โลกธุรกิจในศตวรรษที่ 21 มีอุตสาหกรรมนวัตกรรมเกิดขึ้นมากมาย กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เคยใช้ในอดีตจึงอาจใช้ไม่ได้กับยุคแห่งความท้าทายอีกต่อไป
หากพิจารณาในระดับหนึ่ง การเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นเพียงวิธีการที่ทันสมัยมากขึ้นในการเรียกทฤษฎีการทำลายเชิงสร้างสรรค์ในแบบใหม่ของนักเศรษฐศาสตร์โจเซฟ ชุมปีเตอร์ (ทฤษฎีการทำลายเชิงสร้างสรรค์/Creative Destruction Theory: การคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แม้จะเป็นการทำลายสิ่งที่มีอยู่เดิม แต่ก็มีเป้าหมายเพื่อสร้างกำไรเพิ่มขึ้นให้กับธุรกิจ หรือเพื่อทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้นกว่าเดิม) แต่หากพิจารณาในอีกระดับหนึ่ง นับว่ามีบางอย่างเกิดขึ้นแล้ว นวัตกรไม่เพียงแต่สร้างสิ่งที่ใช้ติดตามให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังพยายามที่จะเน้นเรื่องของการแหวกกฎเกณฑ์อีกด้วย เช่น การหาทางทำใหสำเร็จด้วยทรัพยากรที่น้อยลง การพยายามค้นหาทางที่จะฝ่ากำแพงเข้าไปอย่างถูกต้อง เป็นต้น ซึ่งก็มีความเสี่ยงในหลายเรื่องด้วยกัน
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา อูเบอร์ ผู้ให้บริการรถยนต์อันเป็นเศรษฐกิจแบบแบ่งปันแนวใหม่ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก รูปแบบธุรกิจของอูเบอร์ทำให้ได้ค้นพบอาณาจักรใหม่ของบริการเรียกรถซึ่งยื่นข้อเสนอของความสะดวกสบายให้ลูกค้าตามความต้องการผ่านแอพพลิเคชั่นง่ายๆ บนโทรศัพท์มือถือ ทำให้ลูกค้ามีการเดินทางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากเดิมที่ต้องเรียกรถเองและจ่ายเงินสดมาเป็นความสามารถในการนัดหมายล่วงหน้าและจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตได้ นอกจากนี้ อูเบอร์ยังทำให้คนมีการทำงานที่ยืดหยุ่นและมีรายได้เสริมอีกด้วย
อูเบอร์สามารถประสบความสำเร็จอย่างสูงภายในระยะเวลาอันสั้น โดยในปี 2557 (ค.ศ.2014) ได้ให้บริการถึงวันละหนึ่งล้านรอบ และแม้ว่าจะมีการแข่งขันเพิ่มขึ้นในปี (2559) 2016 ก็ยังสามารถให้บริการได้ถึงวันละ 5.5 ล้านรอบ
อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ อูเบอร์กลายเป็นสัญลักษณ์ของเด็กเกเร ทั้งต่อลูกจ้าง ผู้ใช้บริการ และชุมชน รวมทั้งอุตสาหกรรมบริการแท็กซี่โดยรวม ซึ่งกลายเป็นประเด็นถกเถียงในทางปฏิบัติในเรื่องของราคา
ปัญหาของอูเบอร์ยังคงบานปลายออกไป นักลงทุนของอูเบอร์อย่างกูเกิ้ลได้ฟ้องบริษัทที่ได้นำเทคโนโลยีของ Waymo ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทไปใช้โดยไม่ได้ขออนุญาตเมื่อต้นปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีรายงานข่าวจากนิวยอร์กไทมส์เกี่ยวกับการปฏิบัติของอูเบอร์ที่อาจอยู่ในข่ายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายด้วย ข้อถกเถียงโต้แย้งนี้ มีรายงานข่าวว่าเป็นการนำไปสู่การลาออกอย่างกะทันหันของผู้บริหารระดับสูงของอูเบอร์หลายคน เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
จะเห็นได้ว่าการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ จำเป็นต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์รวมถึงการคิดอย่างแตกต่างเพื่อที่จะเอาชนะข้อจำกัดที่มีอยู่ ซึ่งกฎระเบียบทางสังคมและกฎหมายก็มีความสำคัญสำหรับการตรวจสอบพฤติกรรมของทั้งคนและองค์กร อย่างไรก็ตาม แรงผลักดันกลับมีความเย้ายวนใจที่จะทำให้ก้าวข้ามสู่ข้อจำกัดได้มากกว่า การศึกษาในทางจิตวิทยาได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญในเรื่องนี้ กล่าวคือ พฤติกรรมและความคิดแบบกลับด้านที่ไม่เหมือนใคร มีแนวโน้มที่จะสร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ได้ดีกว่า
ถึงแม้ว่าการคิดค้นนวัตกรรมอาจจะเป็นการทำลายอย่างสร้างสรรค์ แต่การสร้างนวัตกรรมก็เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษยชาติ ซึ่งต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน
ที่มา:
1. http://sloanreview.mit.edu/article/which-rules-are-worth-breaking/
2. https://www.nytimes.com/2017/03/03/technology/uber-greyball-program-evade-authorities.html
Related posts
Tags: destruction, Innovation, Innovation Management, Strategic Management
Recent Comments