เชื้อไวรัสเวสต์ไนล์เป็นเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ ค้นพบเมื่อปี 2480 ปัจจุบันเกิดการระบาดมากขึ้นในแถบชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา และแพร่กระจายไปทั่วประเทศภายในเวลาไม่กี่ปี ทำให้มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก และยังแพร่กระจายไปยังนกกางเขน อีกา และนกชนิดอื่นๆ ด้วย
ปัจจุบัน มีการศึกษาใหม่พบว่าเชื้อไวรัสที่เกิดจากยุงอาจมาจากตัวช่วยที่ไม่คาดคิด ซึ่งก็คือ มลพิษทางแสง นกที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้เป็นสองท่าตราบเท่าที่มันยังเปิดรับแสงในตอนกลางคืน ทั้งนี้เป็นผลจากการศึกษามาเป็นเวลาหลายสัปดาห์และมีการนำเสนอในที่การประชุมประจำปีของสมาคม Society for Integrative and Comparative Biology
ผลงานดังกล่าวแสดงว่ามลพิษทางแสงไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันของคนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการทำให้เกิดโรคและการถ่ายทอดโรคบางอย่างด้วย ซึ่งเจนนี่ อูยัง นักสรีรศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเนวาด้าที่เรโน และเดอร์แลนด์ ฟิช นักระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยเยล ผู้ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการศึกษาดังกล่าว ต่างระบุว่าบางที การติดเชื้อในมนุษย์และสัตว์อื่นๆก็ได้รับผลกระทบมาจากแสง
เชื้อเวสต์ไนล์เกิดขึ้นครั้งแรกจากไวรัสในนก แต่บางครั้ง คนก็ติดเชื้อได้เพราะยุงที่ไปกัดนกแล้วมากัดกินเลือดจากคน การติดเชื้อในคนสามารถทำให้เกิดไข้ เจ็บปวดตามร่างกาย มีผื่นคัน ท้องเสีย เกิดความเหนื่อยล้าเป็นเวลายาวนาน และในบางกรณี เกิดการอักเสบของสมองและเนื้อเยื่อสมองด้วย ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตไปแล้วเกือบ 2,000 คนจากเชื้อนี้นับตั้งแต่เกิดการระบาด
เมอเรดิธ เคิร์นบาค จากมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริด้า แทมป้า กล่าวว่าเนื่องจากนกมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดโรคระบาดของไข้เวสต์ไนล์ สุขภาพของนกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ สำหรับแสงที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษในตอนกลางคืนนั้นเป็นที่รู้กันดีว่าจะเพิ่มระดับคอร์ติโคสตีรอยส์และฮอร์โมนความเครียดอื่นๆให้กับนกซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของมัน ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจที่จะติดตามดูว่าการใช้ชีวิตของนกในเมืองจะทำให้มันเกิดความอ่อนแอต่อการเกิดโรคหรือไม่
เมอเรดิธ เคิร์นบาคและเพื่อนร่วมงานได้ทดลองทำให้นกกระจอกบ้านจำนวน 50 ตัวติดเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ แล้วปล่อยแสงสลัวๆ ในตอนกลางคืนลงบนกรงนก ในขณะที่นกอีกครึ่งหนึ่งใช้ชีวิตตอนกลางคืนในความมืดสนิท ทีมได้เฝ้าสังเกตนกทั้งสองกลุ่มโดยดูอาการของโรค น้ำหนักตัว ระดับไวรัสในเลือด และระดับฮอร์โมนความเครียด
นกทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เจ็บป่วยภายในสองวันและครึ่งหนึ่งเสียชีวิต แต่นกที่เปิดรับแสงสลัวไม่ได้เจ็บป่วยมากขึ้น แต่กลับเกิดการติดเชื้ออย่างยาวนานมากขึ้น
การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าหลังจากสองวันโดยเฉลี่ย ระบบภูมิคุ้มกันของนกได้ทำการโจมตีการติดเชื้อไวรัสในระดับเดียวกับที่โจมตียุงโดยใช้เวลาไม่นานกว่าที่เกิดการติดเชื้อไวรัส นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มที่อยู่ในที่มืดตอนกลางคืน
แต่นกที่เปิดรับต่อแสง ความเข้มข้นของไวรัสยังคงสูงอยู่มากกว่าสองวัน ระยะเวลาติดเชื้อที่เพิ่มเป็นสองเท่านี้อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อในยุงเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วย ดังนั้น พวกเขาจึงคาดว่าการถ่ายทอดโรคน่าจะมีมากกว่าในชุมชนเมือง ทั้งในมนุษย์และนก
เมอเรดิธ เคิร์นบาคและเพื่อนร่วมงานของเธอคิดว่าแสงจะทำให้นกเกิดความเครียดและแสงอาจจะทำให้ภูมิต้านทานต่อเชื้อเวสต์ไนล์ต่ำลง แต่การทดสอบเลือดบ่งบอกว่านกไม่ได้มีความเครียดมากขึ้น ระบบการตอบสนองต่อความเครียดยังคงมีอยู่ เธอเลยสงสัยว่าแสดงอาจจะเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนตัวอื่นคือ เมลาโทนินซึ่งมีผลกระทบต่อการตอบสนองภูมิคุ้มกัน
อย่างไรก็ตาม มลพิษทางแสงก็เกิดขึ้นในชนบทเช่นกัน ดังนั้น จึงไม่ใช่แค่คนในเมืองเท่านั้นที่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อเวสต์ไนล์ แต่อาจส่งผลต่อคนทั่วไปมากกว่าที่เราคิด ซึ่งคลินตัน ฟรานซิส นักนิเวศวิทยาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียโพลีเทคนิคสเตท ซานหลยุส์โอบิสโป ก็เห็นด้วยว่าวิถีที่เรามีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมที่รู้สึกได้ ไม่ว่าจะแสงหรือเสียงอาจส่งผลตามมาอย่างไม่ตั้งใจก็ได้
Related posts
Tags: disease, Environment, Future Management, Future watch, virus
Recent Comments