เครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรเป็นอุปกรณ์เชิงอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานซึ่งมีความซับซ้อน มีการใช้ในการผลิตชิ้นส่วนทั้งแบบพร้อมใช้และผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จ ดังเราจะเห็นว่าเครื่องมือที่ใช้ตัดหรือขึ้นรูปโลหะ ไม้และพลาสติก และอุปกรณ์ทั้งหลาย มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น ยานยนต์ เครื่องจักรทั่วไป วิศวกรรมความเที่ยงตรง สาขาการแพทย์ การขนส่ง อวกาศ และแม่พิมพ์
เครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรจะใช้รูปแบบพลังงานแตกต่างกันออกไป เช่น พลังงานไฟฟ้า อากาศอัด พลังน้ำ พลังงานแฝงในรูปแบบระบบความเย็นและการหล่อลื่น เป็นต้น
ความต้องการพลังงานของเครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรจึงมักจะเป็นข้อมูลหลักที่ใช้ประกอบการลงทุน แต่เรื่องของพลังงานก็ไม่ใช่เรื่องเดียวที่นักอุตสาหกรรมจะนึกถึง สมรรถนะของเครื่องมือเครื่องจักรนั้นมีหลายมิติซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ ข้อกำหนดทางเทคนิควิชาการ และข้อกำหนดในการปฏิบัติงาน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการนำไปใช้ที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมรอยเท้านิเวศ (Ecological Footprint) จึงเป็นความท้าทายสำหรับผลิตภัณฑ์ทั้งหมด อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติก็หายาก และเกณฑ์สมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับเครื่องจักรจำเป็นต้องมีเกณฑ์ตามที่ระบุไว้
เมื่อเร็วๆ นี้ ไอเอสโอได้ตีพิมพ์เผยแพร่มาตรฐานใหม่สองเล่มซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับเครื่องมือที่เป็นเครื่องจักร ดังนี้
ISO 14955-1, Machine tools – Environmental evaluation of machine tools – Part 1: Design methodology for energy-efficient machine tools เป็นมาตรฐานที่เน้นความมีประสิทธิภาพด้านพลังงานของเครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรในช่วงการใช้งาน มาตรฐานนี้ยังระบุหน้าที่หลักและองค์ประกอบของเครื่องจักรที่รับผิดชอบต่อความต้องการด้านพลังงานระหว่างที่มีการใช้งาน องค์ประกอบเหล่านี้มีการเปรียบเทียบกับองค์ประกอบก่อนหน้านี้หรือกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อการปรับปรุงในอนาคต
ISO 14955-2, Machine tools – Environmental evaluation of machine tools – Part 2: Methods for measuring energy supplied to machine tools and machine tool components เป็นมาตรฐานที่สนับสนุนวิธีการออกแบบด้านการประหยัดพลังงานตามมาตรฐาน ISO 14955-1 ด้วยการจัดเตรียมวิธีการเชิงปฏิบัติสำหรับการวัดพลังงานที่ใช้กับเครื่องจักร
ราลฟ์ ไรนส์ ผู้ประสานงานของคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอที่ 39 กลุ่มงานที่ 12 (ISO/TC 39/WG 12) ของไอเอสโอที่พัฒนามาตรฐานดังกล่าว อธิบายว่า มาตรฐานนี้เป็นเพียงมาตรฐานเดียวที่ให้ความสนใจในหัวข้อดังกล่าวซึ่งมีการออกแบบมาสำหรับเครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรซึ่งครอบคลุมหัวข้อในแนวทางที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรทุกอย่างแม้ว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมากทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีในการผลิต วัสดุ และขนาด เช่น เทคโนโลยีการกัด การพลิก การบด กระบวนการเลเซอร์ การขึ้นรูป, วัสดุจำพวกเหล็ก ไม้ พลาสติก และขนาดผลิตภัณฑ์ที่เล็กพอมองเห็นได้ไปจนถึงขนาดจิ๋ว เป็นต้น มาตรฐานจึงเน้นไปที่ผู้ใช้พลังงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุสมรรถะที่สูงขึ้นด้านสิ่งแวดล้อมในขณะเดียวกันก็ยังให้ความใส่ใจด้านเทคนิควิชาการด้วย
จากรายงานการศึกษาตลาดปี 2559 (ค.ศ.2016) ของสมาคมผู้ก่อสร้างเครื่องมือเครื่องจักรเยอรมัน พบว่าการผลิตเครื่องจักรของโลกมีมูลค่าถึง 67.7 พันล้านเหรียญยูโร ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเครื่องจักรและระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนับว่าเป็นความท้าทายใหม่ในการออกแบบเครื่องจักร ปัจจุบัน สำหรับชุดมาตรฐานใหม่ ISO 14955 แล้ว ประสิทธิภาพด้านพลังงานมีแนวโน้มที่จะเป็นคุณสมบัติของเครื่องจักรที่ทันสมัย
ISO 14955-1 และ ISO 14955-2 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 39, Machine tools และมีสถาบันมาตรฐานของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นเลขานุการ
ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสั่งซื้อจากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2262.html
Related posts
Tags: Environment, ISO, Standardization
ความเห็นล่าสุด