เมื่อช่วงต้นปี 2556 (ค.ศ.2013) มีรายงานข่าวว่ามีเนื้อม้าอยู่ผสมในผลิตภัณฑ์เนื้อวัวที่ผ่านกระบวนการและมีการขายในซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศอังกฤษ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารเป็นอย่างมาก ทำให้มีการเพิ่มมาตรการทดสอบอาหารที่เข้มงวดยิ่งขึ้น และส่งผลต่อการก้าวเข้าสู่การมาตรฐานในยุคใหม่ โดยในเวลา 5 ปีต่อมา ไอเอสโอได้มีความพยายามช่วยแก้ไขและต่อสู้กับปัญหาการปลอมปนอาหารในลักษณะดังกล่าว
องค์กรความปลอดภัยอาหารแห่งไอร์แลนด์ (Food Safety Authority of Ireland: FSAI) เป็นหน่วยงานที่เริ่มตั้งข้อสงสัยในเรื่องความปลอดภัยของอาหารเมื่อปี 2555 (ค.ศ.2012) โดยเริ่มตั้งข้อสังเกตว่าเนื้อที่จำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตมีราคาถูกกว่าที่ควรจะเป็น จึงทำการสำรวจและตรวจสอบด้วยวิธีทดสอบวิธีต่างๆ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตร ประมงและอาหาร ประเทศสหราชอาณาจักร ได้ทำการตรวจสอบสิ่งเจือปนในอาหารเช่นกัน ถึงแม้ว่า FSAI จะได้เริ่มต้นไปก่อนแล้วแล้ว แต่กระทรวงเกษตรฯ ก็ทำการตรวจสอบไปด้วยและยังพบว่ามีการผสมเนื้อม้าลงไปในเบอร์เกอร์เนื้อวัวที่ขายในซูเปอร์มาร์เก็ตในไอร์แลนด์และสหราชอาณาจักรเช่นกัน
เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่ความไม่พอใจของสาธารณชนอย่างเห็นได้ชัด และได้เกิดปัญหาในสองประเด็นหลัก ได้แก่ ประการแรก ผู้ซื้อไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะมีเนื้อม้าผสมอยู่ในเนื้อวัวและเชื่อว่าน่าจะเป็นสิ่งอื่นมากกว่าเนื้อม้า ประการที่สอง มีความตรงไปตรงมามากกว่าในส่วนที่ว่าการบริโภคเนื้อม้าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ กล่าวคือ เนื้อม้าที่มีการปนเข้ามาในรูปแบบอื่นของเนื้อ และไม่ใช่เนื้อที่ทำขึ้นมาเพื่อการบริโภคของมนุษย์โดยเฉพาะ แต่มีการนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของยาฟีนิลบิวตาโซน (ใช้รักษาอาการปวดอักเสบจากโรคข้อรูมาตอยด์) ซึ่งไม่เคยนำมาใช้ในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ แต่สุดท้าย FSAI โชคดีที่ได้ข้อสรุปว่าระดับของยาที่ค้นพบในเนื้อวัวที่มีเนื้อม้าผสมอยู่นั้นไม่ได้อยู่ในระดับที่จะทำให้ผู้บริโภคเป็นอันตราย
อย่างไรก็ตาม เนื้อวัวที่ไม่มีการผลิตตามกระบวนการควบคุมคุณภาพโดยสัตวแพทย์หรือมีการประเมินทางจุลชีวิทยานั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ได้ และปัจจัยที่น่าวิตกก็คือ เรื่องนี้เป็นทางเลือกอิสระและใช้ในยาเพื่อการบริโภคของสัตว์เท่านั้น ซึ่งจะต้องทำให้ชัดเจนว่าในขั้นตอนนี้จะมีการป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตในลักษณะเดิมขึ้นอีก
สำหรับเนื้อก็เหมือนกับผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ คือมีการค้าขายข้ามพรมแดนต่างประเทศ การติดตามด้วยการขนส่งก็ไม่ใช่วิธีที่ง่ายและหนึ่งในเหตุผลที่ต้องมีผู้ตรวจสอบหรือผู้สืบสวนก็คือยังไม่มีความมั่นใจว่ากระบวนการที่ปนเปื้อนนั้นได้เกิดขึ้นมานานแค่ไหนแล้ว จึงมีการยึดเนื้อจำนวนมากจากโรงฆ่าสัตว์และสิ่งอำนวยความสะดวกจากกระบวนการผลิตเนื้อจากทั่วยุโรป
แต่คำถามคือ แล้วเนื้อสัตว์ในวงจรที่มีอยู่นั้นยังคงเป็นที่สงสัยอยู่มากน้อยแค่ไหน ซึ่งอันที่จริงแล้ว ทุกวันนี้ การปนเปื้อนเนื้อม้าก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่
เมื่อเดือนตุลาคม 2560 จากการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว พบว่า มีฐานข้อมูลเหตุการณ์การปนเปื้อนที่ส่งผลเชิงเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่า 7.3% ของการปนเปื้อนอาหารยังคงอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เนื้อและเนื้อสัตว์ คำถามสำคัญจากเบอร์ท ป๊อปปิง รองประธานของสมาคมนานาชาติเพื่อการประเมินการประกันคุณภาพในซัพพลายเชนทั้งหมดและผู้สังเกตการณ์งานไอเอสโอ ก็คือ ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นโดยไม่มีการค้นพบการปนเปื้อน ซึ่งส่วนหนึ่งของปัญหาในการระบุการปนเปื้อนเนื้อสัตว์ยังคงไม่มีใครสังเกตเห็นในระยะยาวซึ่งเป็นธรรมชาติของโปรแกรมการทดสอบ แต่ การทดสอบที่ง่ายที่สุดสำหรับองค์ประกอบที่คาดว่าจะมีอยู่ในเนื้อสัตว์นั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ยกตัวอย่างผลไม้ มีการทดสอบยาฆ่าแมลงยาอย่างที่อาจจะมีอยู่ในพืชผลบางอย่าง ในทำนองเดียวกัน ก็มีการทดสอบยาที่ตกค้างบางอย่างในเนื้อไก่และเนื้อวัว แต่ถ้าองค์ประกอบบางอย่างที่ผิดกฎหมายไม่ได้มีการนำมาใช้เป็นเวลานานและไม่มีการทดสอบแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปทดสอบหาค่าให้เกิดผลบวกแต่อย่างใด
เรื่องนี้ยังต่อเนื่องไปถึงความซับซ้อนในความคล้ายคลึงกันของเนื้อสัมผัสอาหารระหว่างเนื้อม้าและเนื้อวัว และในข้อเท็จจริงที่ว่าเนื่องจากเนื้อม้ามีไขมันน้อยและดีต่อสุขภาพมากกว่า และยิ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันกับเนื้อวัวแล้วก็จะเห็นได้ง่าย และสุดท้าย ในบางกรณี ข้อจำกัดด้านงบประมาณก็หมายถึงว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้งหมด และจริงๆ แล้ว การทดสอบเป็นการประเมินที่อยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยง และโดยทั่วไปมีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงสูงที่สุดเพียงอย่างเดียวด้วย
สำหรับมาตรฐานสากลที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีรายละเอียดอย่างไร โปรดติดตามต่อในครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
Related posts
Tags: ISO, safety, Standardization
ความเห็นล่าสุด