เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ 193 ประเทศได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการ ที่องค์การสหประชาชาติ ในตอนนั้น ก็ยังไม่เป็นที่ทราบชัดว่าภาคธุรกิจจะเข้าไปมีส่วนร่วมในวาระนี้ได้อย่างไร รวมทั้งเรื่องของการขจัดความยากจนและความหิวโหย และการส่งเสริมเรื่องสันติภาพ แต่ 2 ปีต่อมา ความกังวลเหล่านั้นก็ค่อยๆ หมดไป ธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เพิ่มขึ้นทุกปี มีบริษัทจำนวนมากใช้เป้าหมายดังกล่าวเพื่อช่วยในการกำหนดเป้าหมายสมรรถนะขององค์กร มีรายงานว่า 75% ของผู้เข้าร่วมในสนธิสัญญาดังกล่าวได้ร่วมปฏิบัติการสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว
นับว่าเป็นข่าวดีที่เป้าหมาย SDGs เป็นการเชื้อเชิญให้ธุรกิจเข้าร่วมในการยุติความยากจน ปกป้องโลก และทำให้ทั่วโลกมีความมั่งคั่ง บางธุรกิจได้รวมเอาปฏิบัติการ SDGs เข้าไว้ในกลยุทธ์ เป้าหมายระยะยาวและการปฏิบัติในแนวทางที่ช่วยสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจโดยไม่ส่งผลลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการของบริษัท
เมื่อปีที่แล้ว วารสารฮาร์วาร์ดบิสซินเนส ได้เผยแพร่บทความของบาสคาร์ ชาคราวอเทอ จากมหาวิทยาลัยทัฟส์ ซึ่งได้กล่าวถึงบริษัทอย่างโคค่า โคล่า แก็พ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน มาสเตอร์การ์ด และยูนิลีเวอร์ เป็นต้น ว่าได้มีการรวมเอา SDGs เข้าไปเป็นกลยุทธ์หลักขององค์กรด้วย
แต่ข่าวร้ายก็คือการนำ SDGs ไปใช้ก็เป็นความเสี่ยงที่มีสาระสำคัญที่อาจจำกัดการมีส่วนร่วมของบริษัทต่อเป้าหมาย SDGs ได้ บริษัทอาจพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่เพื่อสนับสนุนเป้าหมายที่ 7 ในเรื่องพลังงานสะอาดและสามารถซื้อหามาได้ แต่การใช้กับชุมชนอย่างผิดที่ผิดทางอาจส่งผลต่อเรื่องของอาหาร การเข้าถึงแหล่งน้ำ สุขภาพ วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ในกระบวนการได้ หรือธุรกิจอาจจวางโครงสร้างพื้นฐานอย่างเข้มข้นซึ่งทำให้มีส่วนร่วมต่อเป้าหมายที่ 9 ในเรื่องอุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงแง่มุมต่างๆของการวางแผนโครงการหรือกลยุทธ์องค์กร
ภายใต้โฉมหน้าของการสนับสนุน SDGs มีวิสัยทัศน์ที่มีการออกแบบและวัดผลความสำเร็จเป้าหมายเดียวกับการกำหนดกลยุทธ์โดยไม่เข้าใจวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาวอาจส่งผลต่อความอ่อนแอของการมีส่วนร่วมต่อเป้าหมาย การสนับสนุนของบริษัทในเรื่อง SDGs นั้นไม่ใช่ตัวแทนของการทำความดี
ผู้นำทางธุรกิจที่ต้องการสนับสนุนวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) ต้องถามตัวเองว่าเราต้องการทำให้วิธีปฏิบัติทางธุรกิจสะดวกขึ้นเพื่อสนับสนุน SDGs แต่เราจะสามารถทำให้มีประสิทธิผล มุ่งมั่นและเหมาะสมได้อย่างไร
การสนับสนุน SDGs นั้นจะต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่ตามมาทั้งในแง่บวกและแง่ลบตลอดทั้งห่วงโซ่อุปาทาน จุดเริ่มต้นที่สำคัญของความพยายามดังกล่าวคือหลักการ 10 ประการของข้อตกลงระดับโลกขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นโครงการด้านความยั่งยืนขององค์กรทั่วโลกแบบสมัครใจที่ใหญ่ที่สุดในโลก นับตั้งแต่มีการเปิดตัวข้อตกลงนี้เมื่อปี 2543 (ค.ศ.2000) มีธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 160 ประเทศ โดย 28% ของบริษัทที่ติดอันดับ 500 บริษัทของฟอร์จูนก็ได้เข้าร่วมในข้อตกลงดังกล่าวแล้ว
สำหรับข้อตกลง 10 หลักการดังกล่าวนั้นมาจากการประกาศและการประชุมในระดับระหว่างประเทศในหัวข้อ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) การประกาศขององค์กรสากลด้านแรงงาน หลักการและสิทธิพื้นฐานในการทำงาน (International Labour Organization’s Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Rio Declaration on Environment and Development) และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านทุจริต (United Nations Convention Against Corruption) ซึ่งข้อตกลงเหล่านี้เป็นตัวแทนของกฎระเบียบสากลที่องค์การสหประชาชาติจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและวิธีการดำเนินธุรกิจตามแนวทางของ SDGs
กรอบการดำเนินงานขององค์การสหประชาชาติซึ่งทั่วโลกรับไปเป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันทั่วโลกนั้น จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาประชาคมโลกทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปจนถึงเป้าหมายในปี 2573 ด้วยความมุ่งหวังที่จะร่วมกันสร้างสังคมโลกที่มีความสงบสุขร่วมกันตลอดไป
ที่มา: https://sloanreview.mit.edu/article/the-right-way-to-support-the-uns-sustainable-development-goals/
Related posts
Tags: Environmental Management, Health, Sustainability Management
ความเห็นล่าสุด