สำหรับการบริหารงานบุคคลแล้ว ทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดขององค์กรก็คือพนักงานนั่นเอง แม้ว่าบางครั้ง มีการสรรหาและคัดเลือกพนักงานใหม่เข้ามาแล้ว แต่อาจจะยังมองเห็นผลลัพธ์ไม่ชัดเจนเท่าใดนัก แต่ไอเอสโอได้เล็งเห็นความสำคัญของการสรรหาและคัดเลือกพนักงานซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับความสำเร็จองค์กร จึงได้พัฒนามาตรฐานสากลที่ช่วยประเมินความเชื่อมโยงงานของบุคลากรใหม่และความสำเร็จขององค์กร
อันที่จริงแล้ว หากมีการสรรหาและคัดเลือก การที่จะได้บุคลากรใหม่เข้ามานั้น ไม่ใช่แค่ปิดช่องว่างของการจ้างงานเท่านั้น แต่ยังอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อองค์กรโดยรวมอีกด้วย ดังนั้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลซึ่งยอมรับในเรื่องนี้ และปัจจุบันยังเป็นพาร์ทเนอร์เชิงกลยุทธ์ของบริษัท จึงควรวัดผลกระทบของความเชี่ยวชาญในงานอันไม่เพียงแต่แสดงถึงคุณค่าของการสรรหาและคัดเลือกเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
การวัด “คุณภาพของการจ้างงาน” หรือประโยชน์ของการจ้างพนักงานใหม่จึงเป็นประโยชน์ในด้านความมีประสิทธิผลของกระบวนการสรรหาและคัดเลือก
เมื่อไม่นานมานี้ ไอเอสโอได้เผยแพร่ข้อกำหนดทางวิชาการ ISO/TC 30411: 2018, Human resource management – Quality of hire metric ซึ่งเน้นในเรื่องวิธีปฏิบัติที่เป็นสากลซึ่งระบุวิธีการวัดที่สามารถนำไปใช้ประเมินความเชื่อมโยงระหว่างงานของบุคลากรใหม่และความสำเร็จขององค์กร
มาตรฐานดังกล่าวเหมาะสำหรับบุคลากรที่มีความสนใจในการวางแผนงานด้านกำลังคน การออกแบบและการพัฒนาองค์กร การบริหารจัดการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูง (Talent management) การวางแผนผู้สืบทอดตำแหน่ง (Succession planning) และการสรรหาและรายงานด้านทรัพยากรบุคคล
ดร.ดอน แมคคินลีย์ ประธานคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอที่พัฒนามาตรฐาน ISO/TS 30411 กล่าวว่ามาตรฐานนี้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก
การวัดว่าพนักงานใหม่มีการปฏิบัติงานได้ดีแค่ไหนและวิธีของทางเลือกที่มีอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับปัจจัยของความสำเร็จองค์กร อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดทางวิชาการนี้เป็นการจัดเตรียมวิธีการประเมินสมรรถนะต่อเป้าหมายที่วัดได้หรือความคาดหวังที่เกี่ยวกับสมรรถนะองค์กร มาตรฐานนี้จึงเป็นเครื่องมือการรายงานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ISO/TS 30411 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 260, Human resource management ซึ่งมีเลขานุการคือ สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา
ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2314.html
Related posts
Tags: Human resource, Human Resource management, ISO, Quality, Standardization
Recent Comments