ชุมชนวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ค้นพบวิธีใหม่ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมหาสมุทรให้มากขึ้น ซึ่งถ้าจะพูดไปแล้วเรื่องในท้องมหาสมุทรยังคงเป็นเรื่องลึกลับอยู่ แต่ปัจจุบันมีโครงการใหม่ของดาร์ป้าที่ช่วยรวบรวมข้อมูลดังกล่าวได้อย่างกว้างขวางขึ้น เรียกว่า OoT หรือ Ocean of Things
สำนักโครงการวิจัยขั้นสูงด้านกลาโหมหรือดาร์ป้า (Defense Advanced Research Projects Agency) ภายใต้กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา กำลังค้นหา “ข้อเสนอเกี่ยวกับการลอยตัวอัจฉริยะ” ด้วยเป้าหมายที่มุ่งมั่น คือ การเชื่อมต่อมหาสมุทรของโลกที่มีถึง 71% ด้วยเครือข่ายเซนเซอร์ที่สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้เป็นจำนวนมาก
แผนดังกล่าวได้รับการเปรียบเทียบกับแนวโน้มเรื่อง IoT หรือ Internet of Thing อย่างไรก็ตาม แทนที่จะเชื่อมโยงแบบ IoT เช่น เชื่อมโยงข้อมูลของตู้เย็นกับเทอร์โมสตัทและอินเทอร์เน็ต OoT จะสามารถทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเปิดเผยออกมาได้ด้วย “การใช้อุณหภูมิของน้ำแบบออนไลน์”
ผู้จัดการโครงการสำนักงานเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ของดาร์ป้ากล่าวว่าเป้าหมายของโครงการก็คือเพื่อเพิ่มความตระหนักทางน้ำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่ทรงพลังของเทคโนโลยีเซนเซอร์ จึงมีการวางแผนเพื่อสร้างเครือข่ายเซนเซอร์ลอยน้ำ
มหาสมุทรของโลกส่วนใหญ่เป็นเหมือนห้องดำที่มีไฟสปอตไลท์ส่องเฉพาะจุดไว้ แต่เรารู้เรื่องตรงนี้น้อยมาก รวมถึงจุดดำๆ ที่เรายังมองไม่เห็นอีกมากมายด้วยแม้ว่ามนุษย์เราจะสามารถดำดิ่งลงไปลึกถึงก้นมหาสมุทรและยังใช้พาหนะอัตโนมัติแล้วก็ตาม
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เครือข่ายของข้อมูลลอยน้ำอาจช่วยได้ การประกาศของดาร์ป้าในเรื่องเครือข่ายเซนเซอร์นั้นทำให้เรารู้ว่ามันสามารถทำได้ ทุกคนจึงจำเป็นต้องรู้จักใช้ความยืดหยุ่นในการรวบรวมเอาเซนเซอร์และเพย์โหลดที่แตกต่างกันเข้าด้วยกันซึ่งขึ้นอยู่กับภารกิจที่แตกต่างกันออกไป ทุกคนจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานอย่างอุณหภูมิ ความเค็ม สถานะของทะเล รวมทั้งรายงานระบบต่างๆ และติดตามอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้เคียงด้วย
โครงการนี้จำเป็นต้องมีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อเรือที่ผ่านไปมา หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในน้ำอย่างปลาวาฬ และอุปกรณ์ที่ใช้ก็ต้องทำด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถทนทานน้ำทะเลได้อย่างน้อยหนึ่งปี
นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลรู้สึกตื่นเต้นเกี่ยวกับคลื่นข้อมูลของ OoT ที่สามารถหามาได้ เพราะขนาดของมหาสมุทรอันกว้างใหญ่และความยากที่มาพร้อมกับการทำงาน หมายถึงว่านักวิจัยสามารถเลือกที่จะมีข้อมูลที่มีพื้นที่ว่างซึ่งเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน หรือเลือกข้อมูลเชิงเวลา (Temporal data เป็นข้อมูลที่มีความสามารถในการจัดเก็บที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา) ก็ได้ซึ่ง OoT สามารถทำการบันทึกได้ทั้งสองแบบ แต่คนทั่วไปสงสัยว่าการดำเนินงานแบบนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่
ปัจจุบัน ดาร์ป้ายังมีประเด็นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการลอยลำเก็บข้อมูลทั้งในมหาสมุทรและระบบภูมิอากาศที่สามารถสร้างจุดที่มีบริเวณกว้างในน้ำและเริ่มต้นหมุนเวียนกระแสในน้ำซึ่งช่วยดึงดูเซนเซอร์เข้าไปในโลเคชั่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ดาร์ป้ายังคงเรียกร้องให้ริเริ่มโครงการเฟสแรก และนักออกแบบอาจมีแนวทางแก้ไขปัญหาเชิงนวัตกรรม โชคดีที่ดาร์ป้าไม่ได้เป็นเพียงโครงการเดียวที่ค้นหาแสงสว่างที่เรายังไม่เคยเห็นในท้องทะเล แต่ยังมีเครือข่ายมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของการวิจัยหกด้านในกรีนิช ลอนดอนซึ่งได้จัดเตรียมนักวิจัยพร้อมด้วยข้อมูลเชิงเวลาจากพื้นผิวไปจนถึงก้นมหาสมุทรนับตั้งแต่มีข้อมูลออนไลน์เมื่อปี 2559 (ค.ศ.2016) และถ้าโครงการใหม่ซึ่งเป็นโครงการร่วมที่มีชื่อว่า GEBCO (General Bathymetric Chart of the Oceans เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศท่ำทงานด้านการพัฒนาข้อมูลใต้ท้องทะเลลึกและสร้างแผนที่โลกใต้ทะเล) สามารถประสบความสำเร็จ ก็จะมีการเปิดตัวสาขาหุ่นยนต์เพื่อทำการสำรวจใต้ท้องทะเลลึกอีกด้วย ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสำรวจท้องทะเลอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2573 (2030)
ที่มา:
1. https://futurism.com/web-sensors-uncover-secrets-deep-oceans/
2. https://futurism.com/schools-robots-mapping-unknown-deep-sea/
Related posts
Tags: Future Management, Future watch, Innovation
ความเห็นล่าสุด