บทความ เรื่อง อุตสาหกรรมร่วมใจ แก้ไขปัญหาโลกร้อน ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงการผลิตซีเมนต์ว่าเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ใช้พลังงานมากที่สุดทั่วโลก และสมาคมซีเมนต์เยอรมัน ได้ให้ความสนใจในเรื่องการติดตามและการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ต่อมาได้ให้ความสนใจมาตรฐานไอเอสโอเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ปัจจุบัน ไอเอสโออยู่ระหว่างพัฒนาชุดมาตรฐาน ISO 19694 – Stationary source emissions ซึ่งเรียกว่า ISO/NP หรือ New Proposal
สำหรับบทความในตอนนี้จะกล่าวถึงชุดมาตรฐานทั้ง 6 ฉบับและประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. ISO 19694 -1, Determination of greenhouse gas (GHG) emissions in energy-intensive industries — Part 1: General aspects
2. ISO 19694 -2, Greenhouse Gas (GHG) emissions in energy-intensive industries — Part 2: Iron and steel industry
3. ISO 19694 -3, Determination of greenhouse gas (GHG) emissions in energy-intensive industries — Part 3: Cement industry
4. ISO 19694 -4, Determination of greenhouse gas (GHG) emissions in energy-intensive industries — Part 4: Aluminium industry
5. ISO 19694 -5, Determination of greenhouse gas (GHG) emissions in energy-intensive industries — Part 5: Lime industry
6. ISO 19694 -6, Determination of greenhouse gas (GHG) emissions in energy-intensive industries — Part 6: Ferroalloy industry
มาร์เซล คูเลมาน ประธานคณะอนุกรรมการ ISO/TC 146/SC1 ซึ่งเป็นผู้พัฒนามาตรฐานคุณภาพอากาศที่มาจากแหล่งปิด กล่าวว่า “ถึงแม้ว่ามาตรฐานการติดตามและการรายงานนี้อาจจะดูไม่เหมือนขั้นตอนที่มีวิวัฒนาการแล้ว แต่ถ้าไม่มีมาตรฐานตัวนี้ เราก็อาจจะไม่มีข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับแหล่งที่สร้างมลพิษในโลกนี้ และปัจจุบัน อุตสาหกรรมเหล่านี้ยังคงมีการวัดข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยวีธีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งส่งผลต่อความแม่นยำเมื่อทำการเปรียบข้อมูลกัน”
เรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ ประการแรก ผู้ผลิตอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับผลกระทบของบริษัทตนเอง กล่าวคือ บริษัทอาจทำได้ดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าที่คิดไว้ แต่บริษัทจะไม่รู้แน่นอนจนกว่าทุกบริษัทจะหันมาใช้วิธีการเดียวกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ บางบริษัทก็อาจจะรู้ว่าองค์กรของตนไม่ได้มีประสิทธิภาพมากเท่าที่คิดไว้ แต่มันก็จำเป็นที่จะก้าวไปสู่ขั้นตอนนี้ถ้าทุกคนต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง
ประการที่สอง ในการติดตามองค์กรอย่างคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะมีมุมมองอันแม่นยำในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหากไม่มีการวัดผลกระทบที่แท้จริงของอุตสาหกรรมไปในทิศทางเดียวกัน และจะยากยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อต้องอาศัยความร่วมมือในการตอบสนองการแก้ปัญหาดังกล่าวในระดับที่สูงขึ้น เช่นในระดับประเทศและระดับระหว่างประเทศ
ประการที่สาม หากปราศจากการวัดที่เปรียบเทียบได้ ก็ยากที่จะระบุวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับปฏิบัติการที่มีความหมายในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ต่อจากนี้ไป จะเป็นครั้งแรกที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานในระดับเข้มข้น สามารถนำไปเปรียบเทียบกันได้ และไม่ใช่แค่เปรียบเทียบประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการเปรียบเทียบกันระหว่างสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ
ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่โรงงานทั่วโลกจะใช้วิธีการเดียวกัน หนึ่งตันกิโลคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากการติดตั้งของอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ จะเท่ากับหนึ่งตันของคาร์บอนไดออกไซด์จากทั่วโลก ซึ่งไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป เนื่องจากวิธีการรายงานมีความแตกต่างกัน
มาตรฐานเหล่านี้เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมสะอาดที่ต้องการการควบคุม ตัวอย่างเช่น โครงการที่มุ่งไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจได้รับการยอมรับร่วมกันระหว่างประเทศหรือแม้แต่บริษัท ซึ่งการใช้วิธีใหม่นี้ในการติดตามผล เป็นต้น
มาตรฐานนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนานโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมให้แม่นยำมากขึ้น ดังนั้น ผลกระทบของมาตรฐาน ISO 19694 จึงก้าวไปไกลเกินกว่าเรื่องของเอกสารทางวิชาการหรือความพยายามในการมีส่วนร่วมทางสังคมที่กว้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สิ่งที่คูเลมานประทับใจมากที่สุดในบทบาทที่เขาทำในฐานะประธานคณะกรรมการ คือ เขาพบว่าอุตสาหกรรมไม่ได้เต็มใจที่จะก้าวไปสู่ความท้าทายในเรื่องการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเสมอไป แต่ผู้ที่อยู่ในคณะกรรมการต่างรู้ว่าจะมีผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่ตามมา และความสนใจที่แตกต่างกัน ซึ่งได้มีการนำมาพิจารณาในการพัฒนามาตรฐานด้วย แต่เมื่อเขาถามคนในที่ประชุมว่าแล้วทุกคนยังอยากพัฒนามาตรฐานเหล่านี้อยู่หรือไม่ ทุกคนก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าใช่
คำถามสุดท้ายคือ ไอเอสโอมีการรวมรวมมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมาตรฐานที่จะใช้วัดจำนวนและติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว ดังนั้น ทำไมมาตรฐานใหม่เหล่านี้จึงยังมีความจำเป็นอีก
สำหรับคูเลมาน เขาบอกว่าประโยชน์ที่อุตสาหกรรมได้รับนั้นตรงไปตรงมามาก และการมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมนั้นก็มีนัยสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะอุตสาหรรมที่ใช้พลังงานเข้มข้น การพัฒนามาตรฐานใหม่ ISO 19694 จะช่วยให้มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมากขึ้นและช่วยให้การเปรียบเทียบข้อมูลมีความแม่นยำมากขึ้น
ประโยชน์ของการสร้างมาตรฐานเหล่านี้ของไอเอสโอ คือ ไอเอสโอไม่เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากกประสบการณ์ในการพัฒนามาตรฐานสากลเท่านั้น แต่ยังมีการเชื่อมโยงวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดที่พัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO/TC 207 และสุดท้ายคือการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
ผู้สนใจศึกษามาตรฐานดังกล่าวสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ https://www.iso.org/standard/73760.html
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2288.html
Related posts
Tags: Climate Change, Environment, Standardization
Recent Comments