บทความเรื่อง วิธีการจัดการกับเป้าหมายอย่างชาญฉลาด ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงเรื่อง SMART Goals ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง สามารถวัดผลได้ สามารถทำให้บรรลุได้ มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายขององค์กร และมีกำหนดเวลา แต่ไม่ใช่ว่ามีเพียงการทำตามเป้าหมายดังกล่าวแล้วจะประสบความสำเร็จเสมอไป องค์กรใดที่ยังยึดอยู่กับแนวทางในการกำหนดเป้าหมายแบบเดิมๆ อาจนำธุรกิจไปผิดทิศผิดทางได้ อันที่จริงแล้ว เป้าหมายจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันด้วย รวมทั้งในเวลาที่เกิดเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่คาดคิดมาก่อนด้วย
สำหรับบทความในตอนนี้จะกล่าวถึงข้อเท็จจริงบางอย่างในการกำหนดเป้าหมายที่คนส่วนใหญ่ละเลยไป นั่นก็คือเรื่องของอคติหรือความลำเอียงในเชิงการรับรู้ กล่าวคือ สมองของมนุษย์มีแนวโน้มที่จะคาดการณ์สิ่งเดิมๆ เหนือกว่าความจริง อคติเชิงรับรู้เช่นนี้นำองค์กรไปสู่การกำหนดเป้าหมายที่อาจหาญและดูน่าตื่นเต้นแต่ไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง
ยิ่งองค์กรมีพลังในการกำหนดสภาพแวดล้อมมากเท่าใด เป้าหมายขององค์กรก็จะมีความท้าทายมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งมีทั้งขอบข่ายที่กว้างขวางและเน้นไปในเรื่องของภายนอก อาลาบาบาเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเป้าหมายที่จะสร้างโครงสร้างอนาคตของการค้าซึ่งต้องการเป็นเจ้าของระบบนิเวศของธุรกิจที่หลากหลายรวมทั้งบริษัทโลจิสติกส์ที่มีชื่อว่า Cainiao Smart Logistics Network Ltd. และ Ant Financial Services Group
ในทางกลับกัน ผู้ค้าปลีกอย่างซาร่า ซึ่งตระหนักเป็นอย่างดีว่าไม่สามารถควบคุมโลกของแฟชั่นได้ จึงพุ่งเป้าไปที่การคาดการณ์โดยมีเป้าหมายที่ถ่อมตัว คือเพียงแค่ตอบสนองต่อแนวโน้มของรสนิยมอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าของบริษัท แต่การจำกัดตัวเองเช่นนี้ได้นำไปสู่สมรรถนะที่โดดเด่น ปัจจุบัน ซาร่าเป็นผู้ค้าปลีกแฟชั่นรายใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีรายงานการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้น SMART goals บางครั้งก็ดูเหมือนเป็นเป้าหมายที่ชาญฉลาด แต่บางครั้งก็ไม่ใช่ เราจึงควรคิดเกี่ยวกับเป้าหมายในทางที่เป็นไปได้มากขึ้นโดยปรับเป้าหมายที่เหมาะสมกับประเภทของสภาพแวดล้อมขององค์กร
เป้าหมายไม่ใช่เป็นเพียงแต่สิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้ตามสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ อีกด้วย ซึ่งสิ่งที่อาจทำให้เราเข้าใจผิดในเรื่องสภาพแวดล้อมนั้น มีอยู่ 3 ประการได้แก่ 1)สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงจากประเภทหนึ่งไปเป็นอีกประเภทหนึ่ง 2) บริษัทเปลี่ยนผ่านการพัฒนาที่มีศักยภาพมากขึ้นหรือมีการซื้อกิจการ และ 3) บริษัทเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับเป้าหมายที่กำลังก้าวไปหาและมีประสบการณ์ที่นำไปสู่การหยั่งรู้อนาคต สำหรับอาลีบาบาเป็นโมเดลที่อยู่ในกลุ่มนี้
มิงเส็ง เจ้าหน้าที่หัวหน้ากลยุทธ์ของอาลีบาบาบอกว่าวิสัยทัศน์และเป้าหมายควรจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ เมื่อปลายศตวรรรษที่ 1990 เป้าหมายของอาลีบาบาคือต้องการเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซที่ตอบสนองบริษัทส่งของขนาดเล็กของประเทศจีน
จากการเกิดขึ้นอย่างมากมายของการบริโภคภายในประเทศของชาวจีน เป้าหมายดังกล่าวจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นการพัฒนาระบบนิเวศของอีคอมเมิร์ซในประเทศจีน เพียงแต่วันนี้ มีบริษัทที่มาถึงเป้าหมายที่แรงกล้าในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานแห่งอนาคตของการค้าโดยใช้เป้าหมายดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ในการเสนอให้ผู้นำมีโอกาสที่จะจินตนาการถึงการค้าแบบใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
เป้าหมายเป็นเครื่องมือที่จะทำให้งานที่แตกต่างกันประสบความสำเร็จในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน แต่ในบางกรณี เครืองมือที่ดีที่สุดสำหรับงานอาจเป็นการไม่มีเป้าหมายเลยก็ได้ นี่คือกรณีที่เราต้องการที่จะเล่น สำรวจและสร้างนวัตกรรม โดยการก้าวข้ามข้อจำกัดมากกว่าการมีผู้นำทาง
สุดท้ายนี้ มีข้อเสนอแนะสำหรับวิธีกำหนดเป้าหมายว่าควรมีการระบุสภาพแวดล้อมขององค์กรและถามว่าประเภทของเป้าหมายที่กำหนดมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือไม่ แล้วพิจารณาการเปลี่ยนแปลงขอบข่ายและระบุเป้าหมายให้สอดคล้องกัน ถ้าจำเป็นต้องมีเป้าหมายที่ละเอียด ขอให้ใช้คำที่มีการเปรียบเปรยมากเท่าที่เป็นไปได้เพื่อขับเคลื่อนการสำรวจ หลังจากนั้น แนะนำให้พิจารณา 3 สิ่งดังต่อไปนี้ 1) พิจารณาถึงสาระสำคัญของสิ่งที่ธุรกิจกำลังจะพยายามก้าวไปสู่ความสำเร็จ 2) ถามตัวเองว่ามีที่ใดที่สาระสำคัญนี้นำไปปรับใช้กับโลกธุรกิจได้ 3) กำหนดเป้าหมายที่มีพื้นฐานอยู่บนแนวคิดที่จำเป็น หัวข้อที่สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เชิงเปรียบเทียบได้หลายด้าน แล้วสะท้อนวิธีการที่ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายขององค์กรกับสภาพแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องกันในอดีตและสังเกตปัญหาที่อาจทำให้องค์กรต้องก้าวไปสู่เป้าหมายนั้นอีกครั้ง
สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่แตกต่างกัน และการรับเอาแนวทางต่างๆ ของการกำหนดเป้าหมายที่แตกต่างกันไปใช้นั้น จะทำให้องค์กรสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้
ที่มา:
2. http://hrweb.mit.edu/performance-development/goal-setting-developmental-planning/smart-goals
3. https://googlepress.blogspot.com/2001/01/google-names-wayne-rosing-new-vice.html
ความเห็นล่าสุด