หนูทดลองที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ทดลองเพื่อวิจัยค้นหาสิ่งต่างๆ กันมาตั้งแต่อดีตนั้น จนถึงปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงใช้มันอยู่ แต่อยู่มาวันหนึ่ง มันกลับไม่มีความรู้สึกอีกต่อไป เพราะมีนักวิจัยใช้หนูทดลองมาทำการทดลองที่ทำให้มันไม่มีความรู้สึกอยากอาหารหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ได้
นักวิจัยเกาหลีของสถาบัน KAIST (Korea Advanced Institute of Science and Technology) ได้ทำการทดลองให้หนูเชื่อฟังคำสั่งและสร้างเขาวงกตให้หนูทดลองเดินโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่าออปโตเจเนติกส์ซึ่งเป็นกระบวนการที่นักวิจัยใช้เส้นใยไฟเบอร์อ็อปติกหรือเครื่องมือที่คล้ายกันสอดใส่ในสมองภายใต้เนื้อเยื่อประสาทของหนูทดลองเพื่อกระตุ้นให้มันทำกิจกรรมต่างๆ การกดปุ่มเปิดปิดที่เส้นใยนี้ส่งผลต่อโปรตีนที่ตอบสนองต่อแสงไฟและทำให้เกิดการสั่งงาน สำหรับการทดลองในครั้งนี้ นักวิจัยทำให้หนูมีความอยากเล่นลูกบอลที่วางอยู่ด้านหน้า และทำให้มันไล่ล่าลูกบอลต่อไป แต่การปิดสัญญาณอย่างกระทันหันทำให้หนูหมดความสนใจในลูกบอลอีกต่อไป
ขั้นต่อไป นักวิจัยทำการควบคุมหนูทดลองด้วยการนำมันไปสู่เขาวงกตที่ซับซ้อนและสร้างจุดเบี่ยงเบนความสนใจไปที่หนูตัวเมีย และอาหารอร่อยๆ จำนวนมาก และเมื่อกดปุ่มเปิดให้ทำงาน นักวิจัยก็สามารถนำทางให้หนูเดินไปยังปลายทางของเขาวงกตได้โดยง่ายโดยมันไม่สนใจจุดเบี่ยงเบนดังกล่าว
ประเด็นนี้บ่งบอกอะไรเราได้บ้าง ทีมวิจัยนึกถึงเทคโนโลยีที่ช่วยควบคุมสัตว์ให้ทำภารกิจเรื่องการดมกลิ่นให้สำเร็จ เช่น การค้นหาและช่วยเหลือ การติดตามผู้รอดชีวิตในเหมือง และการค้นหายาเสพติด เป็นต้น
แดซู คิม หัวหน้าโครงการทดลองกล่าวว่า หากเปรียบเทียบกับหุ่นยนต์แล้ว สัตว์ทดลองสามารถเคลื่อนไหวได้คล่องตัวกว่าและสามารถก้าวข้ามพื้นที่ที่มีความยากลำบากได้ดีกว่า เนื่องจากตามธรรมชาติแล้ว สัตว์สามารถมีชีวิตและเคลื่อนไหวอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนและไม่ต้องใช้แบตเตอร์รี่เหมือนหุ่นยนต์
อันที่จริงแล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองใช้รีโมทคอนโทรลควบคุมสัตว์มาก่อนหน้านี้ และส่วนใหญ่ก็พิสูจน์แล้วว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ปีที่แล้ว ทีมวิจัยได้พัฒนาหุ่นยนต์กาฝากที่เกาะติดอยู่บนหลังเต่าและควบคุมการเคลื่อนไหวด้วยการแสดงไฟสัญญาณที่หัวและตัวฟีด เมื่อปี 2555 (ค.ศ.2012) นักวิจัยได้สร้างแมลงสาบไซบอร์กที่กระตุ้นอวัยวะรับรู้ด้วยการใช้สัญญาณไร้สายที่ติดอยู่กับหลังของมันด้วยตัวกระตุ้นจากภายนอกซึ่งไม่ใช่ออปโตเจเนติกส์เหมือนการทดลองในครั้งนี้
แล้วการทดลองนี้จะนำมาใช้กับมนุษย์เราได้อย่างไร คำตอบคือ เป็นการใช้ทางการแพทย์เพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก เช่น การบำบัดรักษาโรคพาร์คินสัน เป็นต้น แต่สำหรับการใช้ออปโตเจเนติกส์เพื่อช่วยให้เราหลีกเลี่ยงความอยากอาหารยังดูเหมือนจะยังไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้
ที่มา:
1. https://futurism.com/mind-controlled-mice-food/
2. https://gizmodo.com/scientists-create-mind-controlled-hunting-zombie-mice-1791112390
Related posts
Tags: Future Management, Future watch, MICE
ความเห็นล่าสุด