นักวิจัยได้ตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับต้นตระกูลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีฐานข้อมูลด้านพันธุกรรมที่ย้อนหลังไปถึง 500 ปีซึ่งเชื่อมโยงกับคนอีกจำนวน 13 คนโดยสายเลือดและการแต่งงาน ซึ่งได้นำไปสู่การมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างพันธุกรรมและความยืนยาวของอายุและเหตุผลที่บรรพบุรุษแต่งงานกัน ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่ายังเป็นแค่เพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น
ปีเตอร์ วิชเชอร์ นักพันธุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ในบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาดังกล่าว ระบุว่า การศึกษานี้เป็นการใช้ข้อมูลอันชาญฉลาดของการค้นหาข้อมูลด้วยวิธีการ crowdsourcing
และถ้ามีการเชื่อมโยงกับข้อมูลสุขภาพเพื่อสำรวจบทบาทของพันธุกรรมในด้านโรคภัย ก็จะเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น
ยานิฟ เออร์ลิค นักพันธุกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียกล่าวว่าเขาได้คิดโครงการนี้มาเมื่อ 7 ปีที่แล้วหลังจากได้อีเมล์จากญาติห่างๆ ผ่านเว็บไซต์ที่ชื่อ Geni.com ซึ่งได้มีการแบ่งปันเรื่องราวของครอบครัวที่มีเชื้อสายร่วมกัน เขาจึงส่งอีเมล์ไปยังหัวหน้าเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีของบริษัทซึ่งยอมให้เขาดาวน์โหลดประวัติของคนนับล้านคนซึ่งประกอบด้วยรายชื่อคน เพศ วันและสถานที่เกิด วันที่เสียชีวิต และญาติสายตรง (แต่ไม่มีข้อมูลดีเอ็นเอ)
เขาและทีมงานจึงได้พยายามคิดวิธีจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรซึ่งจากการประชุมมากกว่า 4 ปีที่ผ่านมา จึงได้เพิ่มข้อมูลเข้าไปซึ่งทำให้เกิดจุดเริ่มต้นของประวัติครอบครัวต่างๆ กว่า 86 ล้านรายการ และนับตั้งแต่มีการโพสต์เอกสารฉบับร่างออนไลน์เมื่อปีที่แล้ว นักวิจัยแห่งโคลัมเบียและเพื่อนร่วมงานก็ได้เปรียบเทียบข้อมูลกับบันทึกการเสียชีวิตของครอบครัวเวอร์มอนต์กับข้อมูลด้านการศึกษาซึ่งรวมถึงคนอีก 1,000 คนในฐานข้อมูลของ Geni.com (เผื่อว่ามีคนสนใจในเรื่องของพันธุกรรมศาสตร์จะเข้ามาศึกษาข้อมูล)
ผลลัพธ์สุดท้ายคือ สายเลือดเดี่ยวมีการเชื่อมโยงกับญาติๆ จำนวน 13 ล้านคนซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากยุโรปย้อนขึ้นไปถึง 11 รุ่นรวมทั้งคนที่มีชื่อเสียงอย่างนักพันธุกรรมศาสตร์ “ซีวอลล์ ไรท์” และนักแสดง “เควิน เบค่อน” ด้วย
จากการมองผ่านข้อมูลเกี่ยวกับการเสียชีวิตในตระกูลต่างๆ ทีมงานค้นพบว่ามีข้อมูลในช่วงชีวิตที่คาดไว้เกิดขึ้นมากมาย อย่างเช่น ชายหนุ่มในช่วงสงครามกลางเมือง สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 และการเกิดขึ้นของเด็กรุ่นใหม่ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในช่วงปี 2443 – 2452 (ค.ศ.1900 – 1909)
จากการพล็อตกราฟการเกิดบนแผนที่โลกในช่วงเวลาหนึ่ง พวกเขาจึงทำกราฟเหตุการณ์การโยกย้ายหลักๆ เช่น การตั้งถิ่นฐานที่เมย์ฟลาวเวอร์ในปี 2163 (ค.ศ.1620) ที่แมสซาชูเส็ทส์ ซึ่งตามมาด้วยการเกิดของประชากรอีกมากมายในภูมิภาค และในการค้นพบอาณานิคมของอังกฤษที่เป็นจุดเริ่มต้นของอาณานิคมของออสเตรเลีย
ทีมของเออร์ลิคยังได้สำรวจสิ่งที่เรียกว่า “ใครและที่ไหนคือความรักของชีวิต” เมื่อปี 2243 (ค.ศ.1700) และพบว่าประชากรได้แต่งงานกันตามประเพณีกับลูกพี่ลูกน้องรุ่นที่สี่ซึ่งเกิดขึ้นในระยะ 10 กม.ที่ห่างออกไป ซึ่งนับตั้งต้นจากปี 2393 (ค.ศ.1850) ที่พวกเขาแต่งงานกันกับคนที่มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมน้อยกว่า ซึ่งแต่เดิมผู้เชี่ยวชาญคิดว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ สะท้อนถึงความห่างไกลระหว่างสถานที่ที่คู่รักได้ถือกำเนิด และเติบโตขึ้น แต่อันที่จริงแล้ว การศึกษาของเออร์ลิคค้นพบว่าไม่ใช่ แต่กลับกลายเป็นว่าเกิดจากปัจจัยด้านวัฒนธรรมอย่างข้อห้ามในการแต่งงานกับญาติมากกว่าที่ทำให้การสมรสระหว่างญาติพี่น้องมีน้อยลง ซึ่งช่วยให้เข้าใจว่ายีนได้แพร่กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ได้อย่างไร
การค้นพบนี้เป็นเพียงแค่การกระตุ้นให้เห็นถึงการใช้แผนภูมิของตระกูลอย่างมีศักยภาพเท่านั้น เออร์ลิคผู้ซึ่งปีที่แล้วได้กลายเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ที่ MyHeritage.com ซึ่งเป็นเจ้าของ Geni.com ได้กล่าวไว้
ทีมโคลัมเบียได้เริ่มต้นรวบรวมเครือข่ายของตระกูลต่างๆ ด้วยเว็บไซต์ที่ชื่อว่า DNA.Land ซึ่งอาสาสมัครได้เข้ามาแบ่งปันข้อมูลด้านดีเอ็นเอจากบริการทดสอบดีเอ็นเอผู้บริโภค เช่น 23andMe และ MyHeritage และกรอกข้อมูลสำรวจด้านสุขภาพ ทีมของเออร์ลิคยังทำได้กลุ่มข้อมูลสำหรับนักวิจัยอื่นๆ ด้วย
การจัดวางข้อมูลสุขภาพจำนวนนับพันนับหมื่นของตระกูลต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตไปแล้ว ช่วยให้นักวิจัยมั่นใจในบทบาทของพันธุกรรมในด้านโรค ความเสี่ยงของการเกิดโรค และลักษณะต่างๆ เช่น ความสูง ซึ่งทำโดยการรวมเอาข้อมูลด้านสุขภาพและดีเอ็นเอเข้ากับเรื่องของพันธุศาสตร์ของประเทศเข้าด้วยกัน สิ่งนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น ฐานข้อมูลด้านพันธุกรรมของกลุ่มคนจำนวนมากยังสามารถสืบค้นย้อนกลับไปเพื่อศึกษาเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติได้อีกมากมาย เช่น การวิจัยด้านพันธุกรรม การวิจัยเชิงทดลองทางคลีนิก เป็นต้น
ที่มา:
2. https://www.theatlantic.com/science/archive/2017/02/family-tree-genealogy-research/516819/
Related posts
Tags: Future watch, Health, Innovation, IT
Recent Comments