บทความเรื่อง แนะนำมาตรฐานใหม่ ISO 24516 ตอนที่ 1 กล่าวถึงความสำคัญของคุณภาพของระบบน้ำดื่มและระบบน้ำเสียซึ่งชุดมาตรฐาน ISO 24516 – Guidelines for the management of assets of water supply and wastewater systems เป็นมาตรฐานที่มีบทบาทในเรื่องดังกล่าว และเป้าหมายที่ 6 ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติก็มีความสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย โดยตั้งเป้าหมายว่าจะทำให้มีการเข้าถึงน้ำและการสุขาภิบาลอย่างทั่วถึงทั้งโลกภายในปี 2573 (ค.ศ.2030)
สำหรับบทความในตอนนี้ บรูโน ทิสเซอรองด์ ประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 224 ที่ดูแลเรื่องของระบบน้ำดื่มและระบบน้ำเสีย จะกล่าวถึงบทบาทของไอเอสโอในการส่งเสริมวิธีปฏิบัติที่ดีในด้านธรรมาภิบาลและบริการเกี่ยวกับน้ำ
เขาอธิบายว่ามาตรฐาน 3 เรื่องแรก (ISO 9696 – Water Quality, ISO 24511 และ ISO 24512 – Activities relating to drinking water and wastewater services) ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2550 (ค.ศ.2007) ได้มีการเน้นในเรื่องหลักการทั้งหมดและวิธีปฏิบัติที่ดีในเรื่องน้ำและปฏิบัติการบริการเกี่ยวกับน้ำเสีย ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้กับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นบริการระดับสูงที่มีอยู่แล้วหรือบริการที่ยังไม่เคยมีมาก่อน มาตรฐานดังกล่าวจะช่วยสร้างกลยุทธ์การจัดการด้านทรัพย์สินรวมทั้งกระบวนการตัดสินใจและเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อรักษาโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวด้วยค่าใช้จ่ายในราคาที่สามารถจ่ายได้มากที่สุด
ทิสเซอรองด์ ในฐานะผู้อำนวยการโครงการวิจัยของเมืองที่วิโอเลียซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติที่ออกแบบและจัดเตรียมแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการด้านน้ำ ของเสีย และพลังงาน ได้ตระหนักเป็นอย่างดีถึงความกดดันในเรื่องระบบน้ำเสียจาการที่เมืองกำลังเจริญเติบโตขึ้น
เมืองที่ใหญ่กว่าจะมีความไวต่อผลกระทบหลักๆ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2 ประการ ได้แก่ การขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้ง และการมีน้ำมากเกินไปหรือภัยน้ำท่วม
เมื่อปีที่แล้ว เกิดพายุเฮอร์ริเคนในสหรัฐอเมริกา และศูนย์การบำบัดน้ำเสียในฟลอริด้าและเท็กซัสเกิดน้ำท่วม หลังพายุเฮอร์ริเคนเออร์มา สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่ามีน้ำเสียกว่าห้าแกลลอนท่วมเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบอร์กและออร์ลันโด และยังมีอีกหกแสนแกลลอนที่ไหลเข้าไปท่วมชายฝั่งคีย์บิสเคน
ทิสเซอรองด์ชี้ให้เห็นว่ามีคนจำนวนมากขึ้นที่อาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล และอาจจะอาศัยอยู่ในที่ที่น้ำดิบหาได้ยาก นี่คือเรื่องที่ท้าทายเพิ่มขึ้นในประเทศต่างๆ ซึ่งมีระดับน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นและกลายเป็นปัญหาใหญ่ ทำให้น้ำเค็มไหลเข้ามาสู่การบำบัดน้ำเสียในท่อน้ำทิ้งและทำให้ระบบบำบัดมีความซับซ้อนมากขึ้น
วิโอเลียได้นำเอาแนวทางของนวัตกรรมแบบเปิดมาช่วยค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตัวอย่างเช่นด้วยการสนับสนุนสตาร์ทอัพในด้านที่ยังมีน้ำประปาจำกัด ในประเทศเม็กซิโก มีสตาร์ทอัพรายหนึ่งกำลังทำงานเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีที่ช่วยฟื้นฟูน้ำเสีย และสร้างผลประโยชน์ให้กับเทศบาลท้องถิ่นรวมทั้งเมืองวิโอเลียด้วย
แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าในเรื่องของเทคโนโลยีเกี่ยวกับน้ำ บริการน้ำจำนวนมากก็ยังต้องคอยแก้ไขและจัดการกับความกดดันสมัยใหม่ ดันแคน เอลลิสัน อดีตผู้อำนวยการบริหารของสมาคมน้ำเสียและน้ำของประเทศแคนาดาและเป็นผู้เข้าร่วมในคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 224 ได้กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา 2 ประการ คือ ประการแรก การทำให้ผู้ผลิตเชื่อมั่นในการที่จะระบุว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้น คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพมีความคล้ายคลึงกับกระดาษในห้องน้ำในส่วนที่เกี่ยวกับการแบ่งประเภททางกายภาพของผลิตภัณฑ์กับการย่อยสลายทางชีวภาพที่อยู่ภายใต้การขนส่งน้ำเสียและระบบบำบัด ประการที่สอง การทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยได้อย่างเต็มที่
เขากล่าวว่าจากการทดสอบ ทำให้พบว่าผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่สามารถกดทิ้งลงไปในชักโครกได้ไม่เกิดการย่อยสลายทางกายภาพในสภาพแวดล้อมที่มีเครื่องจักรและไฮดรอลิกของระบบขนส่งน้ำเสียและไม่ย่อยสลายในสภาพแวดล้อมของการบำบัดน้ำเสียด้วย ดังนั้น จึงมีการรวบรวมผ่านระบบขนส่งหรือผ่านไปยังระบบบำบัดต่อไป
เอลลิสันกล่าวว่าคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 224 กลุ่มงาน WG12 กำลังค้นหาการกำหนดเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม เครื่องจักร และไฮดรอลิกเพื่อช่วยนำทางให้ผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนในการทำให้เกิดการอุดตันหรือเพื่อปล่อยไฟเบอร์ที่ไม่ย่อยสลายเข้าไปในแหล่งน้ำ และถ้าทำสำเร็จ ในอนาคต จะช่วยกำจัดผลิตภัณฑ์ที่ไม่รู้ที่มาที่ไปได้ และยิ่งไปกว่านั้นมาตรฐาน ISO/TC 224 ยังช่วยจัดการกับประเด็นปัญหาของบริการน้ำเสียและน้ำให้มีการปรับปรุงการจัดการและประสิทธิภาพให้ดีขึ้นด้วย
อัฟริกาเป็นภูมิภาคหนึ่งที่มีการจัดการกับประเด็นปัญหาการเติบโตของประชากรที่รวดเร็วและการขยายเมืองที่รวดเร็วรวมทั้งผลกระทบในระบบน้ำเสีย
ซิลเวน อัชเชอร์ ผู้อำนวยการบริหารของสมาคมน้ำอัฟริกา ผู้เข้าร่วมในคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอ ISO/TC 224 กล่าวว่าความท้าทายอย่างหนึ่งก็คือการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับอัฟริกาเช่นเดียวกับการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการเอกชนรายใหม่ในการจัดการระบบสุขาภิบาล
อีกความท้าทายหนึ่งก็คือการยกระดับความตระหนักของนักการเงินให้มีความเข้าใจว่าน้ำเสียและตะกอนอาจเป็นแหล่งทำเงิน ได้ จะเห็นได้จากรายงานการพัฒนาน้ำของโลกที่องค์การสหประชาชาติได้ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ซึ่งกล่าวว่าน้ำเสียจากบ้าน อุตสาหกรรม และเกษตรกรรมควรมีการมองว่าเป็นแหล่งที่มีคุณค่าที่ช่วยให้ตอบสนองการเติบโตของประชากรโลก
ริชาร์ด โอคอนเนอร์ หัวหน้าบรรณาธิการณ์ของรายงานกล่าวว่าน้ำเสียประกอบด้วยสารอาหารอย่างฟอสฟอรัสและไนเตรทที่สามารถเปลี่ยนให้กลายเป็นปุ๋ยได้ ยิ่งไปกว่านั้น ตะกอนที่บำบัดแล้วก็สามารถเปลี่ยนให้เป็นไบโอแก๊สที่สามารถให้พลังงานแก่โรงงานบำบัดน้ำเสียได้
ดังนั้น สิ่งที่ท้าทายก็คือการเปลี่ยนสิ่งที่เป็นอุปสรรคทางกายภาพอย่างน้ำเสียให้กลายเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ซ้ำหรือทำขึ้นมาใหม่ได้ในอัฟริกา ในระหว่างนั้น เขากล่าวว่าเราต้องการการพัฒนาเชิงลึกและกว้างขึ้นในด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสุขาภิบาลในพื้นที่ปฏิบัติงาน และมาตรฐานไอเอสโอกำลังช่วยให้ก้าวไปในทางนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแนวทางของผู้มีอำนาจดำเนินการในท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการบรรลุเป้าหมายที่ 6 ในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติต่อไป
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2260.html
Related posts
Tags: ISO, ISO245, wastewater, water, Water Supply
Recent Comments