บทความเรื่อง เรื่องยากๆ ของน้ำและการสุขาภิบาล ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงเรื่องความสำคัญของน้ำและการสุขาภิบาล ซึ่งมาตรฐาน ISO 30500 จะมีส่วนสำคัญในการส่งมอบการสุขาภิบาลที่ยั่งยืนให้กับคน 2.3 พันล้านคนทั่วโลกที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานด้านการสุขาภิบาล รวมทั้งส่งเสริมให้โลกของเราบรรลุถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 6 ในเรื่องน้ำและสุขาภิบาลทั้งหมดด้วย
สำหรับบทความในตอนนี้ จะกล่าวถึง “เรื่องยากๆ เกี่ยวกับห้องน้ำซึ่งเป็นความท้าทายที่มนุษยชาติต้องช่วยกันแก้ไข” ว่าจะมีแนวทางอย่างไร
Alexandra Knezovich และ Cheryl Hicks จาก Toilet Board Coalition (TBC) เชื่อว่าการสุขาภิบาลกำลังได้รับการจัดเตรียมให้เป็นหนึ่งในเป้าหมาย SDGs ที่เข้าใจยากที่สุด เพราะประเทศกำลังพัฒนายังคงตามหลังอยู่ ความพยายามที่มีอยู่มากมายไม่สามารถลดปัญหาที่คน 2.3 พันล้านทั่วโลกไม่อาจเข้าถึงสุขาภิบาลได้ แต่ข่าวดีก็คือ “เศรษฐกิจสุขาภิบาล” นับเป็นโมเดลใหม่ ซึ่งสามารถขยายให้มีความพร้อมมากขึ้น ดังนั้น มาตรฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงสามารถส่งเสริมและผลักดันให้เกิดขึ้นได้
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไอเอสโอได้ทำงานกับพันธมิตรในการพัฒนาเทคโนโลยีการสุขาภิบาลแบบใหม่ หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจก็คือห้องน้ำที่มีการสร้างขึ้นมาใหม่มีฟังก์ชั่นที่จำเป็นในการทำโรงงานบำบัดด้วยตัวเอง แนวคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่เรียกว่า “สร้างความท้าทายของห้องน้ำ” ซึ่งมูลนิธิบิลแอนด์เมลินดาเกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ได้เปิดตัวโดยมีเป้าหมายในการส่งมอบสุขาภิบาลที่ยั่งยืนให้กับคนอีก 2.3 พันล้านคนที่ยังขาดการเข้าถึงการสุขาภิบาลนั่นเอง
ห้องน้ำที่สร้างขึ้นมาใหม่ซึ่งไม่เหมือนกับระบบเดิม จะช่วยให้เคลื่อนย้ายเอาเชื้อโรคออกไปและไม่ต้องการโครงสร้างแบบเดิมเช่น สุขาภิบาลท่อน้ำทิ้ง การเชื่อมต่อกับน้ำหรือไฟฟ้า ห้องน้ำที่สร้างขึ้นมาใหม่จะเก็บเกี่ยวพลังงานจากของเสียของมนุษย์และยังเป็นการฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้อีกด้วย ผลลัพธ์ก็คือน้ำที่ได้รับการฆ่าเชื้อมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะชะล้าง เช่นเดียวกับของเสียของมนุษย์ที่สามารถทำขึ้นใหม่เพื่อสุขภาพและกลายเป็นปุ๋ยไร้กลิ่น
กลุ่มที่ได้สนับสนุนความพยายามนี้ คือคณะกรรมการโครงการไอเอสโอ ISO/PC 305 ในด้านสุขาภิบาลที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับน้ำทิ้ง ปัจจุบัน ISO/PC 305 กำลังทำงานพัฒนามาตรฐานสากลสำหรับระบบสุขาภิบาลท่อน้ำทิ้งซึ่งบางครั้งรู้จักกันในชื่อโครงการ “เทคโลยีห้องน้ำที่สร้างขึ้นมาใหม่” (Reinvented toilet technology)
ทั้งนี้ เพื่อช่วยแก้ไขวิกฤตด้านสุขาภิบาลทั่วโลกโดยการเคลื่อนย้ายเอาเชื้อโรคออกไปโดยไม่ใช้โครงสร้างแบบเดิม นับว่าเป็นเตรียมการสำหรับห้องน้ำที่ปลอดภัยกว่าและสะอาดกว่าในระดับโลก
ในความพยายามเพื่อไปสู่เป้าหมายข้อตกลงการปฏิบัติการสากล IWA 24 Non-sewered sanitation systems – General safety and performance requirements for design and testing จึงได้รับการตีพิมพ์เมื่อเดือนกันยายน 2559 ซึ่งรองรับการเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนามาตรฐานสากลใหม่
ที่น่าสนใจคือ ทั้ง IWA24 และมาตรฐาน ISO 30500 ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากมูลนิธิบิลแอนด์เมลินดาเกตส์
สำหรับมาตรฐาน ISO 30500 จะนำไปประยุกต์กับระบบสุขาภิบาลขนาดเล็กและแบบส่วนบุคคลที่ตอบสนองของเสียที่ผ่านกระบวนการอย่างปลอดภัยและฟื้นฟูทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่างน้ำ พลังงานและ/หรือสารอาหารในสภาพแวดล้อมที่เป็นแบบไร้ท้อน้ำทิ้งและแบบใช้พลังงานอย่างเดียวที่ไม่เชื่อมต่อกับอย่างอื่น
มาตรฐานดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้กับระบบสุขาภิบาลชุมชนและส่วนบุคคลที่จัดเก็บได้ด้วยตัวเอง ตอบสนองข้อกำหนดของการปล่อยของเสียที่ระบุไว้และมีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน
มาตรฐาน ISO 30500 ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะเน้นไปที่แง่มุมที่แตกต่างของสุขาภิบาล ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลในการต่อสู้กับปัญหาที่ซับซ้อนดังกล่าว ในขณะที่เรมี่ ฟรังซัวส์ ผู้อำนวยการเทคโนโลยีและวิจัยของบีเอฟจีเอ็นไวรอนเมนทอลเทคโนโลยีส์ ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพในสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนา IWA 24 และได้มีส่วนร่วมไปเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้นำของผู้แทนระดับชาติในการพัฒนามาตรฐาน ISO 30500
สำหรับเขาแล้ว การจัดให้มีการเข้าถึงบริการสุขาภิบาลพื้นฐานเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก และนับจนถึงทุกวันนี้ คนส่วนใหญ่ยังคงเผชิญหน้ากับความเสี่ยงด้านสุขภาพมากเกินไปรวมทั้งความปลอดภัยอันเนื่องมาจากการขาดแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านสุขาภิบาล สุขลักษณะและน้ำขั้นพื้นฐาน
องค์กรทั่วโลกกำลังใช้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะปรับปรุงและจัดเตรียมแนวทางห้องน้ำที่ยอมรับได้สำหรับทั่วโลก และร่วมกันผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย SDG6 มากกว่าที่เคยเป็นมา ทั้งหมดนี้ รวมกับโครงการ“เทคโลยีห้องน้ำที่สร้างขึ้นมาใหม่” ที่ริเริ่มโดยมูลนิธิบิลและเมลินดาเกทส์และมาตรฐาน ISO 30500 ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงมีส่วนผลักดันให้การแก้ไขปัญหาการสุขาภิบาลมีประสิทธิผลได้
สำหรับมาตรฐาน ISO 30500 จะเป็นเอกสารที่ใช้อ้างอิงสำหรับการแลกเปลี่ยนในอนาคตระหว่างผู้ใช้งาน ผู้สั่งงาน ผู้ผลิต และห้องปฏิบัติการทดสอบที่จะยืนยันว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เสนอไปนั้นช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพที่เร่งด่วนของโลก ซึ่งจะทำให้มีการยอมรับการสร้างตลาดใหม่ด้วยระบบสุขาภิบาลที่ไม่เชื่อมต่อกับท่อน้ำทิ้งและจะช่วยลดโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับการขาดการสุขาภิบาลเรื่องน้ำ มาตรฐาน ISO 30500 จึงนับเป็นก้าวแรกสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่นด้วยการแปลงของเสียของมนุษย์ให้กลายเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2258.html
Related posts
Tags: Environment, Health, sanitation, Standardization
ความเห็นล่าสุด