ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรนับว่าเป็นพื้นฐานด้านเศรษฐกิจของประเทศไนจีเรีย และยังเป็นอาหารของคนในประเทศไนจีเรียรวมทั้งเป็นพืชผลที่นำไปขายในประเทศต่างๆ ด้วย ปัจจุบันนี้ ภาคเกษตรกรรมกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมาตรฐานสำหรับอาหารก็มีการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง ทำให้อุตสาหกรรมอาหารเกษตรมีศักยภาพมากขึ้น
สำหรับความท้าทายด้านความมั่นคงของอาหารโลก คือโลกของเราจะต้องมีอาหารสำหรับคนทั่วโลกที่จะมีเพิ่มขึ้นถึง 9.7 พันล้านคนภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) ซึ่งหมายความว่าความต้องการอาหารจะมีมากขึ้นถึง 60% นับจากปัจจุบันนี้
ในด้านเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) นั้น ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) โลกของเราจำเป็นจะต้องยุติความหิวโหยและมีความมั่นคงด้านอาหาร รวมทั้งส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในข้อ 2 จาก 17 ข้อ
ไนจีเรียเป็นประเทศแรกๆ ที่สนใจนำเป้าหมาย SDGs ขององค์การสหประชาชาติไปใช้ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากองค์การสหประชาชาติเมื่อเดือนกันยายน 2558 (ค.ศ.2015) และมีการวางแผนและนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว แม้ว่าจะมีความเชื่อมั่นในด้านเกษตรกรรมซึ่งเชื่อมโยงกับการจ้างงานของประเทศไนจีเรียถึง 70% ก็ตาม
ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติได้ใช้กลไกในการระดมทุนสนับสนุนด้านเป้าหมาย SDGs รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารในภูมิภาคต่างๆ ในโครงการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น ปัจจุบันนี้ ประเทศไนจีเรียกำลังกลับมาเน้นในเรื่องเกษตรกรรมเนื่องจากมีการมุ่งเน้นในเรื่องความมั่นคงด้านอาหารในบางส่วนของประเทศ
สำหรับความมั่นคงด้านอาหารมีความสำคัญและเร่งด่วน เนื่องจากทุกคนต้องการอาหาร หากปราศจากสารอาหารแล้ว ร่างกายเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้ อย่างไรก็ตาม มีรายงานหลายรายงานได้ระบุว่า 1 ใน 10 ของประชากรโลกจำนวน 7.6 พันล้านคน ประสบกับความหิวโหย ในขณะที่สถิติประชากรของโลกกำลังสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
เรื่องของความมั่นคงด้านอาหารจะมีการคำนึงถึงอาหารที่สามารถหาได้และการเข้าถึงอาหารที่สามารถหาได้ ซึ่งไนจีเรียเคยมีความสามารถในด้านเกษตรกรรมที่สามารถผลิตอาหารสำหรับประชากรและส่งออกส่วนเกินได้ ปัจจุบัน แม้ว่าประเทศไนจีเรียจะมีศักยภาพด้านเกษตรกรรมซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่ แต่ก็ยังเป็นประเทศผู้นำเข้าอาหารอยู่ดี
เมื่อใดก็ตามที่แหล่งอาหารอันเป็นรายได้ของรัฐบาลและการได้มาซึ่งการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศยังมีไม่มากนัก เกษตรกรรมในประเทศไนจีเรียก็จะยังคงประสบปัญหาจากการลงทุนในระดับต่ำซึ่งมีมานานนับสิบปี นอกจากนี้ นโยบายของประเทศก็ไม่ได้รับความสนใจและสูญเสียโอกาสอันเนื่องมาจากวัสดุที่ใช้ในการเพาะปลูกไม่มีคุณภาพ ปริมาณการใช้ปุ๋ยอยู่ในระดับต่ำ รวมไปถึงระบบการขยายเกษตรกรรมที่ไม่เข้มแข็ง
แม้ว่าความไม่มั่นคงด้านอาหารในประเทศไนจีเรียจะผูกอยู่กับการผลิตที่มีปริมาณต่ำ (มีการเพาะปลูกพืชหัวและราก 8.41 %, ธัญพืช 1.09 % และพืชตระกูลถั่ว 2.85 %) แต่ก็ยังความต้องการเร่งด่วนที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตให้สูงขึ้น
การแข่งขันด้านอาหารที่เพิ่มขึ้นทำให้มีความต้องการยุติการแก้ไขปัญหามากขึ้น แต่ขั้นต่อไปที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงก็คือ ต้องนำภาคเกษตรกรรมไปสู่การใช้เครื่องจักรเพื่อการเติบโตไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ แต่การจะเริ่มต้นได้นั้น ไม่ใช่ว่าจะทำได้ทันที จะต้องมีแนวทางที่จำเป็นอยู่ด้วย
การที่ผลผลิตจะเพียงพอสำหรับประชากรนั้น ผลผลิตต้องลงตัวพอดีกับเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวซึ่งเป็นตัวกำหนดคุณภาพสุดท้ายของผลผลิตอันรวมไปถึงการปกป้องผลผลิตจากความเสียหายจากเทคนิคการเก็บรักษา (สิ่งนี้ยังเป็นตัวกระตุ้นให้มีการผลิตและป้องกันการกักตุนอาหารภาคเกษตรด้วย) นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องมีแนวทางโดยรวมสำหรับการวิจัยด้านเกษตรกรรม สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในห่วงโซ่คุณค่าด้านเกษตรกรรม
อนาคตด้านเกษตรกรรมและความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศไนจีเรียจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2300.html
ความเห็นล่าสุด