จากบทความเรื่อง ไอเอสโอไขความลับการเงินเพื่อโลกสีเขียว ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงความตื่นตัวจากทุกภาคส่วนทั่วโลกในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Environment Programme: UNEP) ได้กำหนดว่าภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) โครงสร้างพื้นฐานของโลกที่จำเป็นจำนวนมากจะต้องมีการปรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่ยุคที่จะก้าวไปสู่เศรษฐกิจใหม่ (New Climate Economy) ซึ่งมีแนวคิดว่าเศรษฐกิจทั่วโลกสามารถเติบโตควบคู่ไปกับการป้องกันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม การป้องกันและแก้ไขปัญหานี้จำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาล
สำหรับธนาคารโลกได้เริ่มต้นตราสารหนี้สีเขียวเมื่อปี 2543 (ค.ศ.2008) ซึ่งมีการเปิดตัวกรอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดโครงการทางการเงินเพื่อเงินกู้ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยมีการระดมทุนเพื่อดำเนินโครงการที่ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นการใช้พลังงานหมุนเวียน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม เป็นต้น และทำให้ตลาดสารหนี้สีเขียวมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น
สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงองค์กรมาตรฐานระดับโลกอย่างไอเอสโอว่ามีส่วนในการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เป็นอย่างมาก ดังต่อไปนี้
คณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 207, Environmental management คณะอนุกรรมการไอเอสโอ SC 4 Environmental performance evaluation ได้หยิบยกประเด็นของตราสารหนี้สีเขียวขึ้นมาในแง่ของความหมายของคำว่าตราสารหนี้สีเขียว ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนเกิดความสับสนได้ ดังนั้น จึงมีความพยายามที่จะให้คำจำกัดความของคำว่า “สีเขียว” ให้ชัดเจน โดยได้มีการกำหนดมาตรฐาน ISO 14030, Green bonds – Environmental performance of nominated projects and assets ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นอกจากนี้ ไอเอสโอยังได้มีส่วนสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่นมาตรฐานดังต่อไปนี้
ISO 14007 Environmental management — Determining environmental costs and benefits – Guidance (อยู่ระหว่างการพัฒนามาตรฐาน)
ISO 14008 Monetary valuation of environmental impacts and related environmental aspects – Principles, requirement and guidelines (อยู่ในระหว่างการพัฒนามาตรฐาน)
ISO 14030 Green Bonds (อยู่ในระหว่างการพัฒนามาตรฐาน)
ISO 14097 Framework and principles for assessing and reporting investments and financing activities related to climate change (อยู่ในระหว่างการพัฒนามาตรฐาน)
ISO 14001 มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ISO 5001 มาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน
หากเศรษฐกิจและการค้าเป็นการหนุนนำให้เกิดโลกาภิวัตน์แล้ว การรวมเอาเรื่องของเศรษฐศาสตร์กับการจัดการสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกันจะเป็นเรื่องสำคัญถ้าเรายังต้องการที่จะใช้ชีวิตในโลกที่มีความยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านเพื่อก้าวไปสู่โลกเช่นนี้ จำเป็นต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงวิถีของการให้คุณค่ากับทรัพยากรและเรื่องของการบัญชีที่มีการคิดถึงค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม และถ้าการเงินด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจสำคัญที่จะปลดปล่อยเงินทุนเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลง มาตรฐานไอเอสโอก็เป็นมาตรฐานที่จะเตรียมกรอบการดำเนินงาน โครงสร้างและสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจอุตสาหกรรมที่ต้องการดำเนินธุรกิจเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เศรษฐกิจโลกจะก้าวไกล หากทั่วโลกใส่กับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2287.html
ความเห็นล่าสุด