อาหารปลอดภัยด้วยมาตรฐานวิธีทดสอบชีวโมเลกุล ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงความเป็นมาของเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อวงการมาตรฐานอาหารยุคใหม่เป็นอย่างมาก คือ เมื่อช่วงต้นปี 2556 มีรายงานข่าวว่ามีเนื้อม้าผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์เนื้อวัวซึ่งวางขายอยู่ในประเทศอังกฤษ ส่งผลให้เกิดมาตรการทดสอบอาหารที่เข้มงวดขึ้น และไอเอสโอได้พยายามแก้ไขปัญหาการปลอมปนอาหารด้วยการพัฒนามาตรฐานวิธีทดสอบชีวโมเลกุลขึ้นมาเพื่อตรวจสอบดูว่าเนื้อสัตว์นั้นมาจากสัตว์ในสปีชีส์ใด และมาตรฐานสากลที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญพบกับคำตอบได้ดังต่อไปนี้
การต่อสู้กับปัญหาการปลอมปนของอาหารเป็นคำถามที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมีความท้าทายในเรื่องดังกล่าว ชุมชนระหว่างประเทศจะป้องกันการปลอมปนเนื้อสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างไร ในเรื่องนี้ มาตรฐานโคเด็กซ์ก็พอจะช่วยได้บ้างแต่ก็ยังไม่เพียงพอ
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ Codex Alimentarius ร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลระหว่างประเทศของ FAO และ WHO มีการดำเนินงานเพื่อปกป้องสุขภาพของผู้บริโภคและทำให้มั่นใจว่าจะมีการปฏิบัติที่เป็นธรรมในการค้าอาหาร ซึ่งมีการรวมเอาการระบุสปีชีส์สำหรับพืช ปลา แต่ก็ไม่ได้มีมากไปกว่านี้ โดยเฉพาะการระบุสปีชีส์ของเนื้อ (ยิ่งผ่านกระบวนการออกไปมากเท่าใด ก็ยิ่งระบุสปีชีส์หรือที่มาของเนื้อได้ยากขึ้นเท่านั้น) ด้วยเหตุนี้เอง มาตรฐานไอเอสโอจึงจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
เรย์ ชิลลิโต ซึ่งเป็นประธานของคณะอนุกรรมการทางวิชาการไอเอสโอในด้านวิธีการทดสอบชีวการแพทย์ (ISO/TC 34/SC 16) และประธานกลุ่มที่ปรึกษาทางวิชาการของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า แรงผลักดันเริ่มต้นสำหรับการสร้างมาตรฐานสำหรับเนื้อสัตว์ มาจากประเทศอิหร่าน เนื่องจากรัฐบาลอิหร่านให้ความใส่ใจเกี่ยวกับเนื้อลาซึ่งเข้ามาแทนที่สำหรับเนื้อที่ได้รับการรับรองฮาลาล และเขาตระหนักว่าไม่อาจจะติดตามตรวจสอบเนื้อสัตว์ได้เท่าที่ควรทำโดยปราศจากการสนับสนุนระหว่างประเทศ
ดังนั้น การพัฒนามาตรฐานสากลขึ้นมาจึงเกิดขึ้นโดยที่มาตรฐานไอเอสโอเกิดขึ้นด้วยวิธีการที่มีความเห็นพ้องต้องกันและประเทศต่างๆ สามารถนำไปใช้งานเพื่อให้ได้ผลในเชิงเปรียบเทียบได้ การมาตรฐานจึงมีความสำคัญเพราะนอกเหนือจากเรื่องอื่นๆ แล้ว เมื่อมีการเจรจาสัญญาการค้าแล้วมีการระบุว่าผลิตภัณฑ์มีการทดสอบตามมาตรฐานไอเอสโอ ก็จะหมายความว่าผู้ซื้อและผู้ขายกำลังคุยเรื่องเดียวกันอยู่ และหากมีข้อโต้แย้ง ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ภายใต้กฎขององค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO)
เมื่อถึงจุดนี้ กระบวนการจึงมีความสำคัญมาก หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่จึงพยายามที่จะสร้างความเห็นพ้องต้องกันในวิธีที่จะบรรลุความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วทั้งโลกโดยวิธีการที่มีอยู่เพื่อติดตามตรวจสอบองค์ประกอบของสปีชีส์เนื้อดิบซึ่งขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์โปรตีน และโปรตีนเหล่านั้นอาจถูกเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติผ่านกระบวนการต่างๆ และความร้อนได้
ดังนั้น ในการทดสอบห้องปฏิบัติการใหม่ จึงต้องมีความเห็นพ้องต้องกัน ตัวอย่างเช่น จะต้องมีวิธีการทางดีเอ็นเอที่อยู่บนพื้นฐานของการระบุชุดที่แตกต่างกันของโปรตีน และด้วยการคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ คณะกรรมการวิชาการที่เกี่ยวข้อง คือ ISO /TC 34/SC 16 – กลุ่มงานที่ 8 ที่เกี่ยวข้องกับการระบุสปีชีส์เนื้อ (Horizontal methods for molecular biomarker analysis) จึงได้ร่วมกันทำอย่างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเมื่อเดือนกันยายน 2557 (ค.ศ.2014) ซึ่งได้รวมเอกสารเข้าด้วยกันโดยอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศและส่งไปยังคณะกรรมการ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่ความจริงแล้วค่อนข้างยาก ซึ่งในกรณีของการปลอมปนเนื้อสัตว์ ชิลลิโตได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี เช่น ในรายละเอียดยังมีบางสิ่งที่ต้องคำนึงถึง อย่างประเทศที่แตกต่างกันอาจมีการพูดถึงสิ่งที่แตกต่างกัน ดังนั้น เนื้อหาจึงต้องมีความเกี่ยวข้องกันทั่วโลก กลุ่มงานจำเป็นจะต้องได้รับข้อมูลจากประเทศต่างๆ หรือภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก
สำหรับข้อตกลงมีความจำเป็นเพราะเอกสารจะมีการกำหนดข้อกำหนดพื้นฐานและความหมาย ซึ่งจะมีรายละเอียดที่ต้องมีการนำไปใช้และระบุขอบข่ายของมาตรฐาน รวมทั้งวิธีทดสอบ แต่ความท้าทายหลักๆ คือจะแสดงผลอย่างไร
เนื้อสัตว์ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ เอ็น และไขมัน อย่างไรก็ตาม มีระดับที่แตกต่างกันของดีเอ็นเอ แล้วจะดูได้อย่างไร เนื้อสัตว์ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่แตกต่างกันโดยประกอบด้วยจำนวนดีเอ็นเอ ในหลายกรณี ดีเอ็นเอเป็นสิ่งที่ต้องมีการค้นหา ความท้าทายทางวิชาการอีกอย่างหนึ่งคือการทำให้มั่นใจว่ามีการแสดงอย่างเฉพาะเจาะจงว่าเนื้อสัตว์นั้นมีสปีชีส์ใด รวมทั้งในกรณีที่มีการจัดเตรียมเนื้อบดด้วย ซึ่งทั้งป๊อบปิ้งและชิลลิโต รับรู้เรื่องนี้ และพยายามพัฒนาวิธีการสำหรับการทดสอบเนื้อสัตว์ให้ครอบคลุมด้วย
สำหรับมาตรฐานวิธีทดสอบชีวโมเลกุลของไอเอสโอจะสามารถนำไปทดสอบได้กับอาหาร อาหารสัตว์ เมล็ดพืช และหน่อพันธุ์ของอาหาร วิธีการวิเคราะห์กรดนิวเคลอิก การวิเคราะห์จีโนไทป์หรือส่วนผสมของรูปแบบยีน และผลที่ตามมา โปรตีน และวิธีการที่เหมาะสมอื่นๆ รวมทั้งการระบุและการปกป้องโรคพืช แต่ไม่ครอบคลุมถึงวิธีการทดสอบอาหารทางจุลชีววิทยา ซึ่งสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม มาตรฐานไอเอสโอในด้านการปลอมปนเนื้อสัตว์ไม่สามารถออกมาได้อย่างรวดเร็วเท่าใดนัก เพราะต้องอาศัยการพัฒนาอย่างรอบคอบและครอบคลุมประเด็นปัญหาต่างๆ และจะต้องได้รับความเห็นพ้องต้องกันจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย แต่เมื่อมีการพัฒนามาตรฐานได้สำเร็จแล้ว คนทั่วโลกก็จะได้รับประโยชน์ไปพร้อมกัน
Related posts
Tags: ISO, safety, Standardization
Recent Comments