ในหลายพื้นที่ทั่วโลก ประชากรในชนบทและในเมืองจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับท่อน้ำทิ้งหลัก ในหลายกรณี นักวางแผนเมืองต้องทำงานอย่างหนักเพื่อทำให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านนี้ แต่สำหรับคนอีกนับล้านคนทั่วโลก ไม่มีทางเลือกเพราะต้องพึ่งพาระบบสุขาภิบาลที่ไม่มีท่อน้ำทิ้งซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยที่มากับน้ำ ด้วยเหตุนี้ ไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานจึงได้จัดทำร่างมาตรฐานเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว
มาตรฐาน ISO 30500 Non-sewered sanitation systems – Prefabricated integrated treatment units – General safety and performance requirements for design and testing เป็นมาตรฐานที่จัดเตรียมข้อกำหนดสมรรถนะความปลอดภัยทั่วไปสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์และการทดสอบสมรรถนะสำหรับระบบสุขาภิบาลท่อน้ำทิ้งเพื่อการบำบัดรวมซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบสุขาภิบาลที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับท่อน้ำทิ้ง
มาตรฐาน ISO 30500 ประกอบด้วยเกณฑ์ความปลอดภัย การทำหน้าที่ การใช้งาน ความเชื่อมั่นและการดูแลรักษาระบบสุขาภิบาลที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับท่อน้ำทิ้ง รวมทั้งความเข้ากับได้ของระบบกับเป้าหมายในการปกป้องสิ่งแวดล้อม แต่ไม่รวมถึงแนวทางการเลือก การติดตั้ง การปฏิบัติการและกระบวนการบำรุงรักษา หรือการจัดการระบบสุขาภิบาลที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับท่อน้ำทิ้ง
ระบบสุขาภิบาลที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับท่อน้ำทิ้งสามารถนำไปใช้ในสถานที่ต่างๆ ได้ทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งชุมชนในชนบทและในเมืองถึงแม้ว่าจะไม่มีการเข้าถึงของระบบท่อน้ำทิ้งและชุมชนเมืองที่ใช้การแก้ปัญหาการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน ซึ่งเหมาะกับการใช้งานที่มีการติดตั้งทั้งแบบชั่วคราวและถาวร รวมทั้งในค่ายผู้ลี้ภัยและสามารถนำไปใช้ได้กับทั้งสถานที่ที่อยู่ห่างไกลไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ของภาครัฐหรือเอกชน
การปรับปรุงระบบสาธารณสุขดังกล่าวนับว่าเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น จากข้อเท็จจริงที่ว่าของเสียของมนุษย์ประกอบด้วยเชื้อโรคจำนวนมาก อันเป็นที่อยู่ที่เหมาะสมของแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และเชื้อโรคอื่นๆ ของเสียของมนุษย์จึงจำเป็นต้องมีการบำบัดอย่างระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรือปัญหาต่อสุขภาพ การใช้ข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 30500 จะทำให้ช่วยปกป้องบุคคล ชุมชนและทรัพยากรอย่างน้ำดื่มให้ปลอดจากมลพิษรวมทั้งโรคระบาดได้
นอกจากนี้ การพัฒนาระบบการสุขาภิบาลยังส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งสามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยการลดการบริโภคทรัพยากรลง โดยเฉพาะการใช้น้ำ และการส่งเสริมการผลิตสิ่งที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตให้เกิดประโยชน์ เช่น สารอาหารที่มากับของแข็งและของเหลว น้ำที่ใช้ซ้ำ วัสดุของแหล่งกำเนิดเชื้อเพลิงและของที่มีการใช้ซ้ำซึ่งขึ้นอยู่กับระบบ
โดยทั่วไป มาตรฐานระหว่างประเทศนั้นเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้วยการลดของเสียและข้อผิดพลาด การเพิ่มผลผลิตและการอำนวยความสะดวกการค้าเสรีที่เป็นธรรม มาตรฐาน ISO 30500 เป็นการประกันว่าผู้ผลิตของระบบสุขาภิบาลที่ไม่ได้เชื่อมต่อท่อน้ำทิ้ง รัฐบาล ผู้ควบคุมกฎ และผู้ใช้งาน จะมีความปลอดภัย ได้รับความเชื่อมั่นในคุณภาพที่ดีของระบบ
มาตรฐานใหม่นี้สามารถจัดเตรียมพื้นฐานการพัฒนากฎระเบียบด้านระบบที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับท่อน้ำทิ้งทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ โดยมาตรฐานนี้แสดงถึงวิธีปฏิบัติที่ดีและสะท้อนความเห็นพ้องต้องกันของผู้ควบคุมกฎ ผู้ผลิตและผู้ใช้งานจากทั่วโลก ซึ่งทำให้มาตรฐานสากลเป็นแหล่งที่มีประโยชน์เมื่อมีการพัฒนากฎระเบียบและทำให้ผู้ควบคุมกฎได้รับประโยชน์จากความเห็นที่รัดกุมของผู้เชี่ยวชาญโดยไม่ต้องเรียกหาผู้ให้บริการโดยตรง แต่สามารถได้รับข้อมูลและประสบการณ์จากแหล่งที่ทันสมัยโดยตรง
สุดท้ายคือผู้ใช้ห้องน้ำในพื้นที่ที่ระบบการสุขาภิบาลไม่ได้เชื่อมต่อกับท่อน้ำทิ้ง จะได้รับประโยชน์มากที่สุด ข้อกำหนดของมาตรฐานดังกล่าวเป็นการขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมซึ่งหมายความว่าจะทำให้มีห้องน้ำที่ดีขึ้นซึ่งโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบประปาและไฟฟ้าอาจจะยังไม่สมบูรณ์ ในบ้านและชุมชนผู้ใช้ห้องน้ำ จะมีความมั่นใจในความปลอดภัยและสุขลักษณะที่ดีรวมทั้งปราศจากกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ และยังอาจได้รับผลพลอยได้เพื่อนำมาใช้ซ้ำในชุมชนด้วย
มาตรฐานดังกล่าวพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกจำนวน 31 ประเทศซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล ภาคการศึกษา และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยมีคณะกรรมการโครงการของไอเอสโอ ISO/PC 305 เป็นผู้ดำเนินการ ร่วมกับองค์กรน้ำแห่งแอฟริกัน (African Water Association: AfWA) และ the Toilet Board Coalition (TBC)
ไอเอสโอคาดว่ามาตรฐาน 30500 จะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ภายในปี 2561
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2245.html
Related posts
Tags: ISO, ISO30500, sanitation
Recent Comments