• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,906 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    14,898 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,237 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,135 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    9,678 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — July 25, 2018 8:00 am
อาหารแห่งโลกอนาคตกับ ISO 22000 ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 3119 reads
0
  

FOOD-OF--THE-FUTURE-AND--ISO-22000-2บทความเรื่อง อาหารแห่งโลกอนาคตกับ ISO 22000 ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงความสำคัญของมาตรฐาน ISO 22000 ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการจัดการความปลออภัยอาหาร ที่มีความเชื่อมโยงกับ มาตรฐานของ Codex Alimentarius ทำให้ให้รัฐบาลทั่วโลกสามารถอ้างอิงสำหรับการตรวจสอบของรัฐบาลรวมทั้งข้อกำหนดระดับประเทศ และบทความในตอนที่ 2 นี้ ยาคอบ ฟาแอเฟอร์มาน ประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 34, Food products, และคณะอนุกรรมการที่ 17, Management systems for food safety และซีอีโอของบูโร เวอริทัส นอร์เวย์ ได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของมาตรฐาน ISO 22000 ไว้ดังต่อไปนี้

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ทำให้เข้าใจมาตรฐานก็คือการแนะนำให้รู้จักกับ HLS หรือ High-Level Structure ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ใช้ร่วมกันกับมาตรฐานระบบการจัดการของไอเอสโอทุกมาตรฐาน ฟาแอเฟอร์มานอธิบายว่า มาตรฐานนี้จะช่วยให้องค์กรได้รับประโยชน์จากการใช้มาตรฐานระบบการจัดการมากกว่าหนึ่งระบบ

มาตรฐานนี้ยังให้ประโยชน์องค์กรในการมีแนวทางที่แตกต่างกันในความเข้าใจเรื่องความเสี่ยง ซึ่งแนวความคิดของความเสี่ยงมีการนำไปใช้ในหลายทางและมีความสำคัญมากสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างการประเมินอันตรายที่เป็นที่รู้จักในระดับปฏิบัติการและแนวคิดความเสี่ยงของธุรกิจ (ซึ่งนำเสนอในโครงสร้างใหม่)

มาตรฐาน ISO 22000 ฉบับใหม่มีการอธิบายอย่างชัดเจนถึงวงจร PDCA ด้วยการมีวงจรที่แยกออกจากกัน 2 วงจรซึ่งทำงานร่วมกัน วงจร PDCA สองวงมีการทำงานอยู่ภายในอีกวงหนึ่งซึ่งเป็นวงที่ครอบคลุมระบบการบริหารจัดการและอีกวงหนึ่งซ้อนอยู่ภายใน ซึ่งการปฏิบัติการมีการทำงานไปพร้อมๆ กันและครอบคลุมหลักการของ HACCP ที่ระบุในมาตรฐาน Codex ด้วย

การวิเคราะห์จุดอันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (Hazard Analysis and Critical Control Points: HACCP) เป็นระบบของหลักการที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานธุรกิจอาหารพิจารณาถึงวิธีจัดการกับอาหารและแนะนำกระบวนการที่ทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์อาหารมีความปลอดภัยในการรับประทาน

จากคำกล่าวของฮาน เบนน์ ธอมสัน ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสระบบคุณภาพที่ Chr. Hansen A/S บริษัทด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่พัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาตามธรรมชาติสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ระบุว่า สำหรับโภชนาการ เภสัชกรรมและเกษตรกรรมซึ่งมาตรฐาน ISO 22000 ได้ทบทวนนั้นก้าวไปไกลมากกว่าหลักการดั้งเดิมของ HACCP โดยเพิ่มการเน้นในเรื่ององค์ประกอบของความเสี่ยงเมื่อมีการผลิตอาหารเพื่อพิจารณาในเรื่องของซัพพลายเชนอย่างกว้างขวาง

ฮาน เบนน์ ธอมสัน เชื่อว่าความแข็งแกร่งของมาตรฐาน ISO 22000 คือเป็นมาตรฐานที่เป็นที่รับรู้กันทั่วโลก บริษัทที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อาหารทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจได้รับการรับรองตามมาตรฐานนี้และออกใบรับรองโดยหน่วยงานอิสระ ในการใช้มาตรฐานนี้  ได้มีการแบ่งปันในเรื่องภาษาของความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันแล้วทั่วโลก

นอกจากนี้ มาตรฐาน ISO 22000 ฉบับใหม่ยังเป็นมาตรฐานทั่วไปที่ช่วยกำหนดกรอบการทำงานสำหรับระบบที่ต้องมีการนำไปใช้เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งยังทำให้องค์กรด้านอาหารมีเครื่องมือในการ ระบุและประเมินอันตรายเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหาร และหากไม่มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายเกิดขึ้น จะมีวิธีลดผลกระทบให้ผู้บริโภคให้มากที่สุดได้อย่างไรเพื่อที่จะสามารถควบคุมผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับผลกระทบได้

เป็นที่ชัดเจนว่านโยบายรัฐบาลและความร่วมมือระหว่างประเทศจะเป็นหัวใจสำคัญ ทั้งในตลาดที่พัฒนาแล้วและที่ยังไม่พัฒนา ในการผลักดันความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการสร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับวาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ขององค์การสหประชาชาติที่มีเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ข้อ ทั้งนี้ ข้อที่ 17 คือ หุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs พอล เบสเซลลิ่ง จากบริษัท Précon Food Management และเจ้าหน้าที่ประสานงานจากคณะอนุกรรมการวิชาการที่ 17 ของ Codex Alimentarius กล่าวว่า สำหรับผู้บริโภคและสังคมโดยรวมแล้ว เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้ที่มีอำนาจหน้าที่และธุรกิจการค้าจะมีการใช้หลักการและแนวทางเดียวกันในด้านความปลอดภัยของอาหาร  ความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายและมาตรฐานธุรกิจจะต้องมีลำดับความสำคัญสูงในเรื่องของนโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร สหภาพยุโรปหรืออียูจึงมีการสนับสนุนการพัฒนามาตรฐาน ISO 22000

เขายังเน้นถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงมาตรฐาน ISO 22000 กับหลักการทั่วไปของสุขอนามัยอาหารของ Codex Alimentarius (Codex Alimentarius General Principles of Food Hygiene: GPFH) แม้ว่าจะมีบทบาทที่แตกต่างกันตามธรรมชาติ แต่วัตถุประสงค์ของ GPFH คือเพื่อสนับสนุนและทำให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ด้านความปลอดภัยอาหารมีความสอดคล้องกลมกลืนกันทั่วโลกเพื่อที่จะสร้างกฎและการควบคุมอย่างเป็นทางการที่ตามมาหรือการตรวจสอบ

วัตถุประสงค์ของ ISO 22000 ก็คือเพื่อสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจอาหารให้มีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมาย เพื่อตอบสนองข้อกำหนดของลูกค้าและยังคงมีการปรับปรุงธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

เบสเซลลิ่งกล่าวว่ามาตรฐานฉบับใหม่มีการเน้นไปที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจอาหาร ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจความเสี่ยงของอาหารที่ไม่ปลอดภัยในแง่ของความเสี่ยงทางธุรกิจและทำให้ตำแหน่ง/จุดยืนของบริษัทมีความเข้มแข็งในซัพพลายเชนอาหาร ในทางกลับกัน ผู้มีอำนาจหน้าที่ความปลอดภัยอาหาร การเชื่อมโยงมีความสำคัญเพราะจะช่วยสนับสนุนการทำงานและทำให้งานง่ายขึ้น

และท้ายที่สุด ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจอาหาร เรื่องความเชื่อถือของระบบการจัดการความปลอดภัยอาหารนั้นมีความสำคัญเนื่องจากต้องสอดคล้องกับกฎหมายและยังทำให้ผู้มีอำนาจหน้าที่มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานธุรกิจอาหารมีความสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายเมื่อมีการใช้มาตรฐาน ISO 22000 ไปใช้ในระบบการจัดการขององค์กรแล้ว

https://www.iso.org/news/ref2299.html



Related posts

  • มาตรฐาน IDMP เพื่อการแพทย์ที่ปลอดภัยมากขึ้น ตอนที่ 2มาตรฐาน IDMP เพื่อการแพทย์ที่ปลอดภัยมากขึ้น ตอนที่ 2
  • TCEB นำไทยก้าวเป็นศูนย์กลางไมซ์อาเซียนTCEB นำไทยก้าวเป็นศูนย์กลางไมซ์อาเซียน
  • ไอเอสโอปรับปรุงใหม่ล่าสุด มาตรฐาน “ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล”ไอเอสโอปรับปรุงใหม่ล่าสุด มาตรฐาน “ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล”
  • ไอเอสโอปรับปรุงใหม่ล่าสุด “มาตรฐานเอกสาร PDF”ไอเอสโอปรับปรุงใหม่ล่าสุด “มาตรฐานเอกสาร PDF”
  • แนะไมโครเอสเอ็มอีใช้ “มาตรฐานการบริหารความร่วมมือทางธุรกิจ”แนะไมโครเอสเอ็มอีใช้ “มาตรฐานการบริหารความร่วมมือทางธุรกิจ”

Tags: food safety, ISO, ISO22000

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑