง จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 204 – Intelligent transport systems ขึ้นมา
ทั้งนี้ คณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอได้พัฒนาข้อกำหนดทางเทคนิค คือมาตรฐานไอเอสโอ ISO/TS 24533: 2012 – Intelligent transport systems – Electronic information exchange to facilitate the movement of freight and its intermodal transfer – Road transport information exchange methodology โดยโฟกัสไปที่การขนส่งที่ต้องมีการอินเตอร์เฟสกันผ่านซัพพลายเชน หรือรายการข้อมูลเหล่านั้นที่มีการตกลงโดยเฉพาะกับข้อมูลการขนส่งที่จำเป็นในการรับสินค้าโดยไม่มีความล่าช้าอันเนื่องมาจากการแบ่งปันข้อมูล ดังนั้น โครงสร้างข้อมูลในส่วนที่มีรูปแบบและการอินเทอร์เฟสกันจะต้องมีเพื่อเสริมข้อมูลซึ่งกันและกันเพื่อให้มั่นใจในความมีประสิทธิภาพและความมั่นคงปลอดภัยในทุกทาง
เป้าหมายของ ISO/TS 24533 ก็คือการยอมให้การแบ่งปันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผ่านไปยังคู่ค้าซัพพลายเชนระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจในมาตรฐานและการคงอยู่ของข้อมูล การมีความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆ ก็เป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ดีขึ้น เมื่อคู่ค้าคนแรกยอมให้คู่ค้าคนอื่นๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน ก็จะทำให้ตัวแทนศุลการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แต่เนิ่นๆ เช่นกัน และทำให้สามารถส่งสินค้าไปยังซัพพลายเชนได้อย่างรวดเร็ว
ข้อกำหนดทางเทคนิคจะทำให้ปัญหาในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลหมดไป เช่น มาตรฐาน ISO/IEC 19845 – Information technology — Universal business language เป็นภาษาการแลกเปลี่ยนของมาตรฐานทั่วไปที่ยอมให้แอพพลิเคชั่นทางธุรกิจมีความแตกต่างกันและชุมชนการค้าในการแลกเปลี่ยนข้อมูลตลอดทั้งซัพพลายเชน สามารถใช้ฟอร์แมตร่วมกันได้
มาตรฐานระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ถ้าเราต้องการที่จะทำให้การขนส่งที่มีการเชื่อมต่อกันได้ทุกระบบเพิ่มขึ้น และองค์กรด้านมาตรฐานระหว่างประเทศจำเป็นต้องสนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างกันโดยทำให้สามารถทำงานแทนกันได้มากกว่าที่จะแข่งขันกัน
ความร่วมมือจึงเป็นหัวใจสำคัญที่แท้จริง ความเป็นหุ้นส่วนใหม่และวิธีการทำงานใหม่ๆ กับองค์กรด้านมาตรฐานอื่นๆ มีความจำเป็นที่จะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้ และเพื่อให้ไปสู่จุดหมายนี้ ISO/TC 204 ได้ทำให้แนวคิดความร่วมมือแบบปิดระหว่างคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอ กับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ OASIS, IATA, IEC, CEN, UN Centre for Trade Facilitation and Electronic Business และ World Customs Organization และพวกเขาก็ไม่จำเป็นต้องทำงานอย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป
ในด้านตลาดการขนส่ง ที่ปรึกษาด้านการตลาดและวิจัยที่มีชื่อว่า Research consultancy MarketsandMarkets คาดหวังว่าตลาดการขนส่งทั้งระบบจะเติบโตขึ้นโดยมีมูลค่าถึง 26.19 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในอีกสองปีข้างหน้า ซึ่งแสดงถึงอัตราการเติบโตประจำปีโดยประมาณที่ 16.4% นับตั้งแต่ปี 2557 – 2562 (ค.ศ.2014 ถึง 2019) และในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นที่คาดว่าอเมริกาเหนือจะเป็นตลาดใหญ่ที่สุดจากการใช้จ่ายและการรับเอาตลาดการขนส่งทั้งหมดไปใช้
อุตสาหกรรมการขนส่งทั้งทางบก ทางอากาศและทางทะลกำลังเติบโต ดังนั้น ความจำเป็นในเรื่องของมาตรฐานจจึงเพิ่มขึ้นอย่างมากมายทันที เรื่องของความมั่นคงปลอดภัยในปัจจุบันจึงมีการยกระดับความสำคัญมากขึ้น และตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่จะจัดการกับความท้าทายในการเคลื่อนย้ายสินค้าไปทั่วโลก
ออนเดอร์ ซึ่งเป็นผู้นำโครงการของคณะกรรมการวิชาการทางเทคนิค ISO/TS 24533 ยังอธิบายถึงประโยชน์ของมาตรฐานดังกล่าวต่อไปว่าเขามีความหวังที่จะใช้มันเป็นมาตรฐานเพื่อความสามารถในการทำงานทดแทนกันได้ซึ่งจะยอมให้การส่งข่าวสารแบบมีโครงสร้างภายใต้ ISO/IEC 19845 และมีการใช้ร่วมระหว่างกันกับระบบอื่นๆ (UN/EDIFACT, GS1, LOGINK) ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานและลดการบริโภคพลังงานลงได้ในขณะเดียวกัน นอกจากนี้ จะมีการส่งมอบความเชื่อถือได้พร้อมๆ กับความสามารถในการคาดการณ์ที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการตัดสินใจด้านห่วงโซ่ของโลจิสติกส์
ระบบการขนส่งทุกวันนี้ยังต้องเผชิญกับวิกฤตและความเข้าใจในเทคโนโลยีอีกมากมาย ไมว่าจะเป็นการขนส่งด้วยรถบรรทุก รถไฟ เรือ หรือเครื่องบิน ความท้าทายให้กำลังผลักดันข้ามเขตแดนไปยังทั่วโลกด้วยความตระหนักถึงความมีประสิทธิภาพในเรื่องค่าใช้จ่ายและยังต้องการันตีเวลาการส่งมอบให้ทันรวมถึงความคาดหวังในปัญหาและการวางแผนรองรับปัญหาต่างๆ
ในอนาคต วิสัยทัศน์ระยะยาวของการขนส่งคือ การขนส่งระหว่างระบบทั้งหมดต้องเป็นหนึ่งเดียวที่จะทำให้ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพในเชิงพลังงานและมีความยั่งยืนซึ่งมาตรฐานระบบการขนส่งด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศของไอเอสโอจะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว โดยมีการออกแบบและเทคโนโลยีที่มีความคิดก้าวล้ำไปข้างหน้าเป็นตัวขับเคลื่อน ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่าข้อมูลสารสนเทศซัพพลายเชนจะช่วยตอบโจทย์การขนส่งทั่วโลกนั่นเอง
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2216.html
Related posts
Tags: freight, ISO, standard, Supply Chain
Recent Comments