เมื่อเร็วๆ นี้ วารสาร MASCI Innoversity ได้นำเสนอบทความเรื่อง “วันสิ่งแวดล้อมโลก เราจะรักษ์โลกได้อย่างไร” ซึ่งเราทุกคนสามารถช่วยได้ด้วยการงดใช้พลาสติก แต่มีคำถามว่า ในทางปฏิบัติ เราจะทำได้มากน้อยแค่ไหน แล้วใครจะช่วยแก้ไขปัญหานี้
พลาสติกเป็นวัสดุที่สำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา มันช่วยให้เรามีบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย ช่วยทำให้เก็บอาหารได้นานขึ้น ช่วยสร้างวัสดุที่มีการใช้พลังงานต่ำ ถ้าเป็นพลาสติกที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ (Biocompatability) ที่ใช้ในเครื่องมือแพทย์ ก็สามารถช่วยชีวิตมนุษย์ได้ (ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐาน ISO 10993, Biological Evaluation of Medical Devices ขึ้นมาเพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงทางชีวภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือแพทย์) แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดจากพลาสติกที่เหลือใช้ด้วย
ในขั้นสุดท้ายแล้ว พลาสติกที่มีการใช้งานแล้วก็ถูกโยนทิ้งไป ดังนั้น พลาสติกนับล้านตันจึงกลายเป็นขยะที่ลอยออกไปสู่มหาสมุทรซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัดและเป็นสัญญาณอันตรายอย่างยิ่งต่อโลกมนุษย์ของเรา
เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกปีนี้ มีการรณรงค์ให้ต่อต้านมลพิษที่เกิดขึ้นจากพลาสติก และเรียกร้องให้เราทุกคนร่วมกันต่อสู้เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนี้ ส่วนไอเอสโอก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ได้ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายของโลกด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดของเสียที่ไม่จำเป็น
ตัวอย่างที่ไอเอสโอช่วยให้ธุรกิจลดผลกระทบของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การพัฒนามาตรฐานดังต่อไปนี้
มาตรฐาน ISO 17422 – Plastic – Environment aspects – General guidelines for their inclusion in standards
มาตรฐาน ISO 15270 – Plastic – Guidelines for the recovery and recycling of plastics waste
มาตรฐาน ISO/TR 21960 – Plastics in Environment – Current state of knowledge and methodologies
ISO 16620 – Plastics – Biobased content
ISO 22526 – Plastics – Carbon and environmental footprint of biobased plastics
สำหรับมาตรฐานไอเอเสโอสำหรับสิ่งแวดล้อมทางทะเลก็สามารถช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรอันมีค่าได้เช่นกัน เช่น
มาตรฐาน 18830 – Plastics – Determination of aerobic biodegradation of non-floating plastic materials in a seawater/sandy sediment interface — Method by measuring the oxygen demand in closed respirometer
มาตรฐาน ISO 19679 – Plastics — Determination of aerobic biodegradation of non-floating plastic materials in a seawater/sediment interface — Method by analysis of evolved carbon dioxide
ISO 22404 Plastics – Determination of the aerobic biodegradation of non-floating materials exposed to marine sediment – Method by analysis of evolved carbon dioxide
มาตรฐานเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจในการลดระดับและสมรรถนะวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์พลาสติก ซึ่งจะทำให้มีการใช้งานวัสดุอย่างมีประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ไอเอสโอยังอยู่ระหว่างการพัฒนามาตรฐาน ISO 22403 และ ISO 22766 ซึ่งช่วยกำหนดการรีไซเคิลและการใช้พลาสติกซ้ำ รวมทั้งป้องกันการชะล้างลงสู่สิ่งแวดล้อม
สำหรับมาตรฐาน ISO 22403 เป็นมาตรฐานวิธีทดสอบและข้อกำหนดเกี่ยวกับการประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมของวัสดุที่ไม่ลอยน้ำหากปล่อยลงสู่ท้องทะเลภายใต้สภาพที่มีจุลินทรีย์ที่ชอบอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิปานกลาง (Plastics — Assessment of the inherent aerobic biodegradability and environmental safety of non-floating materials exposed to marine inocula under laboratory and mesophilic conditions — Test methods and requirements)
ส่วนมาตรฐาน ISO 22766 เป็นมาตรฐานการกำหนดระดับการสลายตัวของวัสดุพลาสติกในท้องทะเลภายใต้สภาพจริง- Plastics — Determination of the degree of disintegration of plastic materials in marine habitats under real field conditions
เมื่อพูดถึงการรั่วไหลของพลาสติกลงสู่มหาสมุทรแล้ว การใช้การมาตรฐานเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ช่วยนำไปสู่ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ
ดร.อีริค บิสชอฟ ประธานของคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอซึ่งรับผิดชอบเรื่องพลาสติกและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่าเขามีความเชื่อมั่นว่าการมาตรฐานสามารถสนับสนุนความมีประสิทธิภาพของทรัพยากรที่เพิ่มขึ้นโดยรวม การมาตรฐานสามารถช่วยลดการรั่วไหลของของเสียและสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาของเศรษฐกิจหมุนเวียนซึ่งมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญก็คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในเรื่องนี้อย่างเข้มแข็งก่อนที่ไอเอสโอจะพัฒนามาตรฐานให้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเมื่อมีข้อมูลและการสนับสนุนแล้ว ไอเอสโอก็สามารถพัฒนามาตรฐานขึ้นมาได้อย่างมีข้อมูลที่รัดกุม เหมาะสมกับการใช้งานและมีความทันสมัย
วันสิ่งแวดล้อมโลกซึ่งเกิดขึ้นจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ที่ต้องการความร่วมมือจากทั่วโลกในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นวันที่ผู้คนมารวมตัวกันเพื่อสร้างอนาคตให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับลูกหลานในอนาคต ส่วน UNEP เองก็มีส่วนร่วมในคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอและได้มีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในหลายมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานหลายฉบับนับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ได้มีส่วนช่วยให้บรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนด้วย
ที่มา:
1. https://www.iso.org/news/ref2292.html
2. http://multibriefs.com/briefs/exclusive/biocompatible_plastics_medical_industry.html#.WyCG3u6FNjU
Related posts
Tags: Climate Change, Environment, Standardization
Recent Comments