ในการประชุมวิชาการ UNFCCC COP23 ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี องค์กรสากลอย่างไอเอสโอและไอเอเอฟได้ส่งข่าวสารออกไปให้สาธารณชนรับรู้ว่า “มาตรฐานสากลสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการนำเอาวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติไปใช้งานได้”
COP23 ได้เริ่มเป้าหมายในการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานที่จะช่วยให้ข้อตกลงปารีสประสบความสำเร็จโดยประเทศต่างๆ จำนวนมากได้ให้สัตยาบันในการดำเนินงานตามกรอบดังกล่าว
เซอร์จิโอ มูจิก้า เลขาธิการไอเอสโอกล่าวว่าเหตุการณ์ที่ทำลายสภาพแวดล้อมของโลกทำให้เราต้องเร่งแก้ไขปัญหาในปัจจุบันและสร้างตัววัดที่เข้มข้นเพื่อปกป้องสังคมและโลกของเรา มาตรฐานสากลแบบสมัครใจที่ได้รับการพัฒนาด้วยความเห็นพ้องต้องกันของผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกนับว่าเป็นการแก้ไขปัญหาในเชิงปฏิบัติและส่งผลดีต่อชีวิตประจำวันของเราด้วย มาตรฐานสากลมีการจัดเตรียมแนวทางให้กับธุรกิจและองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในการสนับสนุนความพยายามในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
คริสทอฟ ประธานบริหารกรรมการของสถาบันแห่งชาติของประเทศเยอรมันซึ่งเป็นสมาชิกของไอเอสโอกล่าวว่า การปกป้องสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศโดยนำเรื่องของการมาตรฐานไปช่วยเป็นสิ่งที่ประเทศเยอรมันได้ยึดถือมาหลายปีแล้ว ยังมีข้อตกลงในระดับระหว่างประเทศที่การมาตรฐานถือเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
โครงการต่างๆ กำลังผลักดันเราไปข้างหน้าด้วยการโฟกัสไปที่ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงการยกระดับความตระหนักของคณะกรรมการมาตรฐานในเรื่องความจำเป็นในการปรับตัวอย่างเหมาะสมกับผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตัวอย่างของเรื่องนี้รวมถึงการประเมินที่มีความเปราะบาง การประเมินที่อ่อนไหวซึ่งต้องจัดการกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อองค์กร รวมทั้งประเด็นด้านการเงินของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การลงทุนและการเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ไอเอสโอกำลังพัฒนามาตรฐานกรอบการดำเนินงานใหม่ในระดับระหว่างประเทศที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติที่ไม่ได้มีสถานะเป็นรัฐสามารถเข้าร่วมประชุมและมีเป้าหมายที่เชื่อมโยงไปยังข้อตกลงปารีสได้ จากการประชุมร่วมของไอเอสโอและไอเอเอฟจะช่วยให้เน้นบทบาทของมาตรฐานใหม่เหล่านั้น รวมทั้งแนวทางระดับโลกในการมีแนวทางเดียวกันในด้านการรับรองระบบงาน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการยอมรับการทวนสอบระหว่างประเทศต่างๆ การสร้างความมั่นใจและการสร้างความเข้มแข็งให้กับการควบคุมดูแลและความโปร่งใสในกิจกรรมที่จะนำไปใช้ในอนาคต
ในงานดังกล่าว มีการเน้นไปที่มาตรฐานที่มืชื่อเสียง คือ ISO 14001, ISO 14065 (greenhouse gas validation and verification) และ ISO 50001 (energy management) มาตรฐานเหล่านี้จะช่วยเปิดตลาดโลกในด้านเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและพลังงานสะอาด รวมทั้งสนับสนุนโครงการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับใช้ต่างๆ
ปัจุบัน มาตรฐานไอเอสโอที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ได้แก่ ISO 14090 (Greenhouse gases – Framework for adaptation to climate change) ISO 14080 (Greenhouse gas management and related activities – Framework and principles for methodologies on climate actions) และ ISO 14097 (Framework and principles for assessing and reporting investments and financing activities related to climate change) ซึ่งเน้นในเรื่องการเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการส่งเสริมวิธีปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงหนึ่งในวิธีที่มาตรฐานสากลของไอเอสโอจะช่วยให้องค์กรเน้นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่สิ่งที่จะส่งเสริมให้การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนประสบความสำเร็จได้ คือความตั้งใจและความมุ่งมั่นขององค์กรทั่วโลกในการปฏิบัติตามแนวทางลดภาวะโลกร้อนร่วมกันอย่างจริงจัง
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2246.html
Related posts
Tags: Climate Change, COP21, COP23, Environment, Standardization
ความเห็นล่าสุด