• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,512 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — January 29, 2018 8:00 am
เมืองอัจฉริยะ ใช้น้ำอย่างอัจฉริยะ ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 2379 reads
0
  

THE-FUTURE-OF-WATER-SUPPLY-SYSTEM--2บทความเรื่อง เมืองอัจริยะ ใช้น้ำอย่างอัจฉริยะ ตอนที่ 1  ได้กล่าวถึงภาพรวมของเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal: SDG) ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอ 3 คณะ ได้ทำการพัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับน้ำในแง่มุมของคุณภาพน้ำ เกณฑ์คุณภาพของตัวชี้วัดและสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำดื่มและระบบน้ำเสีย และการนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ  นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนามาตรฐานที่กว้างกว่าเรื่องของน้ำ เช่น การทำฟาร์ม การผลิตอาหาร ไปจนถึงเมืองอัจฉริยะ รวมกว่า 80 เรื่อง

ในตอนที่แล้ว ซิลเลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำได้อธิบายถึงความต้องการในการใช้น้ำและเน้นในเรื่องการนำน้ำมาใช้ซ้ำ ซึ่งต้องมีการรวบรวม และการบำบัด  สำหรับบทความในครั้งนี้ ซิลเลย์จะกล่าวถึงเรื่องของการนำน้ำมาใช้ซ้ำสำหรับเมืองอัจฉริยะซึ่งจะมีส่วนทำให้โลกของเราสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนตาม SDG 6 ต่อไป

ซิลเลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ กล่าวว่าที่เมืองดูใบ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าติดตาม วิดีโอออนไลน์แสดงให้เห็นแท้งค์นับพันที่จ่อคิวรอเข้าโรงงานบำบัดน้ำเสียทางไกล ในบางกรณี คนขับรถบรรทุกอาจรู้สึกหงุดหงิดกับรถติด และอาจเผลอเรอนำน้ำดิบที่ใช้งานไม่ได้แล้วแต่เป็นอันตรายทิ้งลงไปในท่อน้ำทิ้งหรือทิ้งลงพื้นดินไปซึ่งทำลายน้ำในดินและเป็นมลพิษทางน้ำหรือไหลไปสู่ทะเลได้  สถานการณ์เร่งด่วนแบบนี้ โรคที่เกิดขึ้นจากน้ำเสียจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพและประมาณ 70%  ของน้ำเสียในเมืองก็ไหลกลับไปยังพื้นที่หลักอีก  การบำบัดและการบรรจุน้ำที่ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเมืองยังมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วเช่นนี้

สิ่งที่ท้าทายก็คือ วิธีการจัดการกับน้ำในเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็วนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในประเทศที่อยู่ในอ่าวเปอร์เซียเท่านั้น (บาห์เรน อิรัค คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอารเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เพียงแต่ประเทศเหล่านี้ถูกบังคับให้ต้องจัดการกับน้ำอย่างเร่งด่วนมากกว่าประเทศอื่นเนื่องจากไม่ได้มีทรัพยากรน้ำมากเหมือนประเทศอื่นๆ  ประเทศในอ่าวเปอร์เซียจึงได้ตอบสนองแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำในระดับโลกได้  แล้วประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกก็อาศัยอยู่ในเมืองเสียด้วย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 70% ภายใน 30 ปีข้างหน้า  ซึ่งถ้าวางแผนกันอย่างดีแล้ว เมืองที่มีศักยภาพ จะเกิดความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยสามารถทำให้ประชากรอยู่ร่วมกันได้ด้วยการสร้างและการใช้ทรัพยากรที่ดีที่สุด มีการกระจายทรัพยากรต่างๆ ออกไปอย่างมีประสิทธิผลและได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจในวงกว้างซึ่งทำให้ชีวิตประจำวันมีความสะดวกและมีระบบนิเวศที่ดีขึ้นด้วย

ส่วนอนาคตจะเป็นอย่างไรนั้นอยู่ที่ความเชื่อมโยง หมายความว่าผู้บริหารจัดการเมืองต้องทำความเข้าใจอุปนิสัยของพลเมือง การเปลี่ยนแปลงการกระจายทางประชากรศาสตร์ ความจำเป็นในการเดินทาง และรูปแบบการใช้ทรัพยากร รวมทั้งสาธารณูปโภคอย่างเช่นน้ำ ซึ่งจะทำให้ประชากรสามารถได้รับการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคยเป็นมา

“เมืองอัจฉริยะ” ซึ่งเป็นหัวข้อที่วันมาตรฐานโลกเมื่อปีที่แล้วให้ความสำคัญ  เป็นการสะท้อนถึงบทบาทของไอเอสโอที่ได้พัฒนามาตรฐานร่วมกันเพื่อเน้นในแง่มุมวิธีการทั้งหมดที่เหมาะสมกับประชากรในเมืองทั้ง 7 พันล้านคนซึ่งมีความโดดเด่นมากกว่าที่เคยเป็นมา

การจัดการเรื่องน้ำเป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของเกลือซึ่งก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับการปลูกพืชผลและการทำปศุสัตว์ นี่คือเหตุผลว่าทำไมความท้าทายที่มีนัยสำคัญต่อการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนจึงเน้นในเรื่องน้ำที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ

ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากการเพาะปลูกที่ได้ผลดี  ปรากฏว่าน้ำและการจัดการน้ำที่ไม่เหมาะสมได้ทำให้เกิดสิ่งดีๆ ซึ่งทำให้มีพื้นที่เพาะปลูกขยายออกไปแล้วมนุษย์เราก็ต้องวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและมีการทำชลประทานแบบแม่นยำ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการน้ำได้  ซึ่งส่วนสำคัญของการแก้ไขปัญหาทั้งหมดก็คือ มีการวางแผนอย่างมีเหตุมีผล การทำชลประทานแบบแม่นยำ  และการใช้น้ำที่มีประสิทธิภาพ

น้ำไม่เหมือนกับพลังงานอื่น น้ำสามารถสร้างขึ้นได้และทำลายลงได้ (บางที เราอาจจำได้ถึงการทดลองง่ายๆ สมัยเป็นนักเรียนซึ่งใช้แบตเตอร์รี่แตะเข้ากับขั้วไฟฟ้าทั้งสองที่จุ่มลงในแก้วน้ำ ในทำนองเดียวกัน การเผาไฮโดรคาร์บอนทำให้เกิดน้ำ)  แต่นอกห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์แล้ว น้ำสามารถได้รับการบำบัดให้กลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าได้

ต้องขอบคุณผู้เชี่ยวชาญไอเอสโออย่างซิลเลย์และมาตรฐานระหว่างประเทศกว่า 315 ฉบับที่กำหนดตัวชี้วัดสำหรับน้ำที่ปลอดภัย การใช้งานที่ประสิทธิภาพ การรวบรวม และการบำบัด

การใช้น้ำจึงกลายเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ทั่วโลก และช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน F

นอกจากนี้ การเข้าถึงน้ำที่เท่าเทียมกันจะนำมาซึ่งประโยชน์ที่เห็นได้ชัดทันทีสำหรับคนเกือบสองพันล้านคนที่อาจดื่มน้ำที่มีสารอื่นเจือปนทุกวัน และยังเป็นพื้นฐานที่ดีที่ทำให้ทั่วโลกเกิดความตระหนักและเร่งดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2257.html



Related posts

  • สุขภาพแข็งแรง ชุมชนเข้มแข็งด้วยมาตรฐานไอเอสโอ ตอนที่ 3สุขภาพแข็งแรง ชุมชนเข้มแข็งด้วยมาตรฐานไอเอสโอ ตอนที่ 3
  • มาตรฐานไอเอสโอช่วยปกป้องความเสี่ยงภัยจากไซเบอร์ ตอนที่ 1มาตรฐานไอเอสโอช่วยปกป้องความเสี่ยงภัยจากไซเบอร์ ตอนที่ 1
  • ไอเอสโอจัดทำมาตรฐานแนวทางบำบัดน้ำเสียในโครงการชลประทานไอเอสโอจัดทำมาตรฐานแนวทางบำบัดน้ำเสียในโครงการชลประทาน
  • ส่องเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคต “โตเกียวและกรุงเทพฯ”ส่องเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคต “โตเกียวและกรุงเทพฯ”
  • มุ่งสู่ความยั่งยืนด้วย Net Zeroมุ่งสู่ความยั่งยืนด้วย Net Zero

Tags: wastewater, wastewater management, water, Water Supply

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑