เราได้เรียนรู้กันว่าเป้าหมายที่ดีจะต้องประกอบด้วยเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง สามารถวัดผลได้ สามารถทำให้บรรลุได้ มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายขององค์กร และมีกำหนดเวลา หรือที่เรียกว่า SMART Goals
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่ามีเพียงการทำตามเป้าหมายดังกล่าวแล้วจะประสบความสำเร็จเสมอไป องค์กรใดที่ยังยึดอยู่กับแนวทางในการกำหนดเป้าหมายแบบเดิมๆ อาจนำพาธุรกิจไปผิดทิศผิดทางได้ อันที่จริงแล้ว เป้าหมายจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันด้วย
แล้ว SMART Goals จะมีประสิทธิผลในทุกๆ บริบทหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ แล้วเป้าหมายประเภทไหนที่เป็นประโยชน์มากที่สุดในแต่ละบริบท นี่คือคำถามสำคัญในเวลาที่เราต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน รวมทั้งในเวลาที่เกิดเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่คาดคิดมาก่อนด้วย
ทุกองค์กรจำเป็นต้องมีเป้าหมาย เป้าหมายจะทำให้หน้าที่หลายๆ ด้านประสบความสำเร็จเช่น ความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน การจัดลำดับความสำคัญ การประเมินผลเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า เป็นต้น
ในสภาพแวดล้อมที่สามารถทำนายได้และมีความมั่นคง เป็นการเหมาะสมที่จะกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและวัดได้ ตัวอย่างเช่น ตลาดบางตลาด เช่น ขนมหวานและเครื่องสำอาง มีการเติบโตไปกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และเป็นไปตามแนวโน้มที่ทำนายอย่างมีความสัมพันธ์กัน ดังนั้น บริษัทอย่างมาร์สสามารถวางแผนกลยุทธ์ได้หลายปีตามกลุ่มผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท
ในบางสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนและมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยกว่า SMART Goals อาจเป็นปัญหาได้ เป็นการยากที่จะจัดการกับเป้าหมายที่มีกำหนดเวลาและเฉพาะเจาะจงในขณะที่ความต้องการ เทคโนโลยีและโมเดลธุรกิจ รวมทั้งคู่แข่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และโดยทั่วไป มักจะเกิดอุตสาหกรรมดิสรัพท์ด้วย เช่น บริการทดสอบทางพันธุกรรมหรือเทคโนโลยีเออาร์ เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ บริษัทจำเป็นต้องมีเป้าหมายเพื่อทำงานอื่นอย่างการคิดเรื่องใหม่ๆ ให้ทันหรือกล้าทดลองสิ่งใหม่ๆ และเรียนรู้สถานการณ์ที่ไม่เคยเผชิญหน้ามาก่อน
การที่จะรู้ว่าประเภทของเป้าหมายจะมีประสิทธิผลในสถานการณ์แบบใด จำเป็นต้องพิจารณาถึงวิธีการที่มันสมองของมนุษย์ทำงานในบริบทที่แตกต่างกันด้วย
ในสภาพแวดล้อมที่ทำนายได้ สมองของเราแบ่งเป้าหมายออกเป็นปฏิบัติการที่คุ้นเคยที่เรารู้ว่าจะทำอย่างไรให้เอาชนะเป้าหมายได้ทั้งหมด การกำหนด SMART goals ด้วยการระบุรายละเอียด เช่น เป้าหมายและเวลาที่จะไปถึง ช่วยให้เราระบุปฏิบัติการที่ถูกต้องในลำดับที่เหมาะสม ซึ่งช่วยให้เรามีความรู้ในการสร้างแผนงานที่มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ใหม่ สมองจะใช้การอุปมาอุปมัยในการค้นพบความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งที่รู้และสิ่งที่ไม่รู้ เป้าหมายของกูเกิ้ลในการจัดการกับข้อมูลของโลกนั้นไม่ใช่สิ่งที่วัดได้ แต่กลับกัน มันเป็นการสร้างอุปมาอุปมัยที่สามารถสร้างผลผลิตได้ทันที เช่น ในปี 2547 (ค.ศ.2004) เมื่อ เซอร์เก บริน ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิ้ล แนะนำให้ทีมของเขาสร้างแผนที่ดาวเทียม เป้าหมายของบริษัทก็คือเพื่อช่วยให้ทีมมองเห็นโอกาสอย่างมีเหตุผลและชอบธรรม
ในฐานะรองประธานอาวุโสของกูเกิ้ล เวย์น โรสซิ่ง สังเกตเห็นว่าเป้าหมายของบริษัทก็คือเพื่อสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อโลกและสามารถเข้าถึงได้ และนี่ก็คือโลกที่แท้จริง ส่วนเป้าหมายที่ครอบคลุมช่วยให้ผู้บริหารมีความเชื่อมโยงในเชิงจินตนาการจากการค้นหาเพื่อจับคู่เพราะสองมุมมองของความพยายามที่จำเป็นในสิ่งที่เหมือนกัน เป้าหมายเช่นนี้สามารถอำนวยความสะดวกให้กับการค้นพบที่จำเป็นเพื่อที่จะนำทางสภาพแวดล้อมที่ไม่อาจทำนายได้
นอกจากนี้ มีข้อเท็จจริงบางอย่างที่คนส่วนใหญ่ละเลยไป นั่นก็คือเรื่องของอคติหรือความลำเอียงในเชิงการรับรู้ เรื่องราวจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามต่อไปในครั้งหน้าซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา:
2. http://hrweb.mit.edu/performance-development/goal-setting-developmental-planning/smart-goals
3. https://googlepress.blogspot.com/2001/01/google-names-wayne-rosing-new-vice.html
Recent Comments