บทความ เรื่อง เปิดมุมมองใหม่ในภูมิทัศน์เมือง ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงมาตรฐานสากล ISO 37101 – Sustainable development in communities – Management system for sustainable development – Requirements with guidance for use ว่าเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเมืองให้ดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ที่เมืองแซปปาด้า ประเทศอิตาลี และเมืองพุลลี่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สำหรับบทความในตอนนี้จะกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับของเมืองที่นำมาตรฐาน ISO 37101 ไปใช้ดังต่อไปนี้
แซปปาด้าเป็นหมู่บ้านที่มีความยั่งยืนเป็นหมู่บ้านแรกของประเทศอิตาลี เทศบาลเมืองมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมผลประโยชน์ของการมีมาตรฐาน ISO 37101 ซึ่งข้อร้องเรียนที่มีอยู่ในบรรดาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในการที่จะยกระดับความตระหนักเกี่ยวกับการบรรลุผลที่สำคัญและการจัดการในขั้นต่อไป หมู่บ้านมีการวางแผนให้เด็กๆ ในโรงเรียนของท้องถิ่นได้มีโอกาสเข้าร่วมในโปรแกรมการศึกษาเฉพาะด้าน เช่น ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างการเก็บรวบรวมของเสียและการปกป้องภูมิทัศน์ เป็นต้น
ความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานของสาธารณะจะได้รับการปรับปรุงและมีโครงการที่จะสร้างพิพิธภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน เทศบาลเมืองจึงมีงานที่จะต้องติดตามการปรับปรุงกิจกรรมอย่างต่อเนื่องรวมทั้งสมรรถนะโดยรวมด้านความยั่งยืนด้วย
สำหรับคำแนะนำสำหรับเมืองหรือชุมชนที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่ไหนและอย่างไร นายกเทศมนตรีเมืองแซปปาดาแนะนำว่าให้เริ่มจากการวิเคราะห์เชิงลึกสำหรับบริบทของชุมชนที่อาศัยอยู่ เช่น มีการระบุหรือไม่ว่าเมืองต้องการอนุรักษ์เรื่องอะไร คุณลักษณะหลักของภูมิทัศน์คืออะไรและจะสามารถรักษามันให้คงอยู่ไว้ได้อย่างไร มีการต้อนรับนักท่องเที่ยวหรือไม่ ถ้ามี มีวิธีการบริหารจัดการที่ดีที่สุดได้อย่างไร ขอให้ทำความรู้จักกับบริเวณรอบๆ ชุมชนในท้องถิ่นและสถานการณ์ด้วยการมีระบบการติดตามที่เข้มแข็งและทำให้ระบบสามารถทำงานให้กับเมืองได้
การนำมาตรฐาน ISO 37101 ไปใช้ทำให้เมืองแซปปาด้ามีโอกาสที่จะพัฒนาระบบติดตามร่วมกันได้ เพื่อที่จะประเมินสภาพการณ์ของชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งสามารถทำให้เกิดการรวบรวมปริมาณข้อมูลที่มีอยู่อย่างกว้างขวาง เช่น ด้านคุณภาพอากาศ การใช้น้ำและการปล่อยน้ำทิ้ง อัตราการจ้างงาน จำนวนครู ชั้นเรียนด้านกีฬา และหลักสูตรภาษาต่างประเทศสำหรับเด็ก รวมทั้งภาษาถิ่นด้วย จำนวนเตียงในโรงพยาบาลและประเภทของผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินในภูมิภาค เป็นต้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ยังมีอีกมาตรฐานหนึ่ง คือ ISO 37120 ที่มีตัวชี้วัดชุมชนสำหรับบริการของเมืองและคุณภาพชีวิต ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับการระบุข้อมูลที่มีการรวบรวม และด้วยตัวชี้วัดที่สามารถวัดได้และมีความแม่นยำ เราจึงมั่นใจได้ว่าสิ่งที่มีค่าของชุมชนที่มีลักษณะไม่เหมือนใครจะกลายเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีค่าในอนาคต
สำหรับเมืองพุลลี่ ประเทศสวิซตเอร์แลนด์ สิ่งที่อเล็กซานเดอร์ บอสชาร์ด ผู้ประสานงานของสำนักงานเมืองพุลลี่คิดว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่เมืองอัจฉริยะต้องเผชิญหน้านั้น มีอยู่หลายอย่าง เช่น การให้ความสำคัญเพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารสำหรับบริการของเมืองเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
ส่วนแผนกงานสาธารณะและบริการอุตสาหกรรมของพุลลี่ (Department of Public Works and Industrial Services: DTSI) ความท้าทายเหล่านี้รวมถึงวัฒนธรรมด้านนวัตกรรมในชุมชนท้องถิ่น การให้ทุน และแหล่งข้อมูลความรู้ รวมถึงความสัมพันธ์กับพลเมือง ทั้งในแง่ของการปกป้องความเป็นส่วนตัวและบทบาทของพวกเขาในการพัฒนาเมืองในทางปฏิบัติที่เป็นมิตร และมีความเป็นมนุษย์
แล้วแนวทางแก้ไขปัญหาคืออะไร DTSI ได้นำเอากระบวนการที่ใช้ควบคู่กันเพื่อสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรม ในระดับส่วนบุคคล เมื่อมีผู้จัดการโครงการใหม่ จะมีการฝึกอบรมโดยพนักงานอาวุโส ในระดับกลุ่ม และมีการแนะนำระบบการบริหารโครงการในทีมผู้บริหาร ซึ่งทำให้มีการตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้จัดการของหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้มั่นใจในบริการที่มีการจัดเตรียมให้ซึ่งมีคุณภาพคงเส้นคงวา และผู้จัดการโครงการที่รับผิดชอบในการปรับ DTSI เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม กระบวนการนี้ กระตุ้นและควบคุมปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน ซึ่งสนับสนุนความรู้ที่มีการสะสมและกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม
ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงให้เห็นถึงแนวทางที่เป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาในประเด็นเรื่องเงินทุนและทรัพยากรข้อมูลและความรู้ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว พุลลี่ถามเมืองหลายๆ เมืองว่าเมืองเหล่านั้นมีความสนใจที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการ e-governance หรือไม่ ความร่วมมือเช่นนี้จะทำให้เราได้รับประโยชน์จากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยให้เราขยายการใช้งานในลักษณะนี้ไปสู่โครงการอื่นๆ ที่มีอยู่มากมายอีก การลงทุนแบบรวมยังทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย เมืองแซปปาด้าได้ใช้จ่ายงบประมาณไปเป็นจำนวน 52,000 เหรียญสหรัฐของงบประมาณทั้งหมดที่มีอยู่ คือ 172,000 เหรียญสหรัฐและยอดเงินนี้ได้รับการสนับสนุนจากหุ้นส่วนของเมือง
เมื่อปีที่แล้ว จากการเปิดตัวโครงการสมาร์ทหลายโครงการ พุลลี่ได้เตรียมพร้อมที่จะร่างวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในเรื่องดิจิตอล โดยเน้นไปที่ผลกระทบต่อสังคมของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้พลเมืองมีส่วนร่วมกับเมือง เว็บไซต์ของเมืองที่ทำเพื่อเรื่องดังกล่าวจะเปิดตัวภายในปีนี้ ซึ่งจะมีการแสดงให้เห็นถึงวิธีการจัดการกับเรื่องของความเป็นส่วนตัวและมีงานบางอย่างอาจจะมีการดึงเอาสาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมในความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิตอลและการนำโครงการสมาร์ทหลายๆ โครงการไปใช้
ทำไมพุลลี่จึงค้นหาการนำตัวชี้วัดไปใช้ เรื่องของดิจิตอลเป็นประเด็นที่ซับซ้อนซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมของเมืองและมุมมองด้านเทคโนโลยีซึ่งทำให้มองเห็นผลได้ไม่ชัดเจน ดังนั้น จะเป็นการง่ายกว่าที่จะนำข้อมูล
เกี่ยวกับการกำหนดสนามเด็กเล่นใหม่มากกว่าการนำเอาเทคโนโลยี bid data ไปสร้างตัวชี้วัด ด้วยเหตุนี้เอง การนำตัวชี้วัดไปใช้จะช่วยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีความก้าวหน้าถึงไหนแล้วและมีการระบุวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดรวมทั้งามารถสนับสนุนความร่วมมือระหว่างเมืองอื่นๆ ด้วย
ดังนั้น เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ พุลลี่จึงได้รับการรับรองจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรวมตัวกันเพื่อโครงการเมืองที่ยั่งยืนและชาญฉลาด และมีการเน้นที่ระดับของความยั่งยืนและความเป็นดิจิตอลตามข้อแนะนำของไอทียูในเรื่องของตัวชี้วัดของเมืองอัจฉริยะที่มีความยั่งยืน ITU-T Y.4903/L.1603 ซึ่ง ITU เป็นความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับไอเอสโอในเรื่องของการมาตรฐาน เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว สององค์กรนี้ได้ร่วมกันกับไออีซีในการผลักดันให้เป็นเจ้าภาพการประชุม World Smart Cities Forum ที่เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน เพื่ออภิปรายถึงวิธีการที่มาตรฐานระหว่างประเทศสามารถให้แนวทาการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เมืองมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นสำหรับผู้อยู่อาศัย เมืองพุลลี่ได้มีส่วนร่วมในงานนี้ซึ่งมาจากแนวทางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างไออีซี ไอเอสโอ และไอทียู เพื่อให้บรรลุความมุ่งมั่นของเมืองอัจฉริยะ
แล้วมาตรฐานไอเอสโอช่วยเมืองอัจฉริยะได้อย่างไร มาตรฐานไอเอสโอสามารถช่วยให้ลดความซับซ้อนของโครงการเมืองอัจฉริยะ ยกตัวอย่างเช่น จัดเตรียมแนวทางของการปกป้องข้อมูลด้วยการวัดวงจรทั้งหมดของพลังงานที่มีการใช้ในการส่งมอบบริการ มาตรฐานยังมีส่วนในการอำนวยความสะดวกในเรื่องการรับรองในด้านการบริหารจัดการด้วยการรวมเอาการลงทุนและทรัพยากรด้านข้อมูลข่าวสารเข้ามาไว้ด้วยกัน
สุดท้ายนี้ ไอเอสโอสามารถช่วยให้มั่นใจว่ามาตรฐานที่มีการกำหนดโดยองค์กรต่างๆ มีการรวมเข้าด้วยกันหรือเป็นส่วนเสริมมาตรฐานอื่นๆ ได้ ซึ่งสิ่งนี้ได้เกิดขึ้นมาแล้วในการประชุม World Smart Cities Forum จึงนับได้ว่า ISO 37120 จะมีส่วนช่วยให้เปิดมุมมองใหม่ในภูมิทัศน์ของเมืองต่อไป
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2323.html
Related posts
Tags: Standardization, Sustainability, Tourism
Recent Comments