หากย้อนไปอดีต ภาพยนตร์เรื่อง On the Waterfront ในปี 2497 (ค.ศ.1954) สะท้อนภาพให้เห็นถึงยุคแห่งสิ่งประดิษฐ์สมัยใหม่รวมทั้งรถยนต์ และการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือโดยมีกรรมกรเป็นผู้ขนย้ายและได้ค่าแรงที่ต่ำมาก ซึ่งบทบาทของตัวเอกชื่อเทอร์รี่นำแสดงโดยมาร์ลอน แบรนด์โด เป็นอดีตนักมวยไฟแรงที่หันไปทำงานให้กับสภาพแรงงานของท่าเรือ ในตำแหน่งที่เรียกว่า Longshoreman หรือ Docker (ซึ่งเป็นคนขนย้ายสินค้าระหว่างคลังสินค้ากับท่าเรือ) แล้วบังเอิญไปมีส่วนรู้เห็นกับการคอร์รัปชั่นของสหภาพแรงงาน ภาพของงานกรรมกรท่าเรือที่ต้องใช้แรงงานขนย้ายสินค้าได้กลายเป็นอดีตและเป็นการยากที่จะเห็นใครทำงานในลักษณะนั้นอีก
หลังจากนั้นอีก 10 ปี โลกของเราก็มีการขนย้ายสินค้าโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์และท่าเรือที่ทันสมัยขึ้น แต่ทำไมการพัฒนาเรื่องนี้จึงเป็นไปได้อย่างเชื่องช้านัก
คำตอบคือโลกของเรายังขาดเรื่องของการมาตรฐานหรือให้ความสำคัญในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย กล่าวคือ คณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 104 – Freight containers ได้พัฒนามาตรฐานนี้มาตั้งแต่ปี 2504 (ค.ศ.1961) โดยได้พัฒนาตู้คอนเทนเนอร์ในทุกแง่มุมจากทุกมิติของการจัดวางสินค้า นับตั้งแต่การจัดวางสินค้าให้มีความมั่นคงปลอดภัยบนเรือหรือบนรถบรรทุก ไปจนถึงนิยามศัพท์ที่ใช้ในการอธิบายความหมายต่างๆ
นับเป็นเวลาเกือบ 40 ปีนับตั้งแต่มีมาตรฐาน ISO 668 -Series 1 freight containers – Classification, dimensions and ratings ซึ่งเป็นมาตรฐานตู้คอนเทนเนอร์ฉบับแรกได้ประกาศใช้ ดิ๊ค ชแน็ค ประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 104 ได้อธิบายว่ามีความจำเป็นในการพัฒนามาตรฐานใหม่ในด้านนี้ การขนส่งด้วยคอนเทนเนอร์เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของโลกาภิวัตน์ ซึ่งนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายและการยอมให้ประเทศต่างๆ ที่ก่อนหน้านี้โดดเดี่ยวหรือห่างไกลจากการค้าโลกได้มีโอกาสนำผลิตภัณฑ์เข้ามาสู่ตลาดโลกได้ และทุกวันนี้ ก็มีผู้บริโภคมากขึ้น สินค้ามากขึ้น จึงมีการขนส่งทางเรือมากกว่าที่เคยเป็นมา ซึ่งหมายถึงว่าคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC ก็จะต้องทำงานมากขึ้นด้วย
ในขณะที่เรากำลังก้าวไปสู่โลกแห่งความเป็นจริงซึ่งมีการใช้อีคอมเมิร์ซมากขึ้นและกลายเป็นบรรทัดฐานซึ่งทำให้เราลืมไปสนิทว่าเรามีเครือข่ายทางกายภาพที่ซับซ้อนที่เชื่อมต่อออนไลน์ได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ทำให้เรามีวิธีขนส่งสินค้าไปทั่วโลกในราคาที่ไม่แพงและในที่สุดแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันเหล่านั้นก็มีการลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งลง ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ผู้บริโภคเป็นผู้ได้รับประโยชน์มากในการมีทางเลือกมากขึ้นมากกว่าที่เคยเป็นมาและมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกซื้อมากขึ้นโดยใช้จ่ายเงินเท่าเดิม
ต่อไปนี้คือตัวอย่างของโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 18 ของโลกตะวันตก ถ้าเราได้มีโอกาสไปเยี่ยมบ้านจัดสรรของรัฐที่ได้รับการดูแลอย่างดี เราจะเห็นวัตถุเซรามิคที่แกะสลักเป็นรูปสับปะรดที่เสาบันไดอันเป็นลวดลายของความหรูหราอยู่เสมอ ซึ่งในสมัยนั้นน้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้รับประทานสับปะรดอันถือว่าเป็นไลฟ์สไตล์ของผู้มีอันจะกิน หากเปรียบกับสมัยนี้ ก็คือการใช้เครื่องบินเจ็ทส่วนตัวนั่นเอง แต่สมัยนี้ คนในโลกตะวันตกสามารถซื้อหาสับปะรดจากออนไลน์ได้ในราคาเพียงไม่กี่ดอลล่าร์
หันกลับมาดูเรื่องตู้คอนเทนเนอร์ที่การเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและเทคโนโลยีเช่นกัน แล้วมาตรฐานของตู้คอนเทนเนอร์ล่ะ ควรเป็นอย่างไร พบกับคำตอบในฉบับหน้าซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2215.html
Related posts
Tags: containers, freight, freight containers, Infrastructure, ISO18625, Standardization, Technology
ความเห็นล่าสุด