• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,582 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,081 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,417 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,303 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,005 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — ตุลาคม 9, 2017 8:00 am
กว่าจะมาเป็นมาตรฐานการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 4049 reads
0
  

ISO-TS-18625-FREIGHT-CONTAINERS-–-CTMS-2กว่าจะมาเป็นมาตรฐานการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงความเป็นมาของมาตรฐานการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งมีพัฒนาการค่อนข้างช้า โดยคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 104 – Freight containers ได้พัฒนามาตรฐานนี้มาตั้งแต่ปี 2504 (ค.ศ.1961) แต่ทั่วโลกยังไม่ได้เห็นความสำคัญของมาตรฐานนี้ในครั้งแรก ซึ่งต่อมา เมื่อเทคโนโลยีในการขนส่งได้เปลี่ยนแปลงไป การขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์กลายเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของโลกาภิวัตน์  ทำให้ทั่วโลกต้องหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของมาตรฐานมากขึ้น

สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงเรื่องของขนาดตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งมีความสำคัญต่อการขนย้ายสินค้าด้วยความสะดวกและสามารถเชื่อมต่อการขนย้ายได้ง่าย

มาร์ค เลวินสัน ผู้เชี่ยวชาญการขนส่งและผู้แต่งหนังสือ The Box – How the Shipping Container Made the World Smaller and the World Economy Bigger กล่าวว่า ทุกวันนี้ คอนเทนเนอร์มาตรฐานคือ 40 ฟุต (12.192 เมตร) แต่ในตอนแรกก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

เลวินสันกล่าวอ้างถึงมัลคอม แม็คลีน ผู้บุกเบิกเรื่องคอนเทนเนอร์ โดยชี้ว่า ตู้คอนเทนเนอร์ตู้แรกของแม็คลีนมีความยาว 33 ฟุต (ประมาณ 10 เมตร) ซึ่งง่ายต่อการขนย้ายในที่แคบและถนนอันคดเคี้ยวที่นำทางไปสู่สำนักงานใหญ่ของเขาในมลรัฐนิวเจอร์ซีย์ ต่อมาแม็คลีนจึงได้พัฒนาคอนเทนเนอร์รุ่นที่สองให้มีความยาว 35 ฟุต (ประมาณ 5.18 เมตร)

ขณะเดียวกัน คู่แข่งของเขาในลาตินอเมริกาก็พัฒนาโมเดลขนาด 17 ฟุต (ประมาณ 10 เมตร) ที่เหมาะสมสำหรับสภาพที่เต็มไปด้วยภูเขา ส่วนแม็ทสันที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกก็พัฒนาขนาด 24 ฟุต (ประมาณ 7.32 เมตร)  แต่สุดท้ายแล้วเลวินสันก็ระบุว่าถ้าคุณมีคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่มาจากฮาวายซึ่งเต็มไปด้วยสับปะรดกระป๋อง มันจะมีน้ำหนักมาเกินกว่าจะยกไหว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะทำคอนเทนเนอร์ให้ใหญ่ขึ้นเพราะสุดท้ายแล้วเราก็จัดการกับมันไม่ได้อยู่ดี

การขาดความเข้ากันได้ระหว่างโมเดลต่างๆ หมายความว่าบริษัทขนส่งแต่ละบริษัทจะต้องติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในการยกตู้คอนเทนเนอร์ให้เหมาะกับแบบของตนเอง ซึ่งหมายความว่าธุรกิจหรือท่าเรือจะต้องมีพันธสัญญาในการออกแบบให้กับผู้ผลิตโดยเฉพาะ และทำให้ลดความไม่แน่นอนลงและมีการแข่งขันที่ไม่ยากลำบากจนเกินไป เลวินสันอธิบายถึงปัญหาของตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่มีมาตรฐานว่ามันทำให้เราสูญเสียประสิทธิภาพ ทำให้ไม่มีการทำงานเป็นเครือข่าย แต่เป็นการทำงานแบบเดี่ยวๆซึ่งไม่สะดวกเลยสำหรับผู้ขนส่งสินค้าและไม่ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่คำถามก็คือ แล้วเราจะสร้างมาตรฐานอย่างไร เรื่องนี้ ไอเอสโอจึงต้องเข้ามาช่วยให้คำตอบ

สิทธิบัตรที่พัฒนาโดยแม็คลีนสามารถหาได้ที่ไอเอสโอโดยไม่มีค่าใช้จ่าย นับตั้งแต่เริ่มต้น อุตสาหกรรมได้เห็นประโยชน์ของการมาตรฐาน แต่ความก้าวหน้าในเรื่องนี้นับว่าช้าอยู่มาก

อุตสาหกรรมนี้กำลังอยู่ใต้ความกดดันทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยมาร์จิ้นที่อ่อนไหวและการปฏิบัติงานที่มีความสูญเสีย ผลก็คือไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะลงทุนในเทคโนโลยีหรือแม้แต่เพื่อผลประโยชน์ที่ชัดเจน ในอีกนัยหนึ่ง อุตสาหกรรมกำลังตกเป็นเหยื่อของ ”ความอยาก” ในเรื่องมาตรฐานโดยไม่แน่ใจว่าควรทำอะไร เพื่ออะไร และในขณะที่เทคโนโลยีได้ก้าวไปข้างหน้า มีคนเพียงจำนวนน้อยที่ก้าวตามทัน ดิ๊ค ชแนค มองเห็นภาพใหญ่ตั้งแต่เขาทำงานเป็นประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 204, Intelligent transport systems

ตู้คอนเทนเนอร์ส่วนใหญ่ไปถึงจุดหมายปลายทางด้วยการใช้ถนน  ซึ่งต้องข้ามผ่านถนนหนทางหรือเปลี่ยนเส้นการเดินทางโดยมีจุดเปลี่ยนมากพอสมควร คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 204 จึงได้พัฒนาแนวทางที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการจัดเตรียมตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในการขนส่งในระบบการขนส่งแห่งอนาคต

หนึ่งในการพัฒนาที่มีนัยสำคัญมากที่สุดก็คือข้อกำหนดทางเทคนิคของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TS 18625 – Freight containers – Container Tracking and Monitoring Systems (CTMS) Requirements ซึ่งนับเป็นมาตรฐานระบบแรกสำหรับการติดตามการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการรวมเอาเทคโนโลยีที่หลากหลาย รวมทั้งการตรวจจับการระบุรหัสความถี่วิทยุ (Radio-­Frequency Identification: RFID) ให้มีการปรับปรุงการติดตามสินค้าที่มีการเปลี่ยนถ่ายไปยังที่ต่างๆ การเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์ ทำให้มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูงรวมทั้งบริษัทประกันภัย คู่ค้าที่จัดการเก็บสต็อคสินค้าระหว่างที่มีการเปลี่ยนถ่ายสินค้า เช่น วัคซีน หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่จำเป็นต้องมีเครือข่ายการขนส่งที่ใช้ความเย็น มีระบบศุลกากรและเอเย่นต์ข้ามแดนที่สามารถเข้าถึงและจัดการกับข้อมูลได้อย่างปลอดภัย เป็นต้น

ปัจจุบัน มาตรฐาน ISO/TS 18625 – Freight containers – Container Tracking and Monitoring Systems (CTMS) Requirements อยู่ในระหว่างการรอตีพิมพ์เผยแพร่เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศต่อไป

ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/ref2215.html

        2. https://www.iso.org/standard/63052.html



Related posts

  • อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์กับมาตรฐาน ISO 13485อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์กับมาตรฐาน ISO 13485
  • ประธานไอเอสโอก้าวสู่ปีที่สองของการทำงานประธานไอเอสโอก้าวสู่ปีที่สองของการทำงาน
  • บริหารอนาคตด้วยมาตรฐานสากลเพื่อความยั่งยืน ตอนที่ 2บริหารอนาคตด้วยมาตรฐานสากลเพื่อความยั่งยืน ตอนที่ 2
  • สัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวตามเทรนด์โลกด้วยมาตรฐานไอเอสโอสัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวตามเทรนด์โลกด้วยมาตรฐานไอเอสโอ
  • ไอเอสโอพัฒนามาตรฐาน “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนไอเอสโอพัฒนามาตรฐาน “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

Tags: containers, freight, freight containers, Infrastructure, ISO18625, standard

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑