บทความ เรื่อง SDG กับอนาคตที่ยั่งยืน ตอนที่ 1 ได้นำเสนอเรื่องของการดำเนินงานตามวาระ 2030 และความคิดเห็นของมิเคล มุลเลอร์ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับบทบาทและการทำงานของไอเอสโอที่มีต่อการมีส่วนร่วมในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ซึ่งองค์กรสหประชาชาติก็ได้ปรับองค์กรให้สภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมให้โลกบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้มากขึ้น
สำหรับบทความในตอนนี้ จะกล่าวถึงโครงการที่ไอเอสโอได้เข้าไปสนับสนุนเพื่อมีส่วนช่วยในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น และความเห็นของมิเคล มุลเลอร์ เกี่ยวกับแนวคิดที่จะช่วยส่งเสริมให้ SDG ประสบความสำเร็จได้ ดังต่อไปนี้
ไอเอสโอเป็นองค์กรที่มีส่วนในการสนับสนุนโครงการ International Gender Champion ซึ่งเป็นเครือข่ายผู้นำที่ส่งเสริมให้ผู้หญิงสามารถทำงานและก้าวไปสู่ระดับสากลได้โดยไม่ถูกกีดกันทางเพศ และนับตั้งแต่มีการเปิดตัวโครงการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 (ค.ศ.2015) ที่กรุงเจนีวา ก็สามารถผลักดันผู้หญิงให้ก้าวสู่การทำงานในระดับสากลเป็นจำนวน 205 คนซึ่งต่างมีพันธสัญญาในการทำงานที่จะช่วยส่งเสริมองค์กรในด้านธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบและความเป็นผู้นำ การสรรหาและคัดเลือก การบริหารชีวิตและการทำงานให้มีความสมดุล เป็นต้น และนับวันก็จะมีผู้นำจากทั่วโลกให้การสนับสนุนโครงการนี้มากขึ้น รวมทั้ง อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และเซอร์จิโอ มูจิก้า ซึ่งได้เข้าร่วมโครงการและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเครือข่ายความร่วมมือดังกล่าวจะเติบโตต่อไปในอนาคต
พันธสัญญาที่ทั่วโลกสร้างขึ้นมาร่วมกันในทุกภาคส่วนจะเป็นกำลังสำคัญในการทำให้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในข้อ 5 ในเรื่องการบรรลุความเท่าเทียมกันทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง (Gender Quality: SDG 5) ประสบความสำเร็จ
ส่วนองค์กรอย่างไอเอสโอซึ่งกำลังส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิผลในงานด้านวิชาการและนำมาซึ่งมุมมองที่ไม่เหมือนใครและทำให้เกิดความสมดุลในการใช้ชีวิตกับการทำงานนั้น จะช่วยให้บรรลุถึงความเท่าเทียมกันทางเพศด้วยการตอบสนองในเรื่องการให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันทางเพศมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็จะช่วยให้บรรลุถึงเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย
สุดท้ายนี้ มิเคล มุลเลอร์ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้กล่าวถึงแนวคิดสองประการที่จะช่วยส่งเสริมให้วาระ 2030 เรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถประสบความสำเร็จได้
ประการแรก เป็นเรื่องของการเปลี่ยนมุมมองและแนวคิด เนื่องจากวาระ 2030 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคิดและการเข้าถึงสิ่งต่างๆ ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้น การทำงานแบบไซไลหรือการทำงานโดยมองในมุมเดียว จึงไม่มีประสิทธิภาพ แต่จำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจให้คนก้าวออกจากคอมฟอร์ทโซน ไม่จมอยู่กับความเคยชินแบบเดิมๆ และการที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงนี้ จำเป็นต้องทำเป็นตัวอย่างให้คนในทุกระดับได้มองเห็น
ประการที่สอง เป็นเรื่องของการพลิกโฉมการทำงาน และ SDG เป็นสิ่งที่จะพลิกโฉมหน้าใหม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เพราะ SDG เป็นเรื่องที่ต้องทำในระดับระหว่างประเทศ ไม่ใช่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะแยกไปทำอย่างโดดเดี่ยวได้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าวาระ 2030 จะเป็นโอกาสแห่งประวัติศาสตร์ที่จะแสดงให้เห็นว่าโลกของเรามีการรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวและสามารถแบ่งปันที่จะร่วมกันเผชิญหน้าแก้ไขปัญหาและต่อสู้กับความท้าทายต่างๆ ร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2325.html
Related posts
Tags: Climate Change, SDGs, Standardization, Sustainability
Recent Comments