• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,558 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,076 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,411 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,295 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,987 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — March 26, 2018 8:00 am
ถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนเป็น ISO 45001: 2018 ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 3964 reads
0
  

From-OHSAS-18001-to-ISO-450011การปรับเปลี่ยนจากมาตรฐาน OHSAS 18001 ไปเป็นมาตรฐานใหม่ ISO 45001 เป็นเรื่องที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องมีพันธสัญญา การวางแผน และการตรวจสอบด้วยความระมัดระวัง  และจะทำให้พนักงานหรือลูกจ้างและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้รับประโยชน์จากระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

สำหรับธุรกิจและสถาบันต่างๆ จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบในการจัดเตรียมให้ลูกจ้างมีสถานที่ทำงานที่มีความปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น ในบางองค์กรและบางบริษัท การมีตู้นอนและห้องสำหรับงีบหลับเป็นเรื่องที่ต้องทำเป็นปกติ แต่ก็มีการตั้งคำถามว่าจะเป็นการตามใจลูกจ้างจนเกินเลยไปหรือไม่  เอสเอ็มอีและบริษัทเล็กๆ ส่วนใหญ่ รวมถึงภาครัฐอาจจะมองว่าของเหล่านี้เป็นของฟุ่มเฟือยที่ไม่ควรเสียเงิน  แต่หากมองในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น มันเป็นการเติมพลังให้กับลูกจ้างที่มีเซลล์สมองที่กำลังอ่อนล้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้

ลอเรนซ์ เอพสไตน์ ประธานคนเก่าของ American Academy of Sleep Medicine กล่าวกับนิตยสารไฟแนนเชียลไทม์ว่ามีรายงานด้านความปลอดภัยและสุขภาพเมื่อเดือนกันยายน 2560 ว่าความผิดปกติของการนอนหลับส่งผลถึงผลผลิตในการทำงานรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพและอุบัติเหตุในที่ทำงานได้อย่างไร  ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการนอนไม่หลับในสหรัฐอเมริกามีการประมาณการว่าสูงเกิน 100 พันล้านเหรียญสหรัฐเนื่องจากมีผลผลิตลดลง  การขาดงาน และถึงแม้ว่าลูกจ้างจะมาทำงานแต่ก็ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตแต่อย่างใด

จากรายงานของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) เรื่อง  Future of Healthy – How to Realize Returns on Health บริษัทอย่างกูเกิ้ลได้เริ่มยอมรับว่าการส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพของพนักงานจะส่งเสริมในเรื่องผลผลิต ซึ่งยังไม่รวมถึงการจูงใจคนที่มีความสามารถให้เข้ามาทำงานด้วย  รายงานยังกล่าวต่อไปว่า สุขภาพของลูกจ้างที่ดีขึ้นยังส่งผลต่อค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพที่น้อยลงด้วย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของท้องถิ่น ค่าใช้จ่ายด้านเงินบำนาญ และการหลีกเลี่ยงความรับผิดที่อาจเกิดขึ้น

เมื่อมองไปที่ตัวเลขดังกล่าวก็พอจะมองเห็นว่าทำไมความปลอดภัยและสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ จากข้อมูลขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) พบว่าทุกๆ ปี อุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ปฏิบัติงานถึง 2.78 ล้านคน ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อองค์กรเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบในมุมกว้างต่อเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วยซึ่งต้องมีการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายของคนวัยเกษียณก่อนกำหนด การดูแลสุขภาพและเบี้ยประกันที่สูงขึ้น   องค์กรแรงงานระหว่างประเทศกล่าวว่าภาระด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากการปฏิบัติด้านสุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยนั้นมีถึง 3.94% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในแต่ละปี

ผู้อำนวยการ EU-OSHA (European Agency for Safety and Health at Work) ของนิตยสารไฟแนนเชียลไทม์ กล่าวว่าค่าใช้จ่ายด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นประมาณการว่าเท่ากับ  3 – 5% ของ GDP ของสหภาพยุโรปเลยทีเดียว การบาดเจ็บและสุขภาพมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตที่หลีกเลี่ยงได้อย่างเช่นอุบัติเหตุถึง 4,000 ราย และเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตที่เกิดจากการเจ็บป่วยถึง 160,000 รายในแต่ละปี

เมื่อเทคโนโลยีและเทคโนโลยีเอไอมีมากขึ้น ความท้าทายอีกอย่างหนึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของงานและสถานที่ทำงาน Global Wellness Institute ได้เน้นถึงความจำเป็นของการสร้างทักษะของผู้ปฏิบัติงานขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะต้องอาศัยความลื่นไหล การปรับตัว และความร่วมมือ  และเพื่อที่จะอยู่รอดและเติบโตได้ในอนาคต ธุรกิจและองค์กรจึงจำเป็นจะต้องประสานเอาศักยภาพของเรื่องสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีด้วยการเชื่อมโยงวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เข้ากับคุณค่าส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน แรงจูงใจและความต้องการในเรื่องของสวัสดิภาพความเป็นอยู่ที่ดี

บริษัทและสถาบันต่างๆ ซึ่งกำลังพยายามที่จะเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงผลกำไรและสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานให้มีสวัสดิภาพที่ดี ควรจะใส่ใจอย่างใกล้ชิดในระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้วย  ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความสับสนในเรื่องมาตรฐานระดับประเทศและโครงการการรับรองต่างๆ เป็นประเด็นที่นำไปสู่โครงการ OHSAS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศซึ่งพูดกันเป็นเสียงเดียวโดยมีการดึงเอาผู้แทนจากสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ นักวิชาการ หน่วยรับรองระบบงาน และหน่วยรับรองระบบการจัดการเข้ามาร่วมมือกันโดยมีสมาชิกจากกลุ่ม BSI ซึ่งเป็นสมาชิกของไอเอสโอจากประเทศอังกฤษ เป็นเลขานุการ

เทรเวอร์ ดอดด์ ทำงานกับ BSI และเป็นผู้แทนกลุ่มโครงการ  OHSAS กล่าวว่า  OHSAS 18001 ได้นำไปสู่การปรับปรุงในเรื่องพันธสัญญาและการมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับสูงและการสื่อสารและการฝึกอบรมที่ดีขึ้น ดังนั้น จึงนำไปสู่การลดอุบัติเหตุและอัตราการเกิดอุบัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่โลกมีความซับซ้อนมากขึ้นและมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันมากขึ้น ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยจึงกลายเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเวลาในรูปแบบของมาตรฐานใหม่ คือ ISO 45001 ซึ่งจะเข้ามาแทนที่ OHSAS 18001

มาตรฐานใหม่จะนำมาซึ่งระบบการจัดการที่มีประสิทธิผลต่อองค์กร ดอดด์กล่าวว่ามันจะช่วยให้ยุติการรับรู้ที่ว่า บ่อยครั้ง การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพที่ต้องมีอยู่นั้นมีการจำกัดอย่างไม่จำเป็นและไม่จำเป็นเมื่อมีการพิจารณาความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง และบ่อยครั้งนำไปสู่ความไม่เห็นด้วย

แล้วทำไมต้องเป็นมาตรฐานใหม่ ISO 45001 ด้วย โปรดติดตามต่อในครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ

ที่มา:  https://www.iso.org/news/ref2270.html



Related posts

  • มาตรฐานเพื่อตรวจจับสัญญาณเพลิงไหม้มาตรฐานเพื่อตรวจจับสัญญาณเพลิงไหม้
  • ทั่วโลกได้รับการรับรองตามมาตรฐานไอเอสโอมากขึ้นทั่วโลกได้รับการรับรองตามมาตรฐานไอเอสโอมากขึ้น
  • วาระ 2030 เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ ตอนที่ 1วาระ 2030 เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ ตอนที่ 1
  • ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ตอนที่ 2ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ตอนที่ 2
  • เอไอกับนวัตกรรมการดูแลสุขภาพเอไอกับนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ

Tags: ISO45001, Occupational health and safety, OHSAS 18001, safety

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑