การปรับปรุงบริการลูกค้า การเพิ่มผลผลิตและการเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของประโยชน์ของระบบการจัดการด้านการบริการ และล่าสุด ไอเอสโอได้ปรับปรุงมาตรฐานระบบการจัดการด้านการบริการ 2 ฉบับให้มีรูปลักษณ์ที่ใหม่ขึ้นโดยมีหัวข้อและคำแนะนำต่างๆ ด้วย
จากรายงานของนิตยสารฟอร์บส์ พบว่าการบริหารงานบริการด้านไอทีมีความสำคัญต่อผู้บริหารเป็นอย่างมากและการขาดแนวทางการบริหารการบริการจะส่งผลเสียต่อความสามารถในการแข่งขันอันเนื่องมาจากใช้เวลาและเงินมากเกินไปกับการบำรุงรักษา การบริหารจัดการและดูแลแก้ไขปัญหามากกว่าที่จะมุ่งไปยังโครงการใหม่ๆ
ระบบการจัดการด้านการบริการ (service management system: SMS) เป็นการสนับสนุนการบริหารจัดการด้านวงจรชีวิตของงานบริการ นับตั้งแต่การวางแผนไปจนถึงการส่งมอบและการปรับปรุง การนำเสนคุณค่าที่ดีขื้นสำหรับลูกค้ารวมทั้งการส่งมอบการบริการ และยังทำให้เกิดการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ไอเอสโอและไออีซีได้ร่วมกันจัดทำแนวทางที่รัดกุมสำหรับชุดมาตรฐาน ISO/IEC 20000 จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
- ISO/IEC 20000-1: 2018, Information technology – Service management – Part 1: Service management system requirements ซึ่งระบุข้อกำหนดสำหรับองค์กรในการจัดตั้ง นำไปใช้ รักษาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสำหรับระบบการจัดการด้านการบริการ
- ISO/IEC 20000-10: 2018, Information technology – Service management – Part 10: Concepts and vocabulary ซึ่งอธิบายแนวคิดหลักและคำศัพท์สำหรับชุดมาตรฐาน ISO/IEC 20000 ทั้งหมด
แจน เบกก์ ประธานคณะกรรมการวิชาการที่ทบทวนมาตรฐานดังกล่าว ระบุว่าชุดมาตรฐานดังกล่าว งานด้านไอทีจะมีการใช้เป็นส่วนใหญ่ซึ่งอันที่จริงแล้ว สามารถประยุกต์ใช้กับงานบริการอื่นๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการของธุรกิจและช่วยในด้านการตัดสินใจได้เช่นกัน
ชุดมาตรฐาน ISO/IEC 20000 มีกรอบการทำงานและวิธีการหลายอย่างสำหรับการบริหารจัดการด้านการบริการ และยังเป็นเพียงมาตรฐานเดียวของไอเอสโอที่มีการวัดความสอดคล้อง การสนับสนุนด้านการรับรอง และการเตรียมความั่นใจให้กับลูกค้าที่นำการบริหารจัดการไปใช้อย่างมีประสิทธิผล ชุดมาตรฐานนี้เป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่ให้บริการแก่ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นบริษัททั้งบริษัทหรือเฉพาะแผนกใดแผนกหนึ่ง ซึ่งไม่เพียงแต่ปรับปรุงการบริการเท่านั้น แต่ยังทำให้มั่นใจว่ากิจกรรมการบริหารจัดการงานบริการสามารถบรรลุความต้องการและวัตถุประสงค์ของธุรกิจได้
มาตรฐานฉบับที่มีการทบทวนนี้มีการพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มตลาด รวมทั้งกระบวนการของสินค้าอุปโภคบริโภคหรือการบริการที่เกี่ยวข้องและการบริการจัดการของซัพพลายเออร์หลายรายซึ่งมีทั้งบริการแบบภายในและภายนอก รวมไปถึงรูปลักษณ์ใหม่ๆ เช่น ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้และการวางแผนการบริการ และคำศัพท์และนิยามที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยด้วย
ผู้สนใจมาตรฐานดังกล่าวสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2326.html
Related posts
Tags: ISO, Quality, Standardization
Recent Comments