จากรายงาน 2017 Edelman Trust Barometer กล่าวถึงระดับความเชื่อมั่นในธุรกิจต่างๆ ซึ่งไม่แตกต่างจากภาครัฐเท่าใดนัก โดยในรายงานบทสรุปผู้บริหารพบว่าความเชื่อถือในประเภทขององค์กร 4 ประเภทมีแนวโน้มลดลง ได้แก่ รัฐบาล ภาคส่วนของธุรกิจ สื่อ และองค์กรเอ็นจีโอ ดังนั้น ความท้าทายก็คือจะทำให้ทั้งองค์กรต่างๆ ได้รับความเชื่อมั่นมากขึ้นและสร้างความยั่งยืนได้อย่างไร อันที่จริงแล้ว โครงการใหม่ๆ ในการพัฒนามาตรฐานสากลสำหรับภาครัฐเป็นสิ่งที่จะช่วยยกระดับความเชื่อมั่นและสร้างความยั่งยืนได้
ตัวอย่างข่าวการล้มละลายเมื่อหลายปีที่ผ่านมาของบริษัท เอ็นรอน บริษัทด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกา และข่าวภาวะเกือบล้มละลายของบริษัท เลห์แมนบราเธอร์ส์ สถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา สะท้อนภาพความเชื่อมั่นในธุรกิจอย่างเห็นได้ชัด
ในขณะที่กฎระเบียบและกฎหมายเป็นพื้นที่ฐานที่จำเป็น แต่ธรรมาภิบาลที่แท้จริงจะช่วยยกระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานในระยะยาวที่ก้าวล้ำไปมากกว่าเพียงเรื่องของกฎระเบียบและกฎหมายซึ่งทำให้เกิดความเชื่อถือและความมีประสิทธิผล
ในบริบทนี้ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของไอเอสโอที่เชี่ยวชาญเรื่องธรรมาภิบาล (ISO/TC 309) เพิ่งเปิดไฟเขียวให้พัฒนามาตรฐานแนวทางสากลของไอเอสโอที่ช่วยให้องค์กรจัดทำแนวปฏิบัติของธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งก้าวไปไกลมากกว่าการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงรวมถึงการมีส่วนร่วมในคุณค่าในระยะยาวโดยรวม
แอ็กเซล คราวัทสกี ผู้ประสานงานร่วมของกลุ่มงานที่กำลังพัฒนามาตรฐานดังกล่าวซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศตรินิแดดและโตเบโก (The Trinidad and Tobago Bureau of Standards: TTBS) ซึ่งเป็นสมาชิกของไอเอสโอจากประเทศตรินิแดดและโทเบโก กล่าวว่ามีมาตรฐานธรรมาภิบาลหลายมาตรฐาน ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถนำไปปรับใช้กับองค์กรได้ เช่นในเรื่องของการตัดสินคดี เป็นต้น เมื่อมีการเชื่อมโยงและการพึ่งพิงระหว่างกันมากขึ้น ความสำคัญในเรื่องธรรมาภิบาลจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานนี้จึงสามารถปิดช่องว่างด้านการมาตรฐานโดยยอมให้มีการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภูมิภาคต่างๆ หรือเพียงแค่เป็นธุรกิจขนาดเล็กซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อธรรมภิบาลที่ดีขึ้น
วิคตอเรียน เฮิร์ธ ผู้ประสานงานร่วมของกลุ่มงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศอังกฤษ (BSI) กล่าวว่าประโยชน์ของธรรมาภิบาลนั้นสามารถเห็นได้อย่างเด่นชัด กล่าวคือ สามารถลดความเสี่ยงของอะไรก็ตามที่จะทำให้องค์กรเสื่อมเสียชื่อเสียง องค์กรที่มีธรรมาภิบาลที่ดีจะได้รับความเชื่อถือและดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานด้วยซึ่งจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนสมรรถนะองค์กรและการลงทุน
มาตรฐานใหม่ดังกล่าวจึงมีศักยภาพที่จะเพิ่มจำนวนองค์กรที่มีความยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ที่หลากหลายสำหรับนักลงทุนและสังคมโดยรวม
สำหรับมาตรฐานแนวทางใหม่สำหรับธรรมาภิบาลขององค์กรมีกำหนดจะตีพิมพ์เผยแพร่ภายในปี 2563 (ค.ศ.2020)
ที่มา:
1. https://www.iso.org/news/ref2229.html
2. https://www.edelman.com/executive-summary/
Related posts
Tags: ISO, Standardization, Strategic Management
Recent Comments