ดร.เด็บบี้ แช็ปแมน นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กล่าวว่าสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของเราขึ้นอยู่กับทรัพยากรน้ำของโลก และผลตอบแทนของน้ำก็มีมูลค่ามากมายมหาศาล ดร.เด็บบี้ แช็ปแมน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาความสามารถเกี่ยวกับน้ำขององค์การสหประชาชาติ อธิบายถึงความสำคัญของการจัดการทรัพยากรน้ำในระดับโลกว่า น้ำเป็นหนึ่งในความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต เรามักจะได้ยินว่าเราควรดื่มน้ำวันละเท่าไร แต่เราไม่ค่อยได้ยินถึงน้ำปริมาณมากที่กำลังสูญเสียไป การขาดแคลนน้ำ หรือเราจะสามารถลดการใช้น้ำได้อย่างไร
ต่อไปนี้เป็นตัวเลขที่ดูน่าตกใจ น้ำดิบทั่วโลกมีเพียง 1% ที่คนสามารถเข้าถึงได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากกิจกรรมของมนุษย์ด้วย
ส่วนแนวคิดที่ว่าน้ำดิบเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนได้โดยสามารถทำให้ดีขึ้นด้วยการปรับปรุงคุณภาพน้ำนั้น ก็ยิ่งนำไปสู่การลดระดับของระบบนิเวศทางน้ำซึ่งสุขภาพของมนุษย์ ชีวิตความเป็นอยู่และการพัฒนาทรัพยากรน้ำจะต้องพึ่งพิงสิ่งเหล่านี้
การขาดแคลนน้ำดิบและการการเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำเกิดขึ้นท่ามกลางความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนในศตวรรษนี้ จากข้อมูลด้านน้ำขององค์การสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติมีกลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆ เพื่อจัดการกับปัญหาด้านการสุขาภิบาลและน้ำดิบ โดยพบว่าพื้นผิวโลกกำลังจะเผชิญหน้ากับการขาดแคลนน้ำภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) ยกเว้นเสียแต่ว่าโลกของเราจะสามารถปรับปรุงการจัดการน้ำให้ได้อย่างเร่งด่วนเสียแต่บัดนี้
ระบบติดตามสิ่งแวดล้อมของโลกสำหรับน้ำ (GEMS/Water) มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถบรรลุถึงเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติได้ (SDG6) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการติดตามและการเปรียบเทียบข้อมูลคุณภาพสำหรับใช้ในการประเมินระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก
ดร.เด็บบี้ แช็ปแมนกล่าวถึงความท้าทายที่สำคัญที่สุดของโลกดังต่อไปนี้ ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เขามีความสนใจในสิ่งแวดล้อมทางน้ำว่าจะมีการส่งมอบสิ่งที่ดีให้ในอนาคต มีบริการที่ประชากรโลกจะสามารถพึ่งพิงได้ในขณะที่ยังคงมีระบบนิเวศด้านน้ำที่ดีอยู่
บริการบางอย่างที่เราพึงพิงนั้นขึ้นอยู่กับน้ำดื่ม การดูดซับน้ำเสีย การประมงเพื่ออาหาร น้ำ อาหารเพื่อเกษตรกรรม และสันทนาการ บริการหลายอย่างเหล่านี้ขึ้นอยู่กับระบบนิเวศทางน้ำที่ดี และมีบางสิ่งที่บ่อยครั้งถูกมองข้ามไป
สิ่งมีชีวิตทั้งหมดรวมทั้งตัวเราเองมีน้ำเป็นองค์ประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อ เราจึงไม่เพียงแต่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอเพื่อรักษาเซลล์และเนื้อเยื่อเหล่านั้นเท่านั้น แต่จำเป็นมากที่น้ำจะต้องไม่ปนเปื้อนด้วยสารพิษ อย่างโลหะ หรือสารเคมีหรือสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์อื่นๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อม การปนเปื้อนของน้ำ แม้แต่ที่ระดับต่ำสุด ก็สามารถมีผลกระทบต่อวัตถุอินทรีย์ในน้ำได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสปีชีส์และความหนาแน่นของประชากร ซึ่งถึงที่สุดแล้ว หมายความว่าระบบนิเวศตามธรรมชาติจะเสียสมดุลและทรุดโทรมลงไป ในความคิดเห็นของดร.เด็บบี้ แช็ปแมน ความท้าทายด้านน้ำของโลกเช่นนี้ทำให้เชื่อได้ว่าว่าคุณภาพที่จำกัดของน้ำดิบที่เรามีอยู่บนโลกนี้จะทำให้น้ำต้องเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี คุณภาพที่โลกต้องการไม่เพียงเป็นการทำเพื่อประชากรโลกที่กำลังทวีจำนวนมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำเพื่อความต้องการด้านระบบนิเวศทางน้ำด้วย การทำให้น้ำมีปริมาณที่เพียงพอจะไม่สามารถช่วยให้อนาคตมีความยั่งยืนได้เลยถ้าน้ำนั้นมีไม่เพียงพอบนโลกของเรา และการติดตามคุณภาพน้ำก็เป็นสิ่งจำเป็นในการตอบสนองข้อกำหนดการใช้งานที่เจาะจง
ทรัพยากรน้ำจะมีการจัดการได้อย่างเหมาะสมได้ก็ต้องมีข้อมูลที่สร้างขึ้นจากคุณภาพน้ำที่มีการตรวจติดตาม โครงการเจมส์วอเตอร์ขององค์การสหประชาชาติได้กระตุ้นให้เกิดการติดตามคุณภาพน้ำมานานนับศตวรรษด้วยวัตถุประสงค์ของการแบ่งปันข้อมูลเพื่อการประเมิน การบริหารจัดการและการพัฒนานโยบายเกี่ยวกับน้ำ
กิจกรรมนี้ ปัจจุบันจึงเป็นแรงผลักดันให้กำหนดตัวชี้วัดเป้าหมายด้านความยั่งยืนสำหรับคุณภาพน้ำที่แวดล้อมตามตัวชี้วัดด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในข้อ 6.3.2 ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของผลลัพธ์ของการติดตามในแม่น้ำ ทะเลสาบ และน้ำใต้ดินในแต่ละประเทศ
แล้วมาตรฐานจะทำให้สามารถเอาชนะอุปสรรคและความท้าทายในเรื่องดังกล่าวได้อย่างไร ดร.เด็บบี้ แช็ปแมนกล่าวว่าการติดตามคุณภาพน้ำขึ้นอยู่กับการใช้วิธีการทางเทคนิคและห้องปฏิบัติการที่ดี การแบ่งปันข้อมูลคุณภาพน้ำในระดับภูมิภาคและในระดับโลกจำเป็นต้องมีข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันได้ หนึ่งในวิธีที่ทำให้มั่นใจในข้อมูลคุณภาพน้ำจากห้องปฏิบัติการทดสอบหลายๆ แห่งในประเทศต่างๆ คือการเปรียบเทียบเพื่อกระตุ้นให้ห้องปฏิบัติการทดสอบมีการแบ่งปันข้อมูลเพื่อใช้วิธีการที่เป็นมาตรฐาน
วิธีที่สื่อกันในมาตรฐานไอเอสโอเป็นวิธีที่เป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วโลก และมั่นใจได้ ซึ่งก็คือการทำให้ข้อมูลสามารถเปรียบเทียบกันได้ มีน้ำจำนวนหนึ่งที่ใช้ในการติดตามมาตรฐาน จากเทคนิคในพื้นที่ไปจนถึงการทดสอบในห้องปฏิบัติการทดสอบ ดังนั้น ทุกแง่มุมของโครงการที่มีการติดตาม สามารถทำให้เป็นมาตรฐานและเปรียบเทียบได้ แม้แต่ในการติดตามระดับโลก
ถ้ามองไปในอนาคต สิ่งที่เรากำลังทำในปี 2030 ในการเข้าถึงเป้าหมาย SDG6 เพื่อการจัดการน้ำที่ยั่งยืนนั้นเป็นอย่างไร มีความต้องการอะไรอีกหรือไม่ที่ต้องทำให้บรรลุเป้าหมาย แช็ปแมนกล่าวว่าโชคไม่ดีที่ปี 2030 กำลังใกล้เข้ามาแล้ว แม้ว่าเราจะมองเห็นหลักฐานของความพยายามในการมีส่วนร่วมในเป้าหมายการพัฒนาเพื่อน้ำอย่างยั่งยืนทั่วโลก หลายประเทศก็กำลังเริ่มจากการยอมรับขั้นพื้นฐานในเรื่องการบริหารจัดการแหล่งที่เป็นมลพิษและการติดตามผลกระทบของแหล่งคุณภาพน้ำ
ปัจจุบันมีความตระหนักถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์คุณภาพน้ำมากขึ้น รวมทั้งการปกป้องสุขภาพของมนุษย์ซึ่งเป็นปมปัญหาที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้กำหนดนโยบายและผู้จัดการทรัพยากรที่ต้องให้ความสำคัญกับการติดตามคุณภาพน้ำและระบบนิเวศทางน้ำ
สำหรับการศึกษา การฝึกอบรม และความตระหนักในการยกระดับคุณภาพน้ำทั้งหมดจากชุมชนไปจนถึงผู้กำหนดนโยบาย จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าในการบรรลุถึง SDG 6 และตัวชี้วัดในข้อ 6.3.2 ได้
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2259.html
Related posts
Tags: SDG 6, SDGs, wastewater, wastewater management, Water resources, Water Supply
ความเห็นล่าสุด