มีพลเมืองทั่วโลกกว่า 2.3 ล้านคนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานด้านสุขาภิบาล รวมถึงพลเมืองจำนวน 892 ล้านคนยังใช้ห้องส้วมแบบเปิดโล่งอยู่ และมีเด็กๆ อีกจำนวนมากที่เสียชีวิตทุกปีจากการขาดบริการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีใหม่กำลังทำให้เราสามารถจัดเตรียมระบบสุขาภิบาลที่ปลอดภัยในสถานที่ที่ไม่มีการจัดการบำบัดน้ำเสียซึ่งทำให้มีโอกาสที่จะช่วยชีวิตให้ปลอดภัยและปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีด้านการสุขาภิบาล และปัจจุบัน มาตรฐานสากลได้เข้ามาช่วยส่งเสริมการพัฒนาในเรื่องดังกล่าวแล้ว
ยังมีคนทั่วโลกอีกจำนวนมาก ขาดการสุขาภิบาลที่ดีและน้ำดื่มที่สะอาดในชีวิตประจำวัน ทุกๆ วัน คนเหล่านั้นยังมีความเสี่ยงกับการเกิดโรคภัยอันเนื่องมาจากการขาดการสุขาภิบาลที่ดีและน้ำดื่มที่สะอาดซึ่งไม่สามารถเข้าถึงได้ในชีวิตประจำวัน และยังไม่รวมถึงความเสี่ยงที่ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ต้องเสี่ยงเดินทางเข้าไปใช้ห้องน้ำที่อยู่ห่างออกไป ดังนั้น เมื่อเดือนมีนาคม 2556 (ค.ศ.2013) องค์การสหประชาชาติจึงได้เรียกร้องให้มีการกำจัดห้องน้ำแบบเปิดโล่งให้หมดไปภายในปี 2568 (ค.ศ.2025) และทำให้มีการเข้าถึงการสุขาภิบาลอย่างเพียงพอและทุกคนมีสุขอนามัยที่ดีซึ่งเป็นเป้าหมายประการหนึ่งใน 17 ข้อของวาระ 2030
ในการที่โลกของเราจะบรรลุวาระ 2030 นั้น การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ช่วยได้มาก และเมื่อประกอบกับมีการพัฒนาระบบการสุขาภิบาลแบบแยกส่วนที่มีการบำบัดน้ำเสียโดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบท่อน้ำทิ้งแบบเดิม ก็ยิ่งมีส่วนส่งเสริมเป้าหมายของการมีสุขอนามัยที่ดีมากขึ้น
สำหรับแนวทางสากลใหม่สำหรับเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยเร่งอุตสาหกรรมให้เข้าสู่ระดับที่สูงขึ้นด้วยการจัดเตรียมข้อกำหนดสมรรถนะและความปลอดภัยที่ไม่เพียงแต่ละช่วยให้มีการผลิตที่มีประสิทธิผลเท่านั้น แต่ยังมีการพัฒนาภาคส่วนของอุตสาหกรรมโดยรวมอีกด้วย
มาตรฐาน ISO 30500 – Non-sewered sanitation systems – Prefabricated integrated treatment units – General safety and performance requirements for design and testing เป็นมาตรฐานที่จัดเตรียมข้อกำหนดสมรรถนะความปลอดภัยทั่วไปสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์และการทดสอบสมรรถนะสำหรับระบบสุขาภิบาลท่อน้ำทิ้งเพื่อการบำบัดรวม ซึ่งทำให้ปลอดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อโรคที่เป็นอันตรายอื่นๆ และสามารถปกป้องพลเมืองและแหล่งทรัพยากรอันมีค่า เช่น น้ำดื่ม จากโรคระบาดที่มีอาจทำให้เสียชีวิตได้
ดร.โดลาย โคเน่ ประธานคณะกรรมการโครงการไอเอสโอที่พัฒนามาตรฐานกล่าวว่ามาตรฐาน ISO 30500 จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ผลิต รัฐบาล ผู้ควบคุมกฎ และผู้ใช้งานมีความสะดวก ปลอดภัย และนำไปสู่การพัฒนาห้องสุขาที่ดีขึ้นในพื้นที่ที่โครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบประปาและไฟฟ้าไม่เอื้ออำนวยเท่าใดนัก
มาตรฐาน ISO 30500 ได้รับการพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จากประเทศต่างๆ มากกว่า 30 ประเทศ รวมทั้งผู้แทนจากอุตสาหกรรมที่พัฒนาเทคโนโลยีและผู้แทนภาครัฐในประเทศต่างๆ
สำหรับผู้ผลิตได้แสดงออกว่ามาตรฐานมีความจำเป็นอย่างมากเพราะเป็นเครื่องมือที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมและช่วยเร่งให้ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด นอกจากนี้ รัฐบาลยังมองหาความเกี่ยวข้องของมาตรฐานที่เป็นพื้นฐานสำหรับนโยบายภาครัฐด้วย
ลองซานา กานี ซาโค ซีอีโอของศูนย์อำนวยความสะดวกด้านสุขาภิบาลแห่งเซเนกัล กล่าวว่าประเทศเซเนกัลกำลังวางแผนที่จะรับเอามาตรฐาน ISO 30500 และ ISO 24521ไปใช้
สำหรับมาตรฐาน ISO 24521 Activities relating to drinking water and wastewater services – Guidelines for the management of basic on-site domestic wastewater services เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายในการจ้างงานจากภายนอกหรือภาคเอกชนให้เข้ามาปฏิบัติงานเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการสุขาภิบาลด้วย ซึ่งมาตรฐานล่าสุดจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำด้านสุขาภิบาลในพื้นที่ สำหรับการรับเอามาตรฐาน ISO 24521 และ ISO 30500 ไปใช้จะมีส่วนสำคัญในการสร้างความตระหนักถึงเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
อนุวัฒน์ คุ้มครอง หัวหน้า Open Innovation and Partnership Management บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทปิโตรเลียมขนาดใหญ่ของประเทศไทยกล่าวว่า มาตรฐาน ISO 30500 สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือหรือแนวทางในการหาเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาและผลิตเพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านการสุขาภิบาลในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ การมาตรฐานยังช่วยให้การแข่งขันในตลาดมีความเป็นธรรมด้วยการสร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านสุขาภิบาลในระดับคุณภาพเดียวกันซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
มาตรฐาน ISO 30500 ได้รับการพัฒนาจากคณะกรรมการโครงการไอเอสโอ ISO/PC 305 – Sustainable non-sewered sanitation systems ซึ่งมีเลขานุการคือ ANSI สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา และ ANS สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศเซเนกัล
ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2332.html
Related posts
Tags: ISO, safety, Standardization
ความเห็นล่าสุด