• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,512 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — September 21, 2018 8:00 am
SDG กับอนาคตที่ยั่งยืน ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 3056 reads
0
  

SDG-and--the-World’s--Futureบทความ MASCI Innoversity ครั้งที่แล้ว ได้นำเสนอ เรื่อง “ไอเอสโอร่วมผลักดันวาระ 2030 ให้ประสบความสำเร็จ” ซึ่งมิเคล มุลเลอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานองค์การสหประชาชาติประจำกรุงเจนีวา ได้ให้สัมภาษณ์วารสารไอเอสโอโฟกัสเกี่ยวกับการดำเนินงานตามวาระ 2030 และความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของไอเอสโอที่มีต่อการมีส่วนร่วมในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ดังต่อไปนี้

นับตั้งแต่สมาชิกขององค์การสหประชาชาติ จำนวน 193 ประเทศได้รับเอาวาระ 2030 ไปปฏิบัติเมื่อเดือนกันยายน 2558 ทั่วโลกต่างก็ลงมือปฏิบัติอย่างเข้มแข็งตามแนวทางที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความพยายามในการลงมือปฏิบัตินั้นเกิดขึ้นในหลายภาคส่วนที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลายระดับ ทั้งรัฐบาล องค์กรด้านสังคมภาคประชาชน สถาบันการศึกษา และภาคธุรกิจ ซึ่งองค์การสหประชาชาติและหน่วยงานระดับสากลอื่นๆ ต่างก็เข้าร่วมผลักดันและเร่งการนำวาระ 2030 ไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จโดยเร็ว

สำหรับองค์การสหประชาชาติ มีการให้พันธสัญญาที่จะสนับสนุนประเทศที่นำวาระ 2030 ไปปฏิบัติ  นอกจากนี้ ยังมีการปฏิรูปองค์กรภายในหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติเพื่อให้มั่นใจว่าระบบที่สนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ประเทศต่างๆ ได้ตั้งใจเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อที่จะสนับสนุนระบบการทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยการแสดงพันธสัญญาตามวาระ 2030 ซึ่งเรียกร้องให้มีวิถีแห่งการปฏิบัติใหม่ๆ   ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่มีพลังมากที่สุดก็คือวิธีการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างก็กำลังมีส่วนร่วมต่อกันในการปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าว มีการยอมรับร่วมกันผ่านความเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์และความแรงร่วมใจระหว่างองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ

ที่กรุงเจนีวา สำนักงานขององค์การสหประชาติก็มีส่วนร่วมในเรื่องนี้อย่างชัดเจน ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นมาจากความร่วมมือร่วมใจของคนในองค์กรทั้งหมด สำนักงานมีห้องปฏิบัติการ SDG ที่ผู้อำนวยการองค์การสหประชาชาติเปิดตัวเมื่อเดือนมกราคม 2560 และปฏิบัติงานในฐานะผู้เชื่อมโยงและผู้ประสานงานในระบบนิเวศของเจนีวาและได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากในการบ่มเพาะหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ที่สนับสนุนการนำวาระ 2030 ไปปฏิบัติในระดับประเทศ

เลขาธิการองค์การสหประชาชาติกล่าวว่า สำหรับก้าวสำคัญที่องค์การสหประชาชาติได้ดำเนินการนับตั้งแต่ทั่วโลกให้การยอมรับที่จะนำวาระ 2030 ไปปฏิบัติเป็นอย่างไรบ้างนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals (MDGs) เมื่อปี 2558 แล้ว ต้องกล่าวถึงการประชุม High-Level Political Form (HLPF) เมื่อปี 2556 (ค.ศ.2013) ว่ามีการให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีการประชุม HLPF อีก 2 ครั้ง คือ ในเดือนกันยายน (ค.ศ.2015) และในเดือนกรกฎาคม (ค.ศ.2561) แต่ละครั้งที่มีการประชุม มีจำนวนผู้เข้าร่วมงานเพิ่มขึ้นทุกปีและทวีความสำคัญยิ่งขึ้น  มีการแบ่งปันประสบการณ์ทั้งในด้านโอกาสและอุปสรรคในการลงมือปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของ SDGs ความท้าทายบางอย่างได้เกิดขึ้นแล้ว เช่น งบประมาณสนับสนุนในระดับนโยบาย แต่บางอย่างก็เป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เช่น บทบาทของเทคโนโลยีในการเร่งให้เกิดการพัฒนาต่างๆ เป็นต้น

เมื่อกล่าวถึงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไอเอสโอกับองค์การสหประชาชาติแล้ว เขากล่าวว่ามีความจำเป็นต้องพิจารณาถึงความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลายภาคส่วนซึ่งหุ้นส่วนเหล่านั้นสามารถสร้างพลังที่แตกต่างออกไปแต่สามารถเสริมการแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกันได้ ทำให้มีแหล่งความรู้ที่หลากหลายและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในแง่ที่ว่าองค์กรต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในการจัดหาเงินทุนมาสนับสนุนซึ่งมีทั้งความเสี่ยงและโอกาส

ที่กรุงเจนีวา ห้องปฏิบัติการ SDG ได้ร่วมกันจัดทำเครือข่ายระบบนิเวศเจนีวา 2030 ซึ่งเชื่อมโยงหุ้นส่วนด้านวัตกรรมเข้าด้วยกันและมีการบ่มเพาะให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกรุงเจนีวาเพื่อสนับสนุนการนำ SDG ไปปฏิบัติ และยังมีกลไกที่ไม่เคยมีมาก่อนช่วยสนับสนุนความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งในเรื่องของการมาตรฐานที่เป็นกิจกรรมหลักนั้นมีความสำคัญมากที่จะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมาย โดยไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานที่ครอบคลุม SDGs ในอุตสาหกรรมจากการดูแลสุขภาพไปจนถึงเทคโนโลยี และการศึกษา อันเป็นการปูทางไปสู่ความสำเร็จให้กับหุ้นส่วนทั้งหมด

ในฐานะที่ไอเอสโอมีบทบาทสำคัญในการกำหนดมาตรฐานที่จะช่วยสนับสนุนนวัตกรรม มาตรฐานเหล่านั้นเป็นพื้นฐานที่จะเร่งให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้เร็วขึ้น โดยกระบวนการกำหนดมาตรฐานถือเป็นผลพวงของการพูดคุยกันระหว่างหุ้นส่วนเหล่านั้น แต่สิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ SDG ประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาก็คือการติดตามและการวัดผลความก้าวหน้านั่นเอง ในแง่นี้ มาตรฐานไอเอสโอก็ช่วยให้มีการวัดความสำเร็จและระบุความท้าทายต่างๆ ไว้ด้วย

ปัจจัยความสำเร็จของ SDG นอกจากจะเป็นเรื่องของความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องของแนวคิดอีก 2 แนวคิดซึ่งมิเคล มุลเลอร์กล่าวว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จนี้เช่นกัน จะเป็นอะไรบ้างนั้น โปรดติดตามต่อไปในครั้งหน้าซึ่งเป็นตอนจบค่ะ

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2325.html



Related posts

  • ร่างแผนยุทธศาสตร์ ISO ปี 2559 – 2563ร่างแผนยุทธศาสตร์ ISO ปี 2559 – 2563
  • ISO 9001: 2015 อัญมณีแห่งระบบคุณภาพ ตอนที่ 3ISO 9001: 2015 อัญมณีแห่งระบบคุณภาพ ตอนที่ 3
  • มาตรฐานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์/บริการที่ปกป้องความเป็นส่วนตัวข้อมูลลูกค้ามาตรฐานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์/บริการที่ปกป้องความเป็นส่วนตัวข้อมูลลูกค้า
  • ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อโลกที่ยั่งยืน ตอนที่ 1ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อโลกที่ยั่งยืน ตอนที่ 1
  • “มาตรฐาน” สนับสนุนการเงินของโลกให้มั่นคงได้อย่างไร ตอนที่ 1“มาตรฐาน” สนับสนุนการเงินของโลกให้มั่นคงได้อย่างไร ตอนที่ 1

Tags: Climate Change, SDG, SDGs, Standardization, Sustainability

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑