หนึ่งในสิ่งที่เป็นอันตรายมากที่สุดบนโลกของเราและอยู่ติดอันดับต้นๆ ก็คือการสุขาภิบาลที่ไม่เหมาะสม บางกรณีก็ทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ทันที อีกทั้งยังก่อให้เกิดมลพิษทั้งในเมืองและในชนบทด้วย ดังนั้น ไอเอสโอจะช่วยส่งมอบการสุขาภิบาลที่ยั่งยืนให้กับคนทั่วโลกที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานทั้ง 2.3 พันล้านคนได้อย่างไร
องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ เพิ่มการลงทุนให้ทั่วถึงทุกกลุ่มในโครงสร้างของการสุขาภิบาลและน้ำ ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องประชากรจากโรคที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตเท่านั้น แต่ยังทำให้มั่นใจว่าประเทศต่างๆ จะสามารถบรรลุถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย (Sustainable Development Goal: SDGs) ซึ่งเป้าหมายที่ 6 ของ SDG มีเป้าหมายในการทำให้มั่นใจถึงการบริหารจัดการที่ยั่งยืนและสามารถหาได้ในเรื่องน้ำและสุขาภิบาลทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นเป้าหมายที่รัดกุมที่จะทำให้สามารถเข้าถึงน้ำและการสุขาภิบาลที่ดีเพื่อให้การบริหารจัดการโดยรวมของทรัพยากรน้ำและระบบนิเวศของน้ำมีประสิทธิผล
วารสารไอเอสโอโฟกัสได้ถามผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมในมุมมองเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวและสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อต่อสู้กับปัญหาด้านห้องน้ำและทำให้มั่นใจว่าการใช้ห้องน้ำจะมีความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดี ซึ่งจะใช้มาตรฐาน ISO 30500 ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
Eawag เป็นสถาบันสมาพันธ์สวิสแห่งเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ทางน้ำ และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างโลกทางวิทยาศาสตร์กับโลกแห่งความเป็นจริง และมีการเชื่อมโยงกับแนวคิดและเทคโนลยีที่จัดการอย่างยั่งยืนกับหน่วยงานด้านน้ำ โดยมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยอื่นๆ หน่วยงานสาธารณะ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และหน่วยงานจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่ง Eawag ทำงานเพื่อประสานเอาความใส่ใจในด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในด้านการใช้น้ำ ซึ่งเป้าหมายก็คือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำการบำบัดของเสียโดยตรงที่สถานที่นั้นโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสิ่งอำนวยความสะดวกในการบำบัดจากส่วนกลาง
สำหรับทางเลือกของการสุขาภิบาลยังคงมีอยู่อย่างจำกัดและมีค่าใช้จ่ายของระบบสุขาภิบาลขนาดใหญ่ แต่บ่อยครั้งมีการบังคับให้มีการนำไปใช้อย่างรวดเร็ว
ด้วยระบบสุขาภิบาลที่ใช้น้ำส่วนกลาง จึงอาจจะไม่สามารถจัดเตรียมการป้องกันด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขในทุกๆ ท้องที่ทั่วโลก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
สำหรับประเทศที่อยู่ภายใต้การกดดันที่เพิ่มขึ้นเพื่อดูแลรักษาระบบสุขาภิบาล จำเป็นต้องกระตุ้นเพื่อให้ข้อสังเกตว่า ระบบห้องน้ำแบบใหม่ จะสามารถช่วยแก้ปัญหาสุขลักษณะในภาพรวมใหญ่ระดับโลกได้
ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีใหม่สามารถเปลี่ยนแปลงพื้นที่ด้านสุขาภิบาลทั้งหมด ซึ่งโลกธุรกิจด้านสุขาภิบาลทั้งหมดจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้นและเมืองจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับความท้าทายใหม่ๆ ได้เร็วกว่า เช่น การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในประชากร การขาดแคลนน้ำ เป็นต้น ซึ่งระบบใหม่จะไม่ต้องการน้ำแบบกดทิ้ง ซึ่งจะช่วยประหยัดน้ำได้เป็นอย่างดี
ความท้าทายอย่างหนึ่งคือตลาดซึ่งเต็มไปด้วยผลิตภัณฑ์ที่ดูเหมือนจะคล้ายๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องใหม่ๆ อย่างระบบสุขาภิบาลแบบไม่มีท่อน้ำทิ้ง
ศาสตราจารย์คริส บัคลีย์ จากกลุ่มวิจัยมลพิษ มหาวิทยาลัยควาซูลูนาทาลในอัฟริกาใต้ กล่าวว่าจากการขาดมาตรฐานสากลเกิดขึ้นด้วยหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบริษัทที่มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อาจยังไม่ได้คำนึงถึงเรื่องมาตรฐานสากล รวมทั้งการขาดตลาดขนาดใหญ่อย่างเพียงพอเพื่อปรับปรุงการลงทุนให้ดีขึ้น และการทำให้หน่วยงานด้านกฎระเบียบจัดทำข้อกำหนดสมรรถนะผลิตภัณฑ์โดยไม่มีการเอาใจผู้ผลิตหรือผลิตภัณฑ์รายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะ
ที่สมาพันธ์บอร์ดห้องน้ำซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์มีการกระตุ้นวิสัยทัศน์ใหม่ในเรื่องเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการสุขาภิบาลว่าเป็นแนวทางนำไปสู่ธุรกิจใหม่ที่สร้างระบบนิเวศน์ให้กับกิจกรรมของธุรกิจเกี่ยวกับสุขาภิบาล ซึ่งรวมทั้งเรื่องห้องน้ำ สุขาภิบาลแบบดิจิตอล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอัจฉริยะ และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนซึ่งของเสียของมนุษย์กลายจะเป็นแหล่งของทรัพยากรอันมีค่า
เรื่องยากๆ เกี่ยวกับห้องน้ำเป็นความท้าทายที่มนุษยชาติต้องช่วยกันแก้ไข และจะมีองค์กรใดมาร่วมสนับสนุนบ้าง โปรดติดตามต่อในครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอนจบ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2258.html
Related posts
Tags: Environment, Health, sanitation, Standardization
Recent Comments