การคาดการณ์เหตุการณ์ต่างๆ ทั้งในธุรกิจและชีวิตประจำวันบนโลกนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ง่ายนัก อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ และหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็จะทำให้เกิดการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจหรือชีวิตประจำวันจนไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้ ซึ่งหากมีการวางแผนอย่างเหมาะสมด้วยการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจแล้ว ก็จะทำให้ธุรกิจมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดชะงักลง
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในอดีตที่ผ่านมา คือ ยุคมิลเลนเนียม ในปี พ.ศ.2543 (ค.ศ. 2000) เป็นปีที่จะก้าวไปสู่ศตวรรษที่ 21ซึ่งมีการทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปีนั้นไปต่างๆ นานา แต่มีคำกล่าวประโยคหนึ่งที่มีการกล่าวไว้และยังเป็นจริงอยู่จนถึงทุกวันนี้ ก็คือ “ไม่ว่าจะอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้ทำใจให้สงบและดำเนินทุกอย่างต่อไป” (Keep Calm and Carry On.)
คำกล่าวนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 2482 (ค.ศ.1939) ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่ระบบการจัดการจะเกิดขึ้น ซึ่งมีการสรุปถึงความสำคัญของความเพียรพยายาม ความอดทนและความใจเย็นเมื่อต้องเผชิญหน้ากับวิกฤต แต่แม้ว่าปัจจุบัน จะมีการจัดการกับความซับซ้อนของธุรกิจสมัยใหม่ ก็ยังมีความยากลำบากอยู่ดี
เจมส์ คราสค์ ผู้ประสานงานของกลุ่มทำงานด้านความยืดหยุ่นขององค์กร และประธานกลุ่มงานที่รับผิดชอบมาตรฐานไอเอสโอด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ และเป็นหัวหน้าความเสี่ยงขององค์กรการรื้อถอนนิวเคลียร์ของสหราชอาณาจักร (UK’s Nuclear Decommissioning Authority) ได้นำประสบการณ์จากงานในหน้าที่รวมทั้งงานด้านหน่วยดับเพลิงที่ลอนดอนมาใช้ในกระบวนการทำงานของไอเอสโอร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในมาตรฐาน ISO 22301 – Societal security – Business continuity management systems – Requirements
คำถามที่น่าสนใจคือ แล้วอะไรคือความแตกต่างระหว่างการบริหารความเสี่ยง การบริหารวิกฤต และความต่อเนื่องทางธุรกิจ เจมส์ คราสค์ กล่าวว่า ทั้งสามสิ่งนี้มีเป้าหมายร่วมกันในการจัดเตรียมในเรื่องการป้องกัน โดยการบริหารความเสี่ยงมีแนวโน้มที่จะมุ่งความสนใจไปที่ภัยคุกคามและโอกาสในขณะที่ความต่อเนื่องทางธุรกิจมีการจัดเตรียมแผนการฟื้นฟูที่สามารถใช้ในสถานการณ์ใดก็ได้เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติและเมื่อธุรกิจเกิดการหยุดชะงัก
มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางถึงแนวคิดที่มีการใช้มาหลายปี ซึ่ง ISO 22301 เป็นการสร้างแผนฟื้นฟูเพื่อให้สามารถพลิกฟื้นจากหายนะที่เกิดขึ้น เมื่อนำไปใช้กับการบริหารความเสี่ยง องค์กรจะมีระบบที่รัดกุมในการระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยเป้าหมายที่จะหลีกเลี่ยงหายนะก่อนที่มันจะเกิด สิ่งสำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการเกิดสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้วเป็นแห่งแรก และที่สำคัญที่สุด คือต้องมั่นใจว่าคนและสภาพแวดล้อมมีความปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว ธุรกิจจะต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงถึงกระบวนการในการระบุภัยคุกคามเพื่อความอยู่รอดโดยมีการประยุกต์กับผลิตภัณฑ์และบริการที่ธุรกิจนำเสนอด้วย หรืออีกความหมายหนึ่ง ความยืดหยุ่นเป็นสิ่งที่มากกว่าการต้านภัยน้ำท่วมหรือแผ่นดินไหว กล่าวคือ จะต้องมองไปยังสภาพแวดล้อมของธุรกิจและถามว่าเราพร้อมหรือยังที่จะสร้างอนาคต
หากมองย้อนกลับไป จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต มีแนวโน้มที่จะทำให้มองเห็นภาพที่อยู่เบื้องหน้าได้มากขึ้น เช่น เจ้าของร้านเช่าวิดีโอหรือผู้ผลิตกล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม แม้ว่าจะประสบปัญหากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แต่ก็สามารถค้นหาประโยชน์ได้จากแนวทางการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ เป็นต้น
มีคำถามหลายคำถามที่อยู่นอกเหนือขอบข่ายของมาตรฐาน ISO 22301 แต่ก็เข้าข่ายมาตรฐาน ISO 22316 มากกว่า คือเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยและความยืดหยุ่นขององค์กร (ISO 22316 – Security and resilience – Organizational resilience – Principles and attributes)
ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน ได้ประกาศว่ารัฐบาลกำลังมีแผนจะยุติการขายรถที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม หรือเมื่อเร็วๆ นี้ เกิดพายุเฮอร์ริเคนเออร์มาซึ่งเป็นพายุโซนร้อนที่รุนแรงที่สุดในรอบสิบปีที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งผลกระทบต่อธุรกิจในฮูสตันในสองสัปดาห์ต่อมากว่าสิบพันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องมีการเจรจากับบริษัทประกันภัยและบางบริษัทก็อาจถึงกับพบกับจุดจบได้ เป็นต้น
แต่เมื่อนำมาตรฐาน ISO 22301และ ISO 22316 มาใช้ด้วยกันแล้ว ก็จะเหมือนกระจกนูนที่อยู่ตามหัวมุมถนนซึ่งมันไม่สามารถช่วยทำนายอนาคตให้เราได้อย่างชัดเจนแต่ทำให้เราพอจะมองเห็นว่าอะไรกำลังจะเข้ามาหาเราและวางแผนสิ่งที่ต้องทำให้สอดคล้องกัน
ในกรณีของพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก ในปี 2560 มีความพยายามในการลดความสูญเสียของชีวิตโดยองค์กรในสหรัฐอเมริกา เช่น National Hurricane Center และthe Federal Emergency Management Agency (FEMA) ได้พัฒนารูปแบบการบริหารวิกฤตด้วยตนเองให้เหมาะสมเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงและฟื้นฟูความเสียหายจากหายนะในระดับชาติ ซึ่งหลายหลักการมีความคล้ายคลึงกับการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำในเวลาต่อมาคือการตัดสินใจ การวางแผน และความพยายามอย่างร้อบด้านเพื่อขอความช่วยเหลือจากโลกภายนอกให้ช่วยฟื้นฟูและสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ สิ่งนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการมองเห็นอนาคตเพื่อที่จะดำเนินการตอบสนองต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งหากไม่ตรวจสอบให้ดีแล้ว ก็อาจนำไปสู่เหตุการณ์ที่เลวร้ายยิ่งขึ้น
ความเข้าใจในแนวคิดดังกล่าวเกี่ยวกับการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจจะช่วยให้เราสามารถจัดการกับสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น แม้ว่าธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางอาจจะรู้สึกว่ามาตรฐานสากลได้รับการออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ก็ตาม แต่ความจริงแล้ว สามารถใช้กับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางได้ด้วย
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีประเด็นด้านความปลอดภัยอย่างอุตสาหกรรมการสกัดต่างๆ จะเก่งด้านกระบวนการ แต่อาจจะยังไม่เก่งในด้านไอที ดังนั้น ในการจัดการกับความเสี่ยงที่มีมากที่สุดสามารถทิ้งไว้ซึ่งปัญหาต่างๆ ได้ องค์กรที่มีความยืดหยุ่นจึงต้องมีมุมมองในด้านพฤติกรรมด้วย
ในภาพรวม ธุรกิจหรือองค์กรอาจตั้งคำถามว่าอะไรเป็นสิ่งที่มีความหมาย ธุรกิจและองค์กรสามารถเตรียมการที่ดีขึ้นเพื่ออนาคตและสิ่งที่ไม่คาดคิด ดูเหมือนว่าสูตรสำเร็จสำหรับความต่อเนื่องทางธุรกิจไม่ได้มีความซับซ้อน ขอเพียงแค่ทำใจให้สงบ และอย่าลืมนำมาตรฐาน ISO 22301 ไปใช้ด้วย
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2240.html
Related posts
Tags: BCM, ISO22301, Risk Management, Standardization, Strategic Management
ความเห็นล่าสุด