เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิค หรือเอสแคป (The United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) แห่งองค์การสหประชาชาติ ร่วมกับหน่วยงานระดับภูมิภาคขององค์การสหประชาชาติอีก 4 หน่วยงาน ได้แก่ United Nations regional commissions for Africa (ECA), Europe (ECE), Latin America and Canberran (ECLAC) และ West Asia (ESCWA) ได้ร่วมกันออกรายงานระดับโลกฉบับที่ 2 ด้านการอำนวยความสะดวกการค้าและการทำการค้าแบบไร้เอกสาร
รายงานผลของการสำรวจด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการค้าแบบไร้เอกสารในประเทศต่างๆ 120 ประเทศทั่วโลก แสดงให้เห็นว่ามีค่าเฉลี่ยประมาณ 60%
การเปรียบเทียบอย่างต่อเนื่องและคงที่ระหว่างผลสำรวจครั้งแรกกับครั้งที่สองแสดงให้เห็นว่าในช่วงปี 2558 – 2560 (ค.ศ.2015 – 2017) ประเทศต่างๆ มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัววัดซึ่งครอบคลุมความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการค้า ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO Trade Facilitation Agreement: TFA) ซึ่งได้มีการบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งผลสำรวจในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิคทั้ง 44 ประเทศ ระบุว่าการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการค้าแบบไร้เอกสารมีอัตรา 50% ในปี 2560 ซึ่งเพิ่มขึ้น 5% จากปี 2558
Dr.Shamshad Akhtar เลขาธิการองค์การสหประชาชาติและเลขานุการของเอสแคป ซึ่งเป็นผู้นำการเตรียมทำรายงานดังกล่าว ระบุว่าประเทศในเอเชียและแปซิฟิคกำลังก้าวไปสู่การค้าที่มีความสะดวกมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน หลายประเทศในเอเชียและแปซิฟิคและภูมิภาคอื่นๆ ก็มีสาระสำคัญที่ต้องปรับปรุงเช่นกัน
ปฏิบัติการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะลดค่าใช้จ่ายทางการค้าลงเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับปรุงการแข่งขันด้านการส่งออกในช่วงที่โลกกำลังเกิดวิกฤติการเงินซึ่งมีการส่งเสริมการส่งออกเป็นลำดับแรกอีกด้วย
ในขณะที่บางประเทศมีผลลัพธ์ที่ดี ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ สาธารณรัฐเกาหลีและจีน ได้รักษาการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการค้าแบบไร้เอกสารไว้ได้ในอัตรามากกว่า 80% แต่ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ไม่ดีนักก็ไม่ได้เป็นประเทศที่มีการอำนวยความสะดวกทางการค้าอยู่ในระดับต่ำเสมอไป โดยรายงานดังกล่าวพบจุดเด่น คือมากกว่า 40 ประเทศที่มีจีดีพีน้อยกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา มีการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการค้าแบบไร้เอกสารในอัตรามากกว่า 50% ซึ่งเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการการค้าที่ใช้ระบบอัตโนมัติและการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศต่างๆ ซึ่งมีการใช้งานทั่วโลกประมาณ 33%
ดังนั้น รายงานขององค์การสหประชาชาติดังกล่าวจีงเรียกร้องให้มีการเพิ่มอย่างมีสาระสำคัญของการค้าไร้เอกสารในเอเชียและแปซิฟิคเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อปีที่แล้วที่เอสแคปได้มีการรับเอาข้อตกลงกรอบการค้าในด้านการอำนวยความสะดวกการค้าข้ามพรมแดนแบบไร้เอกสารในเอเชียและแปซิฟิคไปใช้ ซึ่งจะเป็นการเตรียมพื้นฐานสำหรับประเทศต่างๆ ให้มีความร่วมมือและกระตุ้นให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น เพื่อประโยชน์สุงสุดคือการสนับสนุนการแข่งขันของประเทศที่มีส่วนร่วมและทำให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากเศรษฐกิจดิจิตอล
ตอนนี้ สนธิสัญญาใหม่ขององค์การสหประชาชาติได้เปิดให้รัฐสมาขิกของเอสแคปทั้ง 53 ประเทศ/รัฐและกำลังจะมีการบังคับใช้ ให้สามารถเข้าถึงและร่วมให้สัตยาบันได้ ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติก็ได้กระตุ้นให้ประเทศที่กำลังเผชิญหน้ากับอุปสรรคทางการค้าได้ เข้าร่วมลงนามในสนธิสัญญาโดยเร็วเพื่อประโยชน์ทางการค้าร่วมกัน
ผลการสำรวจทั่วโลก นำโดยเอสแคป ได้ร่วมกันจัดทำขึ้นโดย United Nations Regional Commissions และคู่ค้าหลักรวมทั้งองค์กรชั้นนำของโลก ได้แก่ UNCTAD, ITC, OECD, ADB, ASEAN, the Eurasian Economic Commission และ the Oceania Customs Organization
ผู้สนใจรายงานดังกล่าว สามารถศึกษาได้จาก https://unnext.unescap.org/content/un-global-survey-trade-facilitation-and-paperless-trade-implementation-2017 และผู้สนใจผลของการสำรวจการลงทุนและการค้าเอเชียแปซิฟิค สามารถศึกษาได้จาก http://www.unescap.org/publications/APTIR2017
Related posts
Tags: Future Management, Future watch, Technology
Recent Comments