บทความเรื่อง ไอเอสโอร่วมผลักดันเป้าหมาย SDGs ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นซึ่งมีเป้าหมายหลัก 17 ข้อเพื่อบรรลุให้ได้ภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573) โดยมีมาตรฐานสากลของไอเอสโอเป็นตัวช่วยในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว สำหรับมาตรฐานสากลด้านอาหารมีจำนวนมากกว่า 1,600 ฉบับ และสำหรับบทความในตอนที่ 2 นี้ จะกล่าวถึงองค์กรอีกองค์กรหนึ่ง คือ คณะกรรมการ Codex Alimentarius ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของไอเอสโอในการที่จะร่วมผลักดันเป้าหมาย SDGs ให้ประสบความสำเร็จโดยเข้าร่วมพัฒนามาตรฐานสากล ดังต่อไปนี้
นับตั้งแต่เริ่มต้นในปี 1947 (พ.ศ. 2490) คณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 34 ด้านผลิตภัณฑ์อาหาร นับว่าเป็นคณะกรรมการวิชาการที่เก่าแก่ที่สุดของไอเอสโอ และได้ตีพิมพ์เผยแพร่มาตรฐานไปแล้วเกือบ 850 ฉบับ พร้อมด้วยมาตรฐานอื่นๆที่กำลังพัฒนาอยู่อีก 120 ฉบับ ซึ่งครอบคลุมอาหารสำหรับสัตว์ อาหารสำหรับมนุษย์ ตั้งแต่ในฟาร์มไปจนถึงบนโต๊ะอาหาร ซึ่งครอบคลุมคณะอนุกรรมการวิชาการและกลุ่มงานที่โฟกัสทุกเรื่องนับตั้งแต่ผลิตภัณฑ์อาหารและสิ่งที่ใช้เลี้ยงสัตว์ไปจนถึงความปลอดภัย วิตามินและจุลชีววิทยา ทีมผู้เชี่ยวชาญจำนวน 307 คนจาก 138 ประเทศได้ร่วมกันรับผิดชอบมาตรฐานในกลุ่มที่เป็นมาตรฐานสำคัญของอาหาร คือชุดของมาตรฐาน 22000 ด้านการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งจัดเตรียมแนวทางและวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อจัดการความเสี่ยงในการผลิตอาหารทุกสาขา
ซองดรีน เอสเปยแยค เลขานุการของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 34 กล่าวว่า ได้มีการเชิญคณะกรรมการ Codex Alimentarius ให้เข้ามามีส่วนร่วมในคณะทำงานซึ่งเป็นหนึ่งในการทำงานที่มีส่วนทำให้คณะกรรมการวิชาการให้ความใส่ใจอย่างใกล้ชิดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการที่จะมีส่วนร่วมใน SDGs และช่วยพัฒนาโครงการของคณะกรรมการวิชาการที่เชื่อมโยงเข้ากับมาตรฐานในอนาคตสำหรับวาระเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2030 (พ.ศ. 2573) ดังนั้น จะเห็นได้ว่าหลายมาตรฐานมีส่วนร่วมโดยตรงในวาระดังกล่าว แม้ว่าความเชื่อมโยงจะยังไม่เกิดขึ้นมากเท่าที่ควรและยังมีช่องว่างที่การมาตรฐานสามารถมีส่วนร่วมได้มากขึ้นกว่านี้
มาตรฐานนี้ทำให้คณะกรรมการวิชาการเน้นในโครงการที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานปัจจุบันเข้ากับ SDGs เพื่อพัฒนาข้อกำหนดทางวิชาการขึ้นมาใหม่ทั้งหมดซึ่งเน้นโดยตรงที่วิธีที่ภาคส่วนเกษตร-อาหารสามารถเสนอการมีส่วนร่วม
ความรับผิดชอบทางสังคมเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องเชี่อมโยงให้เด่นชัดมากขึ้น เมื่อมีความตระหนักที่เพิ่มขึ้นว่าธุรกิจสามารถเป็นแรงผลักดันที่ดีเพื่อสังคมและโลก บริษัทต่างๆ จึงยังคงมีแนวโน้มที่จะใช้ SDGs เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการดำเนินธุรกิจที่มีส่วนร่วมในเป้าหมายของโลกทั้ง 17 ข้อ รวมถึงธุรกิจอาหารด้วย
ในการที่จะบรรลุศักยภาพอย่างเต็มที่ของ SDGs สำหรับธุรกิจ เราต้องเน้นถึงความสามารถในการดำเนินการอย่างแท้จริงเพื่อกลยุทธ์องค์กร และมาตรฐานสากลยังเป็นการนำเสนอโอกาสให้ทำเช่นนั้นได้ด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ISO/TS 26030 คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 34 กำลังทำงานในเรื่องการนำไปใช้ของภาคส่วนอาหารซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่มีการนำไปใช้อ้างอิงมากที่สุดในโลกในด้านความรับผิดชอบทางสังคม (ISO 26000)
ข้อกำหนดทางวิชาการที่มีการรอคอยมากที่สุดนี้กำลังจะให้แนวทางถึงวิธีการรวมเอาประเด็นหลักของความรับผิดชอบทางสังคมในห่วงโซ่อาหารซึ่งควรจะตอบสนองในการประสานแนวทางที่แตกต่างกันในระดับสากล วัตถุประสงค์ของข้อกำหนดนี้รวมถึงการมีส่วนร่วมใน SDGs ด้วยการจัดเตรียมข้อกำหนดสำหรับธุรกิจและองค์กรในเรื่องวิธีการที่จะปฏิบัติในทางที่โปร่งใสและมีจริยธรรมซึ่งมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
มาตรฐานที่พัฒนาแล้วได้รับการระบุว่าเป็นการเชื่อมโยงกับ SDGs รวมทั้งชุดมาตรฐาน ISO 34101 โกโก้ที่สามารถสอบกลับได้และมีความยั่งยืน สำหรับอุตสาหกรรมโกโก้มีความเกี่ยวข้องกับ SDGs ซึ่งเป็นกิจกรรมที่โดดเด่นของเกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา สำหรับพืชผลที่มีการใช้แรงงานมากนี้มักจะให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำทำให้เกษตรกรดำรงชีวิตได้อย่างยากลำบาก
สำหรับมาตรฐาน ISO 34101, Sustainable and traceable cocoa เป็นแนวทางที่เป็นขั้นเป็นตอนสำหรับการผลิตเมล็ดโกโก้และระบุข้อกำหนดสำหรับระบบการบริหารจัดการ การสอบกลับผลิตภัณฑ์และสมรรถนะที่มีการปรับปรุงแล้ว
การวางรูปแบบการวางแผนการพัฒนาฟาร์ม มีวัตถุประสงค์เพื่อนำการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีไปใช้ ปกป้องสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงสภาพทางสังคมและความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งทำให้การทำฟาร์มโกโก้มีศักยภาพและได้รับความสนใจจากคนหนุ่มสาวมากขึ้นซึ่งมีความสำคัญเนื่องจากอายุเฉลี่ยของเกษตรกรได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในภูมิภาคที่มีการผลิตโกโก้เป็นหลักในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา
ยังมีคณะกรรมการอีกคณะหนึ่งที่มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับ SDGs ได้แก่ คณะกรรมการวิชาการ ISO/TS 34700 สำหรับการบริหารจัดการสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งช่วยให้องค์กรในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีการพัฒนาการวางแผนสวัสดิภาพสัตว์ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับหลักการขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organisation for Animal Health: OIE) ในหลักปฏิบัติด้านสุขภาพสัตว์บก (Terrestrial Animal Health Code: TAHC) และทำให้มั่นใจในสวัสดิภาพของสัตว์ในฟาร์มทั่วทั้งซัพพลายเชน
ในขณะที่มาตรฐานจำนวนมากขึ้นได้มีการระบุไว้ตลอดทั้งปีและเชื่อมโยงกับ SDGs คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 34 จะมีโอกาสในการส่งเสริมประโยชน์ของมาตรฐานอาหารซึ่งควรกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจและมีส่วนร่วมใน SDGs ต่อไป
ซองดรีน เอสเปยแยคกล่าวว่า งานของไอเอสโอไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้ งานดังกล่าวเปรียบเสมือนส่วนปลายที่อยู่บนภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ปัจจุบัน SDGs เป็นส่วนสำคัญของการวางแผนธุรกิจ ซึ่งจะต้องระลึกอยู่เสมอเมื่อมาตรฐานในอนาคตมีการนำเสนอและพัฒนา ดังนั้น เธอจึงหวังว่าทั่วโลกจะยังคงมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมอาหารที่ยั่งยืนมากขึ้น
ในฐานะที่เป็นผู้ดูแลความมั่นคงด้านอาหารของโลก อุตสาหกรรมอาหารมีโอกาสที่โดดเด่นไม่เหมือนใครในการที่จะนำเอาวาระ SDGs มาใช้ให้เป็นประโยชน์และส่งมอบธุรกิจด้วยกลยุทธ์และนวัตกรรมในเรื่องนี้ และเพื่อสนับสนุนองค์กรในความพยายามที่จะเข้าใจและมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ของโลก มาตรฐานใหม่จึงมีความจำเป็น มาตรฐานเหล่านี้จะต้องมีความเฉียบคมมากขึ้น มีการโฟกัสมากขึ้นและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้มากขึ้น ดังนั้น เธอจึงหวังว่าสักวันหนึ่งโลกของเราจะสามารถบรรลุเป้าหมายของยูเอ็นในเรื่องการยุติความหิวโหยบนโลกนี้ได้ในที่สุด
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2307.html
Related posts
Tags: Standardization, Sustainability, Sustainability Management
ความเห็นล่าสุด