ในงานสัปดาห์ไอเอสโอ 2018 ระหว่างวันที่ 24 – 28 กันยายน 2561 ซึ่งจัดขึ้นที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คณะกรรมการไอเอสโอได้อุทิศการทำงานให้กับประเทศกำลังพัฒนาในคณะกรรมการว่าด้วยประเด็นด้านประเทศกำลังพัฒนา หรือ DEVCO (Developing Country Committee) ซึ่งได้เปิดเผยแผนงานที่ท้าทายในเรื่องการลดความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องเพศ และยังคงเผยแพร่ประโยชน์ของมาตรฐานสากลไปทั่วโลก
ในการประชุม ISO DEVCO ครั้งที่ 52 คริสทีน โลว์ ผู้อำนวยการสำนักประสานงานสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women Liaison Office) ซึ่งเป็นแขกรับเชิญได้กล่าวถึงกล่าวถึงหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับความไม่เท่าเทียมกันของโลกนี้ รวมทั้งเรื่องบทบาทของผู้หญิง คำกล่าวของเธอทำให้คนตื่นตัวมากขึ้นและหันมาสนใจข้อเท็จจริงที่ว่าความไม่เท่าเทียมกันยังคงมีอยู่ในสังคมวงกว้าง
เมื่อคุณภาพชีวิตของผู้หญิงได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น จึงมีการสะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนาผู้หญิงในสังคมได้มากขึ้นความจริงแล้ว ความไม่เท่าเทียมกันได้ทำให้เกิดพัฒนาการในเวลาต่อมาด้วย สตรีและเด็กผู้หญิงได้แบกรับภาระอันใหญ่หลวงในเรื่องของความยากจน ซึ่งจากข้อมูลในอดีต คนเหล่านั้นทำงานถึง 18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ย ซึ่งส่งผลเสียต่ออัตราการเข้าเรียนที่ต่ำลงกว่านักเรียนชาย
แต่เรื่องยังไม่จบลงเพียงเท่านั้น ผู้หญิงส่วนใหญ่ทำอาหารในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้หญิงนับพันคนต้องเสียชีวิตลงก่อนวัยที่สมควรอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของการใช้เตาที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งไอเอสโอ ได้พัฒนามาตรฐานเตาปรุงอาหารให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยเพื่อให้ทั่วโลกนำไปใช้งาน
คริสทีน โลว์ ได้ให้ข้อคิดเห็นซึ่งสะท้อนมุมมองของเลขาธิการไอเอสโอ เซอร์จิโอ มูจิก้า ซึ่งเป็นผู้นำที่เป็น International Gender Champion ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558 (ค.ศ.2015) และเป็นองค์กรเครือข่ายผู้นำที่ต้องการให้ผู้หญิงและผู้ชายสามารถทำงานได้อย่างเท่าเทียมกัน ปราศจากการกีดกันในเรื่องเพศ
เลขาธิการไอเอสโอได้วางแผนการทำงานและการสร้างสมรรถนะการทำงานให้มีความหลากหลายซึ่งแน่นอนว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องของการให้ความเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายที่เข้ามาทำงานร่วมกันในไอเอสโอ และได้สะท้อนข้อเท็จจริงดังกล่าวในงานสัปดาห์ไอเอสโอ 2018 ซึ่งเขาได้กล่าวถึงการทำงานว่าทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการทำให้วาระ 2030 เกิดขึ้นจริงและไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
ทั้งนี้ วาระ 2030 เป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลกซึ่งองค์การสหประชาชาติได้กำหนดไว้รวม 17 ข้อ และ 1 ใน 17 ข้อ เกี่ยวข้องกับการบรรลุความเท่าเทียมกันทางเพศ การพัฒนาบทบาทของสตรีและเด็กผู้หญิง
ในส่วนของการมองไปยังความท้าทายในอนาคต รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการเน้นไปที่ธุรกิจเอสเอ็มอี มาตรฐาน และการจัดซื้อภาครัฐ รวมทั้งการสอนเรื่องมาตรฐานในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น
ประธานไอเอสโอ จอห์น วอลเตอร์ ซึ่งได้เปิดการประชุม DEVCO ได้ใช้โอกาสนี้กล่าวขอบคุณองค์กรความร่วมมือการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสวีเดน (Swedish International Development Cooperation Agency: Sida) ซึ่งได้ให้ทุนในโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการและการสร้างสมรรถนะในการทำงาน โดยวอลเตอร์ได้ให้การยอมรับในความพยายามเป็นอย่างมากของลีอา ดายัม ซึ่งได้ทำงานอย่างหนักและอุทิศตนให้กับการมีส่วนร่วมในงานจนกระทั่งได้รับการเลือกตั้งเป็นประธาน DEVCO อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้มีการประกาศให้ทราบในที่ประชุมดังกล่าวด้วย
บรรยากาศดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ามีการสนับสนุนความเท่าเทียมกันในระดับสากล รวมทั้งไอเอสโอก็ได้พัฒนามาตรฐานสากลที่มีส่วนในการส่งเสริมให้วาระ 2030 บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2329.html
Related posts
Tags: ISO, standard, Standardization
ความเห็นล่าสุด