จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญในการประชุมเมืองอัจฉริยะโลก (World Smart City Forum) เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ที่เมืองบาร์เซโลน่า อันเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมระดับโลกที่มีชื่อว่า Smart City Expo World Congress ระบุว่าการพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาของเมืองอัจฉริยะเป็นการให้ความสำคัญกับพลเมือง และการให้คุณค่าที่แท้จริงจะเป็นหัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จของเมืองอัจฉริยะในอนาคต
ในการเปิดประชุมเมืองอัจฉริยะ มาเรีย ลาสซาลล์ รุอิส เลขานุการด้านวาระดิจิตอลและสังคมสารสนเทศจากสเปนได้กล่าวถึงความสำคัญของการทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านการพัฒนาเมืองในอนาคต ซึ่งมีความเชื่อว่าข้อมูลและขั้นตอนวิธีอัลกอริทึมจะสามารถนำไปจัดการในโลกร่วมสมัยได้ แต่จะต้องมีการใช้เพื่อต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมกันและความยากจนในเมืองต่างๆ ด้วย ปัจจุบัน ได้มีความพยายามในการโฟกัสไปที่สภาพแวดล้อมและคนให้มีการประนีประนอมกัน ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของคนในรุ่นของเราเองที่จะต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นเป้าหมายที่ตอบสนองเรื่องเฉพาะบุคคลหรือเรื่องเฉพาะหน้า เมื่อมีเรื่องของดิจิตอลเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจะต้องมั่นใจในเรื่องจริยธรรมและเรื่องทางสังคม ซึ่งพลเมืองจะได้รับประโยชน์จากข้อมูลและขั้นตอนวิธีอัลกอรอทึ่มด้วย
การพัฒนาเมืองที่ให้ความสำคัญกับพลเมืองนั้น ได้มีการเน้นย้ำในคณะทำงานอื่นๆ หลายคณะและแขกรับเชิญที่มาบรรยายในแต่ละวัน ซึ่งมีการอภิปรายที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับวิธีการปรับปรุงปฏิบัติการดิจิตอลอย่างมีจริยธรรมในชีวิตประจำวันของคนในแต่ละเมือง ได้แก่ ระบบการขนส่งสาธารธณะที่มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นหรือการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
พอลเลียส คิวลิคาสคัส รักษาการหัวหน้าสำนักงานเพื่อสถาบันยุโรปและยุโรปได้กล่าวถึงการให้ความสำคัญกับพลเมืองในการเป็นศูนย์กลางซึ่งได้เน้นเรื่องของโอกาสที่จะทำให้เมืองมีการจัดการที่ดีและสมบูรณ์แบบอันเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน การพัฒนาเมืองเป็นขั้นตอนหลักซึ่งแสดงถึงวิธีการที่จะเข้าถึงทุกแง่มุมของชีวิตในยุคใหม่
เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา การอภิปรายประเด็นเรื่องความเป็นเมืองในบริบทขององค์การสหประชาชาติกำลังเกิดขึ้นในทุกที่ แต่บางหน่วยงานอาจจะยังเข้าไม่ถึง แต่ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ปัจจุบัน ทุกองค์กรเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ถ้าเราพูดถึงเรื่องของการอพยพ เราจะพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเมืองด้วย ถ้าเราพูดถึงเรื่องสุขภาพ เราจะพูดถึงเรื่องเมืองเช่นกัน การอภิปรายดังกล่าวในท้ายที่สุดจึงเข้าถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่างกันซึ่งเป็นประโยชน์มาก
ส่วนเรื่องเทคโนโลยีและมาตรฐานเป็นเครื่องมือบางอย่างที่สามารถทำให้สังคมเมืองและภาคเอกชนเกิดการเชื่อมต่อและทำงานด้วยกันในรูปแบบที่มีการพิจารณาเรื่องต่างๆ ร่วมกัน เพื่อเน้นในเรื่องความท้าทายและสามารถระบุถึงศักยภาพของเมือง
มุมมองดังกล่าวนี้ แอนดริว คอลลินจ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการของหน่วยงานการวิเคราะห์และสารสนเทศแห่งสถาบันเกรทเทอร์ลอนดอน ได้สะท้อนไว้เช่นกันว่า มาตรฐานสามารถช่วยให้เกิดสมดุลของความจำเป็นของเมืองและพลเมืองเพื่อช่วยสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรม
มาริจ์น ฟรานเจ หัวหน้าเจ้าหน้าที่สารสนเทศของเทศบาลเมืองเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์กล่าวว่า บทบาทของมาตรฐานในการสนับสนุนความร่วมมือและแบ่งปันทรัพยากรเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ จากผลของการไม่ใส่ใจในเรื่องของการโจมตีทางไซเบอร์ได้ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการเดินเรือทั่วโลก ฟรานเจอ้างถึงโครงการในประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งเมืองใหญ่ที่สุด 5 เมืองได้เน้นไปที่แง่มุมต่างๆ ของเมืองอัจฉริยะแล้วแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรกันรวมถึงเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์ การแบ่งปันทรัพยากรในแง่นี้ ทั้งเมืองและประเทศต่างๆ จะสามารถพึ่งพามาตรฐานและการแก้ไขปัญหาร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ได้จากการประชุมดังกล่าวรวมไปถึงความสำคัญของการทำให้ผู้นำของเมืองและเมืองต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับการพัฒนามาตรฐานเพื่อให้มั่นใจในแนวทางการแก้ไขปัญหาซึ่งพัฒนามาจากสถานการณ์เฉพาะและสะท้อนสิ่งที่ได้เกิดขึ้นจริง ดังนั้น ผู้เข้าร่วมการประชุมจึงให้ความสำคัญกับความต้องการของการมีส่วนร่วมของเมืองเข้าไปในกระบวนการพัฒนามาตรฐานซึ่งจะทำให้คุณค่าของมาตรฐานที่มีต่อเมืองต่างๆ มีความชัดเจนขึ้นและมั่นใจว่ากระบวนการพัฒนามาตรฐานสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
การประชุมเมืองอัจฉริยะโลกซึ่งจัดขึ้นโดยไออีซี (IEC: International Electrotechnical Commission) ไอเอสโอ (International Organization for Standardization) และไอทียู (ITU: International Telecommunication Union) ทำให้ผู้แทนจากเมืองต่างๆ ทั่วโลก องค์กรพัฒนามาตรฐาน กลุ่มอุตสาหกรรมและนักลงทุน ได้มาประชุมและพูดคุยเพื่อค้นหาความท้าทายหลักที่เมืองต้องเผชิญในปัจจุบัน และมาตรฐานก็ได้ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริง
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2247.html
Related posts
Tags: Energy, ISO, Standardization
ความเห็นล่าสุด