ทั่วโลกมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ซึ่งมาตรการหนึ่งที่สามารถนำไปปรับใช้เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในโลกอนาคตได้ก็คือ มาตรฐานใหม่ของไอเอสโอโดยมีกรอบการดำเนินงานที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านั้นได้
นับตั้งแต่มีการประชุมเอิร์ธซัมมิทครั้งแรกที่ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อปี 2535 (ค.ศ.1992) เป็นต้นมา ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งทำให้เกิดความตกลงด้านสิ่งแวดล้อมแบบพหุพาคีรวมทั้งกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework on Climate Change Convention: UNFCC) และองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลกต่างมีความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น
การรณรงค์ในโครงการที่ใช้พลังงานทดแทนและมาตรการจูงใจต่างๆ ทั่วโลกเป็นวิธีการที่ช่วยส่งเสริมการบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน แต่จากข้อมูล “รายงานช่องว่างของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” เมื่อปีที่แล้วซึ่งองค์การสหประชาชาติได้เผยแพร่ออกมา ทำให้เราทราบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกยังคงมีปริมาณสูงขึ้น แม้ว่าอัตราการเติบโตจะลดลงจากปีก่อนๆ ก็ตาม
มนุษย์เรายังคงต้องรับผลที่ตามมาของการทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่การบาดเจ็บล้มตายจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติหรือสภาพอากาศอันรุนแรงเท่านั้น แต่เรายังต้องเสียเงินเสียทองไปกับการสูญเสียชีวิต การทำลายชุมชน และการปลูกสิ่งก่อสร้างที่เสียหายขึ้นมาใหม่ เมื่อปีที่แล้ว พบว่ามีการบันทึกรายการค่าเสียหายจากการประกันภัยธรรมชาติที่บริษัทประกันภัยจ่ายไปในราคาที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาจากปรากฎการณ์พายุเฮอริเคนในสหรัฐอเมริกาและปรากฎการณ์น้ำท่วมในเอเชียใต้
จากข้อมูลรายงานเรื่อง Economic Case for Climate Action in the United States ของ Universal Ecological Fund ระบุว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาในประเทศสหรัฐอเมริกา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทำให้อากาศสุดขั้วทวีรุนแรงมากขึ้นไปพร้อมๆ กับผลกระทบด้านสุขภาพจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 240 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ในประเทศสหราชอาณาจักร สภาพอากาศสุดขั้วอย่างน้ำท่วมหรือความแห้งแล้งซึ่งได้มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ทำให้ส่งผลเสียอย่างรุนแรงต่อชุมชนและธุรกิจ คริสโตเฟอร์ เฮย์ตัน หัวหน้ากิจการสาธารณะของแองเกลียนวอร์เตอร์ซึ่งเป็นบริษัทที่นำน้ำมารีไซเคิลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหราชอาณาจักร ระบุว่าในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา มีความแห้งแล้งเกิดขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อลูกค้าในแง่ของการจำกัดปริมาณการใช้น้ำอย่างเข้มงวด
ในขณะเดียวกัน เหตุการณ์น้ำท่วมทำนายได้ยากมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยง ไม่เพียงแต่ความเสี่ยงสำหรับลูกค้าเท่านั้น แต่เป็นความเสี่ยงสำหรับทรัพย์สินที่มีค่าของบริษัทด้วย ความเสี่ยงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตในครัวเรือนและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วซึ่งมีการทำนายล่วงหน้าไว้สำหรับอีก 25 ปีข้างหน้า
การอพยพของประชากรไปสู่เมืองไม่ได้เป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นในประเทศสหราชอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นทั่วโลกที่มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อทรัพยากรของโลกซึ่งตกอยู่ภายใต้ภาวะที่ตึงเครียดอยู่แล้ว ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Department of Economic and Social Affairs) คาดการณ์ว่าประชากรทั่วโลกจะเติบโตมากขึ้นถึง 9.7 พันล้านคนภายในปี 2593 (ค.ศ.2050)
โลกของเราจำเป็นต้องมีการวัดเพื่อจัดการกับผลของอากาศที่แปรปรวน ตัวชี้วัดที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เช่น มีปฏิบัติการที่เหมาะสมในปัจจุบันเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียงหายเมื่อถูกภัยหายนะจู่โจม ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นและลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน
แม้ว่าแผนการปรับตัวจะมีอยู่แล้วในบางประเทศ แต่ก็ยังจำเป็นต้องทำอะไรมากกว่านั้น เซลิน่า ไซตัน อิบราฮิม รองประธานคณะอนุกรรมการของไอเอสโอ SC 7, Greenhouse gas management and related activities ในคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 207, Environmental management ได้กล่าวไว้
เมื่อปีที่แล้ว มีการศึกษาที่พบว่ามีความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งมาจากน้ำมือมนุษย์กับเหตุการณ์ที่เกิดภูมิอากาศแบบสุดขั้ว การบรรเทาปัญหาและการปรับใช้มาตรการเป็นเสมือนเหรียญสองด้านที่ใช้ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น จึงต้องมีปฏิบัติการที่จะบรรเทาปัญหานี้และมีตัวชี้วัดที่ทำไปปรับใช้ได้ร่วมกันทันที
ในการประชุม COP 22 เมื่อปี 2559 (ค.ศ.2016) ซึ่งเป็นเวลาหนึ่งปีหลังจากเกิดข้อตกลงปารีส มีการปฏิญาณว่าจะช่วยสนับสนุนโดยมอบเงินปีละ 100 พันล้านเหรียญสหรัฐไปจนถึงปี 2563 (ค.ศ.2020) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเมื่อมีการประชุม COP 23 เมื่อปีที่แล้ว ก็มีโครงการอื่นๆ เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ไอเอสโอยังพัฒนามาตรฐานเพื่อปรับตัวรับภาวะโลกร้อนด้วย รายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามในตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
https://www.iso.org/news/ref2289.html
Related posts
Tags: Climate Change, Environment, Standardization
Recent Comments