• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,582 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,081 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,417 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,303 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,005 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — มกราคม 24, 2018 8:00 am
เมืองอัจฉริยะ ใช้น้ำอย่างอัจฉริยะ ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 2690 reads
0
  

THE-FUTURE-OF-WATER-SUPPLY-SYSTEM-การพัฒนาเมือง การทำเกษตรประณีต (การเกษตรที่ต้องการผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ในอัตราสูงด้วยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย และต้องทำให้การปลูกพืชในปีหนึ่งๆ ได้หลายครั้ง โดยทำซ้ำในพื้นที่นั้นๆ หรือ intensive farming) และการอพยพหรือการเคลื่อนย้ายของประชากรที่เกิดขึ้นแทบทุกพื้นที่แม้แต่ที่ที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย ทำให้คนสามารถเข้าถึงและใช้น้ำ รวมทั้งนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำได้ ซึ่งมีส่วนทำให้พื้นที่ในเมืองเกิดวิกฤต และมาตรฐานไอเอสโอก็ได้เข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหานี้

คนจำนวนมากในโลกนี้ไม่มีแม้แต่น้ำหยดเดียวที่จะดื่ม ยังไม่ต้องพูดถึงน้ำที่ใช้สำหรับหุงหาอาหาร น้ำสำหรับชำระล้างหรือใช้เพาะปลูกพืชผล ซึ่งดูจะเป็นสิ่งที่ไม่เท่าเทียมกันบนโลกนี้   ทำให้องค์การสหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายที่  6 ในด้านน้ำสะอาดและการสุขาภิบาล

ภาพรวมที่โดดเด่นของเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal: SDG) เน้นไปที่ความสำคัญของน้ำต่ออนาคตของการพัฒนา เช่นเดียวกับคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอ 3 คณะที่ต้องจัดการกับเรื่องของน้ำในแง่มุมต่างๆ รวม 3 เรื่อง ได้แก่

  1. ISO/TC 147, Water quality
  2. ISO/TC 224, Service activities relating to drinking water supply systems and wastewater systems – Quality criteria of the service and performance indicators
  3. ISO/TC 282, Water reuse.

ปัจจุบัน งานของคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอเหล่านั้นมีการพัฒนามาตรฐานไปมากกว่า 80 เรื่องซึ่งมีเรื่องอื่นๆ ที่กว้างกว่าเรื่องของน้ำ รวมไปถึงการทำฟาร์ม การผลิตอาหาร ไปจนถึงเมืองอัจฉริยะ แต่ในบทความนี้ เราโฟกัสไปที่ประเด็นของการนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำว่าเราจะมีวิธีการของมาตรฐานสากลที่ให้แนวทางของการใช้น้ำที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์อย่างถูกต้องได้อย่างไร

อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ไขปัญหาก็ไม่ได้ชัดเจนเสมอไป ใครบางคนอาจจะคิดถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดว่าถ้ามีการนำทรัพยากรน้ำไปบำบัดจนมีความบริสุทธิ์มากๆ แล้ว ก็จะดีขึ้นเอง แต่นี่ไม่ใช่กรณีนั้น ซิลเลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำได้อธิบายถึงความต้องการในการใช้น้ำว่าแตกต่างจากการใช้งานตามวัตถุประสงค์อย่างไร  ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี เขาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานของไอเอสโอ ได้ทำงานกับคณะกรรมการวิชาการมามากกว่า 5 คณะและได้ประสานงานร่วมกับกลุ่มงานสื่อสารของไอเอสโอ ISO/TC 282 ด้วย

สิ่งแรกที่เขากล่าวกับวารสารไอเอสโอโฟกัสก็คือว่ามีคำพื้นฐานเพียง 2 คำเท่านั้นสำหรับการนำน้ำมาใช้ซ้ำ ซึ่งก็คือ การรวบรวม และการบำบัด ทั้งสองอย่างนี้จำเป็นต้องมีโครงสร้างการใช้งานที่เหมาะสมและมีค่าใช้จ่ายสูง ยิ่งต้องการทำให้น้ำสะอาดมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นเท่านั้น

นั่นหมายความว่าการวางแผนไปข้างหน้ามีความจำเป็นยิ่ง เพราะน้ำจะต้องไม่มีการปนเปื้อนตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเก็บรวบรวม เช่น น้ำที่ใช้กันตามบ้านเวลาอาบน้ำก็จะมีความสะอาดกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมหรือน้ำทิ้งของชักโครก

น้ำที่จะนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมเช่น ทำความเย็น ไม่จำเป็นต้องมีการบำบัดในระดับเดียวกับน้ำดื่ม และในการบำบัด จะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากร  บางครั้ง จึงจำเป็นต้องให้อุตสาหกรรมทำการบำบัดน้ำใช้เพื่อที่จะกำจัดองค์ประกอบที่เป็นอันตรายก่อนที่จะปล่อยลงสู่ระบบน้ำ

ซิลเลย์มองว่ามาตรฐานสากลเป็นแนวทางที่ชัดเจนที่ช่วยให้นักวางแผนเมืองและชุมชนพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะกับชุมชน ไอเอสโอได้นำเอาทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล ผู้ผลิต บริษัทประกัน หรือองค์กรที่ทำหน้าที่ด้านการพัฒนา เข้ามาร่วมกันพัฒนามาตรฐาน จึงเกิดความเข้าใจร่วมกันในการสร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด

ซิลเลย์ใช้ชีวิตและทำงานอยู่ในประเทศแคนาดา แม้ว่าเขาจะศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาและโดยพื้นเพแล้ว มาจากประเทศปากีสถาน แต่มุมมองของเขาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของไอเอสโอนั้น อยู่บนพื้นฐานของความเห็นพ้องต้องกัน นับว่าเป็นเรื่องที่ดีและเขาเน้นในเรื่องความจำเป็นอย่างต่อเนื่องในการทำให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนาจะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐาน เพื่อที่จะสร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิผล เขาชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการจัดการ  เช่น การทำงานร่วมกัน ซึ่งที่ปรึกษาของประเทศสมาชิกไอเอสโอสนับสนุนประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาให้เข้ามาช่วยกันสร้างมาตรฐานร่วมกัน นี่คือส่วนหนึ่งของงานของไอเอสโอที่จะสร้างสมรรถนะให้ดีขึ้น

ซิลเลย์กล่าวเสริมว่า การมาตรฐานระหว่างประเทศที่มีประสิทธิผลสามารถทำให้เกิดความสะดวกด้วยการ “มีความตระหนัก การปรึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา”  เป็นที่ชัดเจนว่าบทบาทของซิลเลย์ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มการสื่อสารนั้นมีความสำคัญและเป็นส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ

ข้อเท็จจริงที่ว่าสองในสามของโลกเราปกคลุมด้วยน้ำแสดงให้เห็นถึงปริศนาที่น่าสงสัย น้ำดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ดื่มได้ แต่เราก็ไม่อาจดื่มได้หรือใช้ในการเกษตรได้ยกเว้นแต่ว่าจะมีตัวช่วยอย่างการทำให้น้ำทะเลกลายเป็นน้ำจืด

ความท้าทายของการกลั่นน้ำทะเลได้ดึงดูดคนรุ่นใหม่ๆ เข้าไปทำงานเป็นวิศวกร เทคโนโลยีได้ขับเคลื่อนให้เราใกล้ชิดกันมากยิ่งกว่าเดิม แต่สถานะปัจจุบันของความสัมพันธ์ แม้แต่ในวงกว้าง จะมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูง

ในเชิงประวัติศาสตร์แล้ว เมืองหลักๆ ของโลกส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ประโยชน์ของมันมีมากกว่าเรื่องของการขนส่งและการประมง แม่น้ำที่อยู่ใจกลางเมืองถือเป็นจุดกำเนิดของน้ำที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  และเมื่อมีการขนส่งสินค้าและผู้คน แม่น้ำก็ยิ่งมีการใช้เพื่อเป็นแหล่งน้ำและเกิดของเสียจากการขนส่งมากขึ้น แต่เมืองใหม่ๆ ที่เติบโตขึ้นในบริเวณที่น้ำหายาก จะเป็นอย่างไร

คำตอบคือการใช้น้ำอย่างชาญฉลาด ตอบโจทย์ได้ด้วยเมืองอัจฉริยะ  สถานที่ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่าและเป็นประเทศที่น่าหลงใหลอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมาก และยังเป็นหนึ่งในเมืองที่มีอัตราการเติบโตของประชากรสูงที่สุดในโลกด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการหลั่งไหลของผู้คนที่เข้ามาทำงานและความต้องการในการใช้ชีวิตอย่างหรูหรา

อันที่จริงแล้ว ซิลเลย์ได้ทำงานที่เมืองอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มามากกว่า 20 ปี ซึ่งมีส่วนสำคัญสำหรับหนึ่งในระบบรีไซเคิลน้ำแลระบบบำบัดน้ำทิ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลกในตะวันออกกลาง ซึ่งมีความยาวมากกว่า 40 กิโลเมตรและมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.5 มิลลิเมตร ซึ่งอุโมงมีความพิเศษที่ทันสมัยในด้านวิศวกรรมเป็นอย่างมาก ในประเทศที่อยู่แถบนั้น น้ำเป็นสิ่งที่หาได้ยากและหลักๆ แล้วจะมาจากโรงงานผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล มีการนำน้ำมาใช้ซ้ำอย่างชาญฉลาด อีกทั้งยังมีความตระหนักจากสาธารณชนในการใช้น้ำอย่างประหยัดด้วย อาบูดาบีจึงกลายเป็นเมืองที่มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ซิลเลย์ให้มุมมองบางอย่างในการลดการใช้น้ำคือ ตัวอย่างเช่น ผู้อยู่อาศัยยังคงใช้น้ำมากเป็นสองเท่าของที่ใช้ในเมืองหลักๆ ในประเทศแคนาดา แต่ว่าเมื่อมีการนำมาใช้ซ้ำ ภูมิภาคนี้จึงมีบันทึกการติดตามผลที่ดี เมืองที่ได้รับรางวัลเหรียญทองคือเทลอวิฟ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าน้ำ 90% มีการนำไปใช้ซ้ำสำหรับทุกๆ สิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานด้านเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม แต่ประมาณ 85% ของน้ำนั้น เมืองอาบูดาบียังห่างไกลอยู่ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการลงทุนหลายพันล้านเหรียญและเป็นการลงทุนในเชิงกลยุทธ์

ไอเอสโอจะดำเนินการเพื่อให้บรรลุ SDG 6 อย่างไรต่อไป โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2257.html



Related posts

  • ไอเอสโอร่วมสร้างอนาคตของการพิมพ์สามมิติไอเอสโอร่วมสร้างอนาคตของการพิมพ์สามมิติ
  • ไอเอสโอปรับปรุงมาตรฐานด้านการแพทย์ “IDMP”ไอเอสโอปรับปรุงมาตรฐานด้านการแพทย์ “IDMP”
  • ไอเอสโอสนับสนุนวันต่อต้านคอร์รัปชันสากลไอเอสโอสนับสนุนวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล
  • สตาร์ทอัพดาวรุ่งในออสเตรียกับการมาตรฐานสตาร์ทอัพดาวรุ่งในออสเตรียกับการมาตรฐาน
  • ปกป้ององค์กรด้วย ISO/IEC 27001 ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุดปกป้ององค์กรด้วย ISO/IEC 27001 ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด

Tags: wastewater, wastewater management, water

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑