• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in or Register
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    13,431 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    10,291 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    8,778 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    8,224 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    7,192 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO ISO45001 IT Management Strategy Media Mobile Occupational health and safety Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — February 28, 2018 8:00 am
การสุขาภิบาลที่ยั่งยืนเพื่อคนทั่วโลก ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 1544 reads
0
  

Global-Sustainable-Sanitation-1เรื่องของความยั่งยืนเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ปัจจุบัน มูลนิธิบิลล์แอนด์เมลินดาเกทส์กำลังทำงานเพื่อสร้างห้องน้ำและช่วยชีวิตคนอีก 4.5 พันล้านคนที่กำลังขาดแคลนน้ำหรือมีชีวิตอยู่โดยปราศจากการแก้ไขปัญหาด้านการสุขาภิบาลที่ปลอดภัย จากการสัมภาษณ์ดูเลย์ โคเน่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านสุขลักษณะ การสุขาภิบาลและน้ำของมูลนิธิบิลล์แอนด์เมลินดาเกทส์ โดยวารสารไอเอสโอโฟกัส ทำให้เราทราบว่าทำไมมูลนิธิจึงได้ก้าวเข้ามายังไอเอสโอเพื่อให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้

ดูเลย์ โคเน่กล่าวถึงสุภาษิตอัฟริกันที่ว่า ถ้าคุณต้องการไปเร็วๆ ก็ไปคนเดียว แต่ถ้าคุณต้องการไปไกลๆ ขอให้ไปด้วยกัน เขากล่าวอย่างเยือกเย็นและมั่นใจเกี่ยวกับเป้าหมายที่จะช่วยชีวิตคนผ่านวิศวกรรม ดูเลย์ซึ่งเป็นคนสัญชาติโกตดิวัวร์ เป็นประธานคณะกรรมการวิชาการเอสโอ ISO/PC 305 ซึ่งจะไขข้อข้องใจของทุกคนว่าทำไมมาตรฐานและนวัตกรรมจึงต้องก้าวไปด้วยกัน

คณะกรรมการวิชาการกำลังทำงานเพื่อสร้างข้อกำหนดให้คนรุ่นใหม่ได้มีระบบการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน พวกเขาต้องการสร้างห้องน้ำแบบใหม่ “เราได้ไปถึงดวงจันทร์มาแล้ว และเรากำลังแบกคอมพิวเตอร์ชั้นยอดใส่กระเป๋าเสื้อไว้ แต่เราไม่เคยเปลี่ยนแปลงห้องน้ำในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา”   เป้าหมายที่ทะเยอทะยานนี้ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านมาตรฐานซึ่งก็ได้ก้าวไปถึงคำขอร้องขอของมูลนิธิบิลล์แอนด์เมลินดาเกทส์

แล้วบิล เกทส์มาเกี่ยวข้องกับไอเอสโอได้อย่างไร ดูเลย์ โคเน่กล่าวว่ามูลนิธิบิลล์แอนด์เมลินดาเกทส์ เป็นองค์กรการกุศล มีเป้าหมายเพื่อลดความยากจนในโลกนี้และทำให้มั่นใจว่าเด็กๆ มีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ วิธีหนึ่งที่จะทำได้คือการกำจัดโรคร้ายให้หมดไป

คนส่วนใหญ่ที่อ่านบทความนี้อาจจะรู้สึกยากที่จะเชื่อว่ายังมีการสุขาภิบาลที่ไม่ดีซึ่งเป็นแหล่งก่อโรคที่สำคัญ  เขายกตัวอย่างเช่น ห้องน้ำแบบกดชักโครก จากข้อมูลของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) กระทรวงสาธารณสุขและการบริการประชาชนของสหรัฐอเมริกา ระบุว่าคนมากกว่า 800,000 คน ซึ่งมีเด็กๆ รวมอยู่ด้วย ต้องเสียชีวิตไปทุกปีเพราะขาดการสุขาภิบาลที่เพียงพอ  ด้วยเรื่องราวเช่นนี้ มันคือโศกนาฎกรรมด้วยตัวของมันเอง แต่ผลที่ตามมานั้นก้าวไปไกลเกินกว่าใครจะคาดเดาได้ ธนาคารโลกประมาณการว่าการสุขาภิบาลที่ไม่ดีทำให้บางประเทศเสียค่าใช้จ่ายไปนับพันล้านบาท ซึ่งเป็นผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น การสุขาภาลที่ไม่ดีทำให้มีค่าใช้จ่ายในประเทศต่างๆ ทุกปี ดังนี้ คือ 6.3% ของ GDP ในบังคลาเทศ  6.4% ของ GDP ในอินเดีย 7.2% ของ GDP ในกัมพูชา 2.4% ของ GDP ในไนเจอร์ และ 3.9% ของ GDP ในปากีสถาน

แล้วแนวทางแก้ปัญหาคืออะไร อย่างที่เราทราบกันดีว่าห้องน้ำแบบกดชักโครกที่ใช้ระบบท่อน้ำทิ้งนั้นมีการประดิษฐ์ขึ้นมาตั้งแต่ 200 ปีที่แล้วซึ่งได้ช่วยชีวิตและยืดอายุขัยของคนในประเทศอุตสาหกรรมมาแล้ว ซึ่งได้มีการรายงานผลไว้ในวารสาร BMJ ซึ่งแต่เดิมคือวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษเมื่อปี 2550 (ค.ศ.2007) อย่างไรก็ตาม เมื่อ 200 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีของท่อน้ำทิ้งและห้องน้ำไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป  แต่ระบบเหล่านี้ไม่เพียงพออีกต่อไปเนื่องจากในทางปฏิบัติแล้ว อาจใช้ไม่ได้ในบางท้องที่และมีค่าใช้จ่ายที่แพงเกินไปสำหรับภูมิภาคที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการแก้ไขปัญหาด้านการสุขาภิบาลในระยะยาว ประการแรก เป็นเพราะว่าน้ำนั้นหายาก ประการที่สอง เพราะเราต้องการพลังงานที่จะจัดเก็บและบำบัดน้ำแล้วส่งไปยังบ้านคน ทั้งสองแหล่งเป็นแหล่งที่มีค่าใช้จ่ายสูง (มีการใช้น้ำที่ต้องกดทิ้งถึง 6 ลิตรทุกครั้ง) และนี่คือส่วนหนึ่งของปัญหาเท่านั้น  การนำของเสียไปผ่านกระบวนการก็มีความสำคัญในการปกป้องสิ่งแวดล้อมเช่นกัน และยังมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่มหาศาล ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องคิดระบบใหม่ขึ้นมา

ด้วยเหตุนี้ นี่จึงเป็นสิ่งที่มูลนิธิเกทส์กำลังทำงานเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา มันคือโอกาสที่มาพร้อมกับโมเดลบริการใหม่ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่สามารถปฏิบัติแยกส่วนนอกระบบท่อน้ำทิ่ง มูลนิธิยังคงทำงานกับหุ้นส่วนเพื่อพัฒนาและทดสอบชุดของเทคโนโลยี ธุรกิจและโมเดลการบริการ แต่แนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้จะทำงานกับผู้ประกอบการใหม่เท่านั้น และด้วยนโยบายและกฎระเบียบที่ถูกต้องทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

แต่ก่อนที่มูลนิธิเกทส์จะเข้ามาช่วยไอเอสโอ ดูเลย์ โคเน่ได้ใช้เวลา 5 ปีที่มูลนิธิเกทส์ ทำงานกับหุ้นส่วนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการบำบัดของเสียแบบใหม่ที่สามารถทำงานแยกส่วนได้ พวกเขาจึงไม่เพียงแต่มองหาทางเลือกอื่นๆ เท่านั้น พวกเขายังต้องการอะไรที่ดีกว่าเดิม นั่นคือ ห้องน้ำที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความสะดวกสบายเท่ากับห้องน้ำแบบเดิมที่มีอยู่ พวกเขาทำแม้กระทั่งเป็นหุ้นส่วนกับผู้ผลิตน้ำหอมที่ใหญ่ที่สุดเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ที่จะสร้างห้องน้ำที่ไร้กลิ่นรบกวน

ผลก็คือ เราได้ค้นพบว่ามันเป็นไปได้ที่จะสร้างห้องน้ำยุคใหม่ การตอบสนองเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดีและตอนนี้ พวกเขากำลังทำงานแบบที่ว่าจะทำให้เกิดห้องน้ำที่ใช้กับสเกลขนาดใหญ่ๆ ได้ แต่พวกเขาไม่สามารถเป็นตัวแทนของชุมชนระดับโลกได้ แต่ก็ต้องทำให้มั่นใจว่าเทคโนโลยีใหม่มีความปลอดภัยและจัดเตรียมคุณภาพที่คงที่ให้กับผู้ใช้งาน นี่คือเหตุผลว่าทำไมมูลนิธิถึงจำเป็นต้องทำงานกับไอเอสโอ เพราะจำเป็นที่จะต้องมีหุ้นส่วนที่สามารถชักนำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดกฎสำหรับอุตสาหกรรมใหม่

ด้วยเครือข่ายและความเชี่ยวชาญที่ขยายไปทั่วโลก ไอเอสโอจึงเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างที่ดี และเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ดีที่สุดที่จะทำงานด้วย  เขาชอบมากที่วิธีการทำงานพัฒนามาตรฐานมีกระบวนการที่บรรลุความเห็นพ้องต้องกัน มันเป็นงานที่ขับเคลื่อนด้วยการนับเอาความคิดเห็นทุกๆ ความคิดเห็นเข้าด้วยกัน มีความเป็นประชาธิปไตยและมีความเห้นพ้องต้องกัน เราจำเป็นต้องทำให้คนอื่นมาเข้าร่วมกับเรา เพื่อที่ว่าเราจะสามารถสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่กว่าด้วยการทำงานร่วมกัน

ส่วนแนวคิดในเรื่องของการสุขาภิบาลสมัยใหม่จะเป็นอย่างไร  โปรดติดตามได้ในครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2265.html



Related posts

  • บุกตลาดใหม่ด้วย ETVบุกตลาดใหม่ด้วย ETV
  • ปรับปรุงใหม่ มาตรฐานวิธีวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ปรับปรุงใหม่ มาตรฐานวิธีวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
  • ทำไมต้องจัดซื้ออย่างยั่งยืนทำไมต้องจัดซื้ออย่างยั่งยืน
  • องค์กรพ้นภัยไซเบอร์ด้วยมาตรฐาน PIMS ตอนที่ 1องค์กรพ้นภัยไซเบอร์ด้วยมาตรฐาน PIMS ตอนที่ 1
  • ไอเอสโอแนะนำมาตรฐาน ISO 10018 สร้างความผูกพันกับองค์กรไอเอสโอแนะนำมาตรฐาน ISO 10018 สร้างความผูกพันกับองค์กร

Tags: Health, Standardization, Sustainability, water, water management

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2021 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑